โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) อันจะนําไปสู่การกําหนดมาตรการปองกัน และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

ประเด็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน โดยหลายกรณีเกิดขึ้นโดยรู้เท่าไมถึงการณ์ ไม่มีความรู้ความเข้าใจ และเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ยังมีวัฒนธรรมการให้ของขวัญ สินน้ำใจ ค่านิยมเจ้าขุนมูลนาย ระบบเครือญาติ และพรรคพวกในระบบราชการ

งานวิจัยเรื่องนี้ จึงมุ่งตรวจสอบว่าผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนทองถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารราชการส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยเฉพาะในระดับองค์การบริหารราชการส่วนจังหวัด (อบจ.) มีการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) อย่างไร เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ที่นําไปสู่การกำหนดแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง สำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนทองถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐ

โดยใช้การสํารวจความคิดเห็นเชิงปริมาณ (Quantitative Survey) จากกลุมตัวอย่างเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 จังหวัด และที่มาจากฝ่ายการเมือง (นายก และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาจังหวัด) และจากฝ่ายข้าราชการ รวมุถึงบุคลากรประจํา (ข้าราชการ/พนักงานส่วนทองถิ่น ลูกจ้างประจําและพนักงานจ้าง) จํานวน 912 คน 

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าในภาพรวม เจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.89) หากพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ กับ ตัวแปรอิสระ พบว่าระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน ระยะเวลาในการทํางานที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด และขนาดขององค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการรับรู้เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) 
  • ผลจากการศึกษา พบว่าในภาพรวม เจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีระดับความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.09) หากพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ กับ ตัวแปรอิสระ พบว่า ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่ในปจจุบัน ระยะเวลาในการทํางานที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด และขนาดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความสัมพันธ์อยางมีนัยสําคัญทางสถิติกับความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) 
  • ข้อเสนอแนะต่อแนวทางปรับปรุง และพัฒนาการสร้างการรับรู้ และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย เช่น ควรให้ความสําคัญ และเร่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ตลอดจนการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจ โดยเฉพาะในกลุ่มองค์การบริหารส่วนจังหวัดขนาดใหญ่เป็นอันดับแรก เพราะได้รับรายได้จํานวนมาก แต่มีระดับการรับรู้และความเข้าใจต่อประเด็นดังกล่าวน้อย อันเป็นสัญญาณสะท้อนถึงความสุ่มเสี่ยงของแนวโน้มที่อาจนําไปสู่สถานการณ์การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ตามมา
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

โกวิทย์ กังสนันท์, ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ยิ่ง, ธีรวรรณ เอกรุณ และภัทรวุฒิ เฉยศิริ. (2561). โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • โกวิทย์ กังสนันท์
  • ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ยิ่ง
  • ธีรวรรณ เอกรุณ
  • ภัทรวุฒิ เฉยศิริ
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)