ประมวลองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการลดคอร์รัปชัน

นำเนื้อหาจากงานวิจัย 40 ชิ้น มาประมวลเป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการสร้างธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริต ตามแนวคิด “สมการคอร์รัปชัน” เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดโจทย์วิจัยในอนาคต

คณะผู้วิจัย ได้คัดเลือกงานวิจัย 40 ชิ้นที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2558 จากฐานข้อมูลงานวิจัยออนไลน์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อนำมาประมวลสาระ และจัดหมวดหมู่ตามแนวคิดสมการคอร์รัปชัน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดโจทย์วิจัยด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลในสังคมไทยในอนาคต

โดยคณะผู้วิจัย เลือกใช้กรอบแนวคิด “สมการคอร์รัปชัน” ของศาสตราจารย์ Robert Klitgaard ซึ่งนิยามว่า Corruption = Monopoly (การผูกขาดอํานาจการเมืองและธุรกิจ) + Discretion (การใช้อํานาจแห่งดุลยพินิจ) – Accountability (การตรวจสอบ) ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดที่กว้างพอ ที่จะใช้จัดหมวดงานวิจัยได้ง่าย เพื่อจัดกลุ่มตามกรอบแนวคิดที่นำเสนอใหม่ และกำหนดองค์ความรู้และข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วน (Gap Analysis) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดโจทย์วิจัยด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลในสังคมไทยในอนาคต

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการประมวลองค์ความรู้จากงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่จัดทําขึ้นในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา แยกตามประเด็นได้ 3 ประเด็น ได้แก่ หนึ่ง การผูกขาดอํานาจการเมืองและธุรกิจ สอง การผูกขาดทางเศรษฐกิจ และ สาม การตรวจสอบรัฐ
  • ผลจากการทบทวนงานวิจัยในประเด็นการใช้อำนาจดุลยพินิจ พบว่า มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเด็น ได้แก่ การกํากับดูแลของรัฐ (regulator) การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดสรรทรัพยากรของรัฐ และระบบยุติธรรม นอกจากนี้ งานวิจัยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีจํานวน 6 เรื่อง ที่ชี้ให้เห็นว่าการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ยังคงมีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริต
    ได้เเก่ การให้สินบนกับเจ้าหน้าที่พัสดุ การสมยอมราคาหรือฮั้วราคา รวมถึงการล็อกสเปก และการใช้บริษัทอื่นบังหน้า
  • ผลจากการทบทวนงานวิจัยในประเด็นการตรวจสอบรัฐ พบว่ามีกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุลอํานาจของภาครัฐอยู่ 4 ประการ ได้เเก่ (1) ระบบการตรวจสอบภายใน (2) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (3) รัฐสภา และ (4) สื่อมวลชนและภาคประชาชน
  • ผลจากการศึกษา มีข้อเสนอแนะสําหรับโจทย์วิจัยในประเด็นเรื่องการผูกขาด เนื่องจากยังมีการศึกษาในประเด็นนี้น้อยอยู่ โดยเสนอประเด็นเรื่องการผูกขาดสิทธินําเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ระบบโควต้า และการผูกขาดจากการปฏิเสธ และประเด็นการจํากัดใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจโดยไม่มีเหตุผลอันควร โดยเสนอให้มีการศึกษาว่าประเทศไทย มีใบอนุญาตสําหรับการประกอบธุรกิจใดบ้าง และกระบวนการในการอนุญาตนั้น มีความชัดเจนโปร่งใส หรือมีอุปสรรคปัญหาอย่างไร รวมถึงประเด็นการผูกขาดอํานาจการเมือง ระบบพวกพ้องและการแสวงหาผลประโยชน์  และการผูกขาดทางเศรษฐกิจ กรณีรัฐวิสาหกิจและการให้สัมปทานเอกชน
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์. (2558). ประมวลองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการลดคอร์รัปชัน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2558
ผู้แต่ง

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและความเกี่ยวข้องของดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาล : การสร้างแนวทางลดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยตามหลักสากล

หลักนิติธรรม (Rule of Law) เป็นปัจจัยที่สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางได้ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของรัฐ การสร้างความโปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชน เพื่อป้องกันการทุจริต

การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม

การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคมไทยภาครัฐต้องปรับปรุงการดำเนินการทั้งในเชิงของกฎหมาย การออกแบบระบบการบริหารจัดการ ด้วยการนำหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชนมาประยุกต์ใช้เพื่อลดปัญหาความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้น

บทความวิจัย | การพัฒนาระบบบริหารสหกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน

การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาพัฒนาระบบบริหารและจัดการสหกรณ์ช่วยเพิ่มความโปร่งใสและลดโอกาสการทุจริตของเจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือผู้มีอำนาจในสหกรณ์ได้ อีกทั้งยังก้าวข้ามขีดจำกัดทางระยะทางผ่านระบบอยู่บนเครือข่ายแบบ peer to peer และการใช้สกุลเงินกลาง

บทความวิจัย | การวิเคราะห์แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย

การวิเคราะห์แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย เป็นกรอบแนวทางให้การบริหารองค์กรการเงินชุมชนมีประสิทธิภาพ

You might also like...

KRAC Extract | LGBTQI+ กับคอร์รัปชัน: เมื่อศักดิ์ศรีถูกลดค่าในสังคมที่ไม่เท่าเทียม

ชวนเจาะลึกรายงาน “The Impacts of Corruption on LGBTQI+ Rights” ที่เผยให้เห็นว่า การคอร์รัปชันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่มันกระทบต่อชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้คน มาร่วมเรียนรู้ว่า เราจะสร้างนโยบายต้านคอร์รัปชันที่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์ได้อย่าง

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I หน่วยงานต้านโกงฮังการีตั้งเป้าหมาย เริ่มพัฒนา AI ต่อสู้คอร์รัปชันในอนาคต

ฮังการีรายงานผลการทำงานปีที่ผ่านมาพร้อมประกาศเริ่มพัฒนา AI แก้ปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อเปิดทางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเรียลไทม์

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด