โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

งานวิจัยเรื่องนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการของงานวิจัย งานวิชาการ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในประเทศไทย และนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาวิจัย วิชาการ และแนวปฏิบัติสมัยใหม่ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาล

โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัย งานวิชาการ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในประเทศไทย (2) ศึกษาอนาคตของการคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลจากแนวทางการดำเนินงานในระดับสากล (3) วิเคราะห์พรมแดนความรู้ และช่องว่างของความรู้ รวมถึงช่องว่างของการนำไปใช้ในทางปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในประเทศไทย และ (4) เพื่อนำเสนอแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาวิจัย วิชาการ และแนวปฏิบัติสมัยใหม่ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาล

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • พัฒนาการขององค์ความรู้ในเรื่องธรรมาภิบาลของประเทศไทยจากการทบทวนงานศึกษาเรื่องธรรมาภิบาลในช่วงปี พ.ศ. 2550 – 2564 จำนวน 209 ชิ้น (ไม่รวมวิทยานิพนธ์และบทความ) พบว่างานส่วนใหญ่มักจะยึดหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542
  • พัฒนาการขององค์ความรู้ในเรื่องคอร์รัปชันของประเทศไทย จากงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2564 จำนวน 102 ชิ้น (ไม่รวมวิทยานิพนธ์และบทความ) สามารถจำแนกพัฒนาการตามกลุ่มขององค์ความรู้ออกได้เป็น 4 ช่วง ได้แก่ (1) ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2549 เน้นการสร้างองค์ความรู้ และวางรากฐานการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย (2) ช่วง พ.ศ. 2549 – 2553 เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้านคอร์รัปชันในระดับองค์กร และหน่วยงาน เพื่อแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน (3) ช่วง พ.ศ. 2554 – 2557 เน้นศึกษาประเด็นการคอร์รัปชันในโครงการภาครัฐ ที่มีความเฉพาะเจาะจงในรายประเด็น และมีความลึกซึ้งมากขึ้น และ (4) ช่วง พ.ศ. 2548 – 2561 เน้นการสร้างความรับรู้ และสร้างค่านิยมในการต่อต้านคอร์รัปชันด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเน้นการส่งเสริมธรรมาภิบาลชุมชน 
  • ผลจากการศึกษาในส่วนของเนื้อหางานวิจัยด้านคอร์รัปชันของประเทศไทย พบว่างานวิจัยเกือบทั้งหมดเป็นเรื่องของแนวคิดและนิยามเชิงวิชาการ โดยมีงานวิจัยจำนวนน้อยมากที่มีการกล่าวถึงนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition) ของธรรมาภิบาล และการคอร์รัปชัน ทำให้งานส่วนใหญ่ ยังขาดความเชื่อมโยงกับรูปธรรมในภาคปฏิบัติจริง ทำให้งานวิจัยมีความเชื่อมโยงกับพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของประชาชนน้อย รวมถึงพบการกระจุกตัวของงานวิจัยในหลายมิติ โดยเฉพาะการวัด หรือทดสอบความสนใจ ความเข้าใจ และความตระหนักต่อปัญหาธรรมาภิบาล และคอร์รัปชัน แต่การศึกษาที่เน้นไปที่เครื่องมือที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหายังมีไม่มากนัก
  • ผลจากการศึกษาในส่วนของประเด็นการนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย ที่อาศัยกรอบแนวคิดกระบวนการนโยบายสาธารณะ (Public Policy Process) ที่มี 5 ด้าน พบว่าการศึกษาส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดกระจุกตัวอยู่แค่ใน 2 ขั้นตอนแรก คือ การก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) และการกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) ในขณะที่งานศึกษาในขั้นตอนที่เหลือ ได้แก่ การตัดสินนโยบาย (Policy Decision) ยังพอจะพบเห็นอยู่บ้าง แต่งานศึกษาในขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) และการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) มีอยู่เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น
  • ผลจากการศึกษา นำเสนอประเด็นการศึกษาคอร์รัปชันระดับสากลในอนาคต โดยแบ่งออกเป็น 3 กรอบ ได้แก่ (1) กรอบการศึกษาคอร์รัปชันที่อ้างอิงกับดัชนีชี้วัดคอร์รัปชันในระดับสากล (2) กรอบการศึกษาคอร์รัปชันที่คำนึงถึงความหลากหลายในความสนใจของประชากรแต่ละกลุ่ม และ (3) กรอบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมทั้งควรมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการดำเนินนโยบาย และการจัดการผลประโยชน์สาธารณะภายหลังสถานการณ์โควิด-19 เป็นหลัก
  • ผลจากการศึกษาเรื่องการให้ทุนการทำวิจัยในเรื่องธรรมาภิบาลและคอร์รัปชัน พบว่ามีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2561 โดยมีความหลากหลายของหัวข้องานวิจัย และครอบคลุมพัฒนาการของหัวข้องานวิจัยที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในแต่ละช่วงเวลาอย่างชัดเจน ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากเงื่อนไขของการให้ทุนที่มักอ้างอิงกับโครงสร้างดังกล่าว
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ธานี ชัยวัฒน์, ชนลักษณ์ ชัยศรีลักษณ์, ณัชฎา คงศรี, นิชาภัทร ไม้งาม, จารุวัฒน์ เอมซ์บุตร, ปกรณ์สิทธิ ฐานา และศิวัช พู่พันธ์พานิช (2565). โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง
  • ธานี ชัยวัฒน์
  • ชนลักษณ์ ชัยศรีลักษณ์
  • ณัชฎา คงศรี
  • นิชาภัทร ไม้งาม
  • จารุวัฒน์ เอมซ์บุตร
  • ปกรณ์สิทธิ ฐานา
  • ศิวัช พู่พันธ์พานิช
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

บทความวิจัย : นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน

การศึกษาสาเหตุของปัญหาคอร์รัปชันและการให้สินบน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ การปรับทัศนคติของสังคม และโครงสร้างทางอำนาจของรัฐ

บทความวิจัย : การแก้ปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัลตามแนวพุทธจริยธรรม

หิริโอตตัปปะ ฆราวาสธรรม และทิศ 6 หลักธรรมที่ควรนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัล เพราะการแก้ปัญหาอาจต้องย้อนกลับไปแก้ไขที่รากเหง้า คือ การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

บทความวิจัย : กบฏโพกผ้าเหลือง กับเสถียรภาพทางการเมืองในวรรณกรรมสามก๊ก

“กบฎโพกผ้าเหลือง” สะท้อนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวงในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนำมาสู่การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดังนั้น เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง รัฐจะต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริตคอรัปชัน ควบคู่ไปกับการดูแลประชาชนให้อยู่ดีกินดี