Regional Anti-Corruption Initiative Learning Hub : สำรวจ Best Practice และเรียนรู้การจัดการปัญหาคอร์รัปชันในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้

เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจสำรวจตัวอย่างวิธีการจัดการปัญหาคอร์รัปชันในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมีเคสความสำเร็จให้ศึกษามากมาย

ที่มาภาพ : Institute Regional Anti-Corruption Initiative

Institute Regional Anti-Corruption Initiative Learning Hub มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนความร่วมมือของรัฐสมาชิกในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (South East Europe) โดยหนึ่งในนั้น คือการพัฒนา Learning Hub เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ทำงานในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันระหว่างรัฐบาล ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม ดำเนินการโดย Regional Anti-Corruption Initiative (RAI)

เว็บไซต์นี้มีไฮไลต์อยู่ตรงที่รวบรวมเคสความสำเร็จของรัฐสมาชิกในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ไว้หลายเคส เพื่อให้เป็นแบบอย่างในการนำไปปรับใช้ โดยบรรดาชุดความรู้เหล่านี้ยังครอบคลุมหลายภาษาด้วยมาดูกันว่า มีฟีเจอร์อะไรน่าสนใจบ้าง !

  • Learning Platform ฟีเจอร์ที่เป็นพื้นที่รวบรวมทั้งผลงาน เครื่องมือ และโครงการของบรรดารัฐสมาชิกที่ประสบความสำเร็จในการนำไปใช้ต่อต้านหรือเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชัน ได้แก่ Self-assessment Tool for Whistleblower Protection Systems, Public Legal Education on Whistleblowing และ Corruption Risk Assessment และเพื่อง่ายต่อการเรียนรู้และนำไปปรับใช้ ชุดความรู้เหล่านี้ยังครอบคลุมหลายภาษาของรัฐสมาชิกด้วย
  • RAI Publications ตีพิมพ์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมาตรฐานหรือแนวทางในการสนับสนุนความโปร่งใสและการบริหารงานที่ดีของรัฐสมาชิกเพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่ได้ เช่น Higher Education Sector Corruption Risk Assessment Guidance with Checklists, Public Enterprises Sector Corruption Risk Assessment Guidance with Checklists เป็นต้น
  • Roster of Experts ฟีเจอร์ที่จะช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน (ระดับหัวหน้าและระดับปฏิบัติการ) ระหว่างภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (South East Europe) และภูมิภาคอื่น ๆ บรรดาผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ต่างก็ได้รับการการันตีผลงานจากคณะกรรมการของ Regional Anti-Corruption Initiative ปัจจุบัน มีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาถึง 62 คน โดยมีขอบเขตความเชี่ยวชาญในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ Anti-Corruption Strategies, Asset Recovery, Conflict of Interest, Corruption in Public Procurement
  • Mapping Anti-corruption in SEE เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ผลงาน และความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกได้อย่างสะดวก จึงต้องมีฟีเจอร์ที่เป็นพื้นที่กลางในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบทางกฎหมาย สถาบัน และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐสมาชิกในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (South East Europe) รวมถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ต่าง ๆ ในการสร้างความร่วมมือ

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปค้นคว้าข้อมูลและเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์โดยคลิกที่ปุ่มด้านล่างได้เลย

🚩 Regional Anti-Corruption Initiative Learning Hub
🚩 ดำเนินการโดย : Institute Regional Anti-Corruption Initiative

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงาน
05_โลโก้ KRAC

หัวข้อ
Related Content

พิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง : เข้าสู่โลกของ Virtual Museum เรียนรู้การต้านโกงไปกับ ป.ป.ช.

Virtual Museum ที่จะพาทุกคนไปศึกษาเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน 9 โซนเรียนรู้ที่มีเนื้อหาที่ทันสมัย อร่อยย่อยง่ายเหมาะกับทุกคน

The U4 Anti-Corruption Resource Centre : ศูนย์กลางงานวิจัยและคอร์สเรียนรู้ด้านคอร์รัปชันที่ทันสมัย

เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่สนใจสืบค้นนโยบายและมาตรการในการต่อต้านคอร์รัปชัน หรือต้องการใช้บริการคอร์สอบรมต่าง ๆ

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้