เปิดข้อมูลให้โปร่งใส ปิดตายการคอร์รัปชัน

การเปิดเผยข้อมูล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการติดตาม และตรวจสอบการคอร์รัปชันในสังคม โดยการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นไปตามหลักการเกี่ยวกับข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันตามมาตรฐานสากล และพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อติดตามและให้คำแนะนำต่อการเปิดเผยข้อมูล จะเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การร้องเรียน ป้องกัน และร่วมกันแก้ปัญหาคอร์รัปชันของประชาชนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

อุปสรรคสำคัญของการที่ประชาชนไม่เข้าร่วมร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการคอร์รัปชันที่พบเห็น อาจจะไม่ใช่เป็นเรื่องของการทนได้ แต่อาจเป็นเพราะการที่ไม่รู้ไม่เห็นตั้งแต่แรกเริ่ม ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของเสาไฟฟ้าประติมากรรมกินรี ที่หากไม่รู้ว่าเสาไฟแต่ละต้นนั้นมีราคาอยู่ที่ต้นละประมาณหนึ่งแสนบาท กระแสการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการคอร์รัปชันอย่างรุนแรงในสังคมในช่วงที่ผ่านมาก็อาจจะไม่เกิดขึ้น หรือหากประชาชนในพื้นที่ไม่ร่วมกันค้นหาข้อมูลการบิดเบือนสัญญา และเส้นทางการเงินที่คดโกง ก็คงไม่เห็นถึงการตัดสินลงโทษนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพลหลายคนในคดีทุจริตโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน เป็นต้น

ดังนั้น การมีข้อมูลเปิดจึงไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งที่สำคัญ แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน เพราะในกระบวนการก่อนที่จะมีการกล่าวหาว่าบุคคล หรือหน่วยงานใดกระทำความผิด ประชาชนจะต้องรับรู้และรับทราบก่อนว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และใช้เงินไปเท่าไร ไม่เช่นนั้นต่อให้ประชาชนทุกคนในสังคมอยากมีส่วนร่วมแก้ปัญหาคอร์รัปชันมากเพียงใด พวกเขาก็ไม่รู้จะเริ่มต้นแก้ปัญหาได้อย่างไร ทำให้หลักการเรื่องการเปิดเผยข้อมูลอย่างมีมาตรฐาน จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง หากต้องการจะแก้ปัญหาคอร์รัปชันให้ได้ผล และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการติดตาม และตรวจสอบการคอร์รัปชันในสังคม

สำหรับหลักการในการเปิดข้อมูลที่เป็นมาตรฐานสากล The Open Data Charter ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและภาคประชาสังคมกว่า 170 หน่วยงาน ได้มีการวางแนวทางสำหรับการเปิดเผยข้อมูลที่เหมาะสมใน 6 หลักการสำคัญ ประกอบด้วย (1) ต้องเปิดเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น เพื่อให้ลดต้นทุนในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน (2) รวดเร็วและครบถ้วน เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ข้อมูลที่มีประโยชน์ได้ทันต่อเหตุการณ์ (3) เข้าถึงง่ายและใช้ได้จริง เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานได้โดยสะดวก (4) เปรียบเทียบและเชื่อมโยงกันได้ เพื่อให้สามารถเกิดการวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลในการตรวจจับการคอร์รัปชัน (5) เพื่อพัฒนาธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกระตุ้นให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม และ (6) เพื่อการพัฒนาอย่างทั่วถึง และส่งเสริมนวัตกรรม ในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในการตรวจสอบการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จะเห็นได้ว่า การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นไปตามมาตรฐานเกี่ยวกับข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยมีการออกแบบและพัฒนาที่มีรายละเอียดชัดเจนตามมาตรฐานสากล รวมถึงมีการพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อติดตามและให้คำแนะนำต่อการเปิดเผยข้อมูล จะเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การร้องเรียน ป้องกัน และร่วมกันแก้ปัญหาคอร์รัปชันของประชาชนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
มีนาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

ใช้เทคโน for say no to Corruption

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุนในการต่อต้านการคอร์รัปชัน ช่วยเพิ่มโอกาสของประชาชนในการรายงานการทุจริต …

How to ต่อต้านคอร์รัปชันในไทยให้ได้ผล Round 2 : ข้อมูลและเครือข่ายเพื่อทำลายการคอร์รัปชัน

ในการที่จะสร้าง “วัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน” ที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทยนั้น นอกเหนือจากการทำความเข้าใจกลไกในระดับพื้นที่แล้ว ยังต้องศึกษาถึงกลไกสนับสนุนที่จะเข้ามาช่วยหนุนเสริมการต่อต้านคอร์รัปชันให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ …

You might also like...

บทความวิจัย : การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง

การพิจารณาปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละระบบ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

“ถ้ารัฐบาลนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นโกง ก็ปฏิวัติเสียดีกว่า เอาคนดีมาจัดการนักการเมืองโกง” วาทกรรมที่คุ้นหูนี้สะท้อนความคิดที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ การรัฐประหารที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศไทย กลับไม่เคยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน ตรงกันข้าม ปัญหากลับทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นว่าการใช้อำนาจเผด็จการเด็ดขาดไม่ใช่คำตอบ แต่กลับเป็นการให้อำนาจประชาชนอย่างแท้จริงผ่านระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งต่างหาก

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : #JUSTICE_FOR_SEUNGHAN ส่องวิกฤติบริษัทที่ว่าด้วยศรัทธาสาธารณะ และภาพมายาความเป็นเจ้าของชีวิต ‘ไอดอล’ ของแฟนคลับ

ปรากฏการณ์สำคัญที่กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ การที่บริษัทค่ายเพลงขนาดใหญ่อย่าง SM Entertainment ได้ออกแถลงการณ์ว่า ‘ฮง ซึงฮัน’ (Hong Seunghan) หนึ่งในสมาชิกของวง ‘RIIZE’ (ไรซ์) ซึ่งถูกพักงานและระงับการเข้าร่วมกิจกรรมของวงเป็นการชั่วคราวเมื่อปีที่ผ่านมา