บทความวิจัย | อายุความในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐในคดีทุจริต

อายุความในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐในคดีทุจริต พบว่า ระยะเวลา 5 ปีตามกฎหมายในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการรวบรวมพยานหลักฐาน ดังนั้นจึงควรแก้ไขด้วยเพิ่มระยะเวลาโดยพิจารณาจากการนำบทกฎหมายที่มีการกำหนดเช่นเดียวกันมาเทียบเคียง 

 

จากพระราชบัญญัติของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งมีปัญหาในบทกฎหมายกรณีระยะเวลาในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่เหมาะสมกับกระบวนการพิจารณาและการรวบรวมพยานหลักฐานการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดได้ตามเวลาที่กำหนด และเกิดความไม่เป็นธรรมต่อหน่วยงานภาครัฐหรือบุคคลธรรมดาที่ได้รับความเสียหาย

 

การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและวิเคราะห์แนวทางแก้ไขเกี่ยวกับกรณีการกำหนดระยะเวลาในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐตามพระบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 โดยมีวิธีการศึกษาแบบทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ และหลักการดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการทุจริตของไทยและต่างประเทศ 

 

ผลการศึกษา พบว่า การกำหนดระยะเวลาเพียง 5 ปี นับแต่วันเกิดเหตุจนถึงวันกล่าวหาเป็นระยะเวลาที่ไม่เพียงพอและไม่ได้สัดส่วนกับพฤติการณ์ในความเป็นจริง เนื่องจากมีหลายปัจจัยอันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความล่าช้าในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิด เช่น ความซับซ้อนจากการใช้เทคโนโลยี

 

จึงควรแก้ไขบทบัญญัติเรื่องระยะเวลาในการรับคำกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ให้มีระยะเวลายาวนานขึ้น โดยอาศัยบทกฎหมายที่มีการกำหนดเช่นเดียวกันมาเทียบเคียง เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐสามารถรวบรวมพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการพิจารณา

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

พัทธนันท์ นาสวน. (2565). อายุความในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐในคดีทุจริต. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 2(2), 116.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

พัทธนันท์ นาสวน

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุขและความชุ่มฉ่ำในเทศกาลแห่งความสุขอย่างเทศกาลสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ที่เต็มไปด้วยความหมายด้านวัฒนธรรม สังคม วันที่ 13-14 เมษายน ก็ยังเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัวไทยอีกด้วย โดยตลอดช่วงเวลานี้ของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาแห่งความอบอุ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากมายได้เดินทางกลับบ้านกลับภูมิลำเนาเพื่อไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ไปรวมญาติที่ไม่ได้พบกันนาน หรือไปเล่นน้ำคลายร้อนกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)