พัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ศึกษาพัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 103/7 วรรคแรกและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

งานวิจัยเรื่องนี้ ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารสําคัญของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 103/7 วรรคแรก และวรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เช่น รายงานการประชุม การตอบข้อหารือจากหน่วยงาน ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมถึงร่างกฎหมายที่มีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยเน้นศึกษาพัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งพัฒนาการสําคัญของกฎหมายป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ที่ความพยายามในการบัญญัติมาตรา 103/7 วรรคแรกและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

คณะผู้วิจัย จึงแบ่งการนําเสนอข้อมูล ออกเป็น 2 ส่วน เพื่อประโยชน์ในการศึกษา คือ ส่วนแรก เป็นการศึกษาความเป็นมาของมาตรา 103/7 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 สําหรับส่วนที่สอง เป็นการศึกษาความเป็นมาของมาตรา 103/7 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

จากผลการศึกษา สรุปได้ว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของการทุจริตคอร์รัปชัน เกิดจากกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่แม้จะมีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับ แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ไม่สามารถทำให้การทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐน้อยลงไปได้ ผลจากการศึกษา ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อทำให้ทราบถึงความเป็นมา กระบวนการและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติกฎหมายในการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่กำหนดไว้ในมาตรา 103/7 ววรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสู่การศึกษาวิจัยและการจัดทำข้อเสนอแนะเรื่องระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

นันทวัฒน์ บรมานันท์, ประทีป คงสนิท, วรรณภา ติระสังขะ, อรรถสิทธิ์ กันมล และวรัญญา ทัศนีศรีวงศ์. (2555). พัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2555
ผู้แต่ง
  • นันทวัฒน์ บรมานันท์
  • ประทีป คงสนิท
  • วรรณภา ติระสังขะ
  • อรรถสิทธิ์ กันมล
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรมบัญชีกลาง จำนวน 40,000 โครงการ และนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ปิดช่องโหว่ดุลพินิจ ปิดช่องทางทุจริตในไทย

“ดุลพินิจ” อำนาจรัฐ หรือช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต ? KRAC ชวนถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโกงจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐจากกงานวิจัยเรื่อง การแสวงหาผลประโยชน์ จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ (2560)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | จะกลัวทำไมมีเมื่อกฎหมายหนุนหลัง ? ชวนส่องกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม

เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ได้มีแค่การเลือกตั้งเท่านั้น แต่การตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นับว่าเป็นอีกหนึ่งการมีส่วนร่วมที่สำคัญ KRAC คัดสรร ชวนดู กฎหมายมาตราไหน สนับสนุนประชาชนอย่างไรบ้าง ?

KRAC The Experience | EP.9 Fight Together! : The Anti-Corruption Ecosystem

การสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสำคัญอย่างไร ? ชวนดู แนวคิดความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ กับ KRAC The Experience ตอน “Fight Together ! : The Anti-Corruption Ecosystem”