แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในกับธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรณีศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด

งานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาระบบตรวจสอบภายใน กับ ธรรมภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้เเก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทำการศึกษาใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การรับรู้ต่อระบบการตรวจสอบภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ความเข้าใจของผู้ตรวจสอบภายในต่อภาระหน้าที่ (3) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมีประสิทธิผลของระบบตรวจสอบภายใน (4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระบบตรวจสอบภายใน และ (5) วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการศึกษา สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปได้ ดังนี้ (1) ปัญหาด้านโครงสร้างของระบบควบคุมภายใน (Internal Control System) (2) ปัญหาด้านทัศนคติของผู้บริหารต่องานตรวจสอบภายใน ว่าเป็นการจับผิด ไม่ใช่การสอบทานความถูกต้องของการดำเนินงาน (3) ปัญหาด้านความเชื่อถือและทัศนคติของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ต่อการดำเนินการตรวจสอบ ว่าไม่ได้เกิดคุณค่าเพิ่มให้แก่องค์กร (4) ปัญหาด้านการขาดองค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านของผู้ตรวจสอบภายใน ทำให้การตรวจสอบไม่ สามารถทำได้ลึกซึ้งตามการปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพ (5) ปัญหาด้านการจัดอบรมบุคลากรด้านการตรวจสอบภายในที่มีน้อยครั้ง จนไม่เพียงพอต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถในการตรวจสอบ และ (6) ปัญหาด้านการขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน และการตรวจสอบภายในของเจ้าหน้าที่ด้วยกันเอง
  • ผลจากการระดมความคิดเห็นโดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ร่วมกันเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน 2 รูปแบบ สรุปได้ ดังนี้ หนึ่ง ควรมีการย้ายสังกัดหน่วยตรวจสอบภายในจากสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ไปสังกัดกลุ่มงานการเงิน บัญชี และการตรวจสอบของสำนักงานท้องถิ่นส่วนจังหวัดแทน และสอง เสนอให้หน่วยตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีการยกฐานะให้หน่วยตรวจสอบภายใน มีลักษณะเทียบกับกอง หรือส่วนงานในองคก์รปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ผลจากการวิจัย เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ต้องประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชนเป็นกรรมการเสียงส่วนใหญ่ และกำหนดให้มีวาระในการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบภายในอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 6 ครั้ง รวมถึงกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบภายใน จัดทำรายงานประจำงวด (ไตรมาสและรายปี) ส่งให้ฝ่ายบริหารท้องถิ่น เเละจัดทำเอกสารเผยแพร่ หรือจัดเวทีประชุมให้แก่ชุมชนด้วย
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

พิทยา พานทอง และนาวิน พรมใจ. (2556). แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในกับธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2556
ผู้แต่ง
  • พิทยา พานทอง
  • นาวิน พรมใจสา
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และสถานการณ์ธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ รวมถึงระบบและกลไกทางสังคมต่อการจัดการ และป้องกันปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในกับธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรณีศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด

You might also like...

KRAC The Experience | EP.9 Fight Together! : The Anti-Corruption Ecosystem

การสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสำคัญอย่างไร ? ชวนดู แนวคิดความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ กับ KRAC The Experience ตอน “Fight Together ! : The Anti-Corruption Ecosystem”

KRAC Insight | Data Standard: การสร้างมาตรฐานข้อมูล ที่ต่อยอดสู่การต่อต้านคอร์รัปชัน

KRAC ชวนฟังทีม Open Data ในเครือข่าย SEA-AC เล่าถึงการจัดการข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (Data Standard) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)

KRAC Insight | สู่สังคมโปร่งใส ตรวจสอบได้ เกาหลีใต้ทำอย่างไรให้การคอร์รัปชันลดลง

KRAC ชวนดูบทเรียนว่าเกาหลีใต้ทำอย่างไรให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ กับ คุณเสกสรร อานันทศิริเกียรติ สมาคมไทยคดีศึกษาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KATS) ที่มาอธิบายสถานการณ์ทางการเมืองของเกาหลีใต้ในช่วง 2- 3 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงพาไปย้อนชมประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเกาหลีใต้ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้