KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

สำรวจแนวคิดธรรมาภิบาลจากองค์กรสากล

หลักธรรมาภิบาลหรือ Good Governance เป็นแนวคิดสากลที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญและพยายามประยุกต์ใช้ในการบริหารทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน แม้ว่าจะมีความพยายามในการกำหนดกรอบและองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่ในทางปฏิบัติ หลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรกลับมีความแตกต่างกันออกไปทั้งในแง่ของจำนวนองค์ประกอบ นิยาม และคำอธิบาย KRAC จึงอยากมาเล่าแนวคิดของธรรมาภิบาลหรือแนวทางการบริหารจัดการที่ดีของแต่ละองค์กรทั้งในระดับนานาชาติและในประเทศไทย จากงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) โดย รศ. ดร.ปิยากร หวังมหาพร และคณะเพื่อให้เห็นความแตกต่างที่สะท้อนถึงบริบท ภารกิจ และวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์กร องค์การหรือหน่วยงาน แต่ทั้งหมดมาจากรากฐานธรรมาภิบาลที่เหมือนกัน

เริ่มจากองค์การนานาชาติอย่าง องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เป็นองค์การที่มุ่งส่งเสริมนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิกและทั่วโลก โดยได้กำหนดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) 6 หลัก คือ 1. หลักพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการ 2. สิทธิหน้าที่ของผู้ถือหุ้นหลัก 3. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน  4. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสียในการกำกับดูแลกิจการ 5. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส 6. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ซึ่งการที่ OECD นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ จะช่วยสร้างความไว้วางใจจากคนภายนอกองค์กร สร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบ อีกทั้งยังสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเงินภายในองค์กรอีกด้วย

ต่อมาคือ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เป็นองค์กรระดับนานาชาติที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก โดยมุ่งเน้นการขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดย UNDP ได้กำหนดองค์ประกอบของธรรมาภิบาล 9 หลัก ได้แก่ การมีส่วนร่วม (Participation) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ความโปร่งใส (Transparency) การตอบสนอง (Responsiveness) การมุ่งเน้นฉันทมติ (Consensus-oriented) ความเสมอภาคและความเป็นธรรม (Equity) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and Efficiency) ความรับผิดชอบ (Accountability) วิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Vision) ซึ่งโครงสร้างธรรมาภิบาลเหล่านี้จะช่วยให้ UNDP สามารถสร้างกระบวนการประชาธิปไตยที่เข้มแข็งขึ้นและสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

ย้อนกลับมาดูหลักธรรมาภิบาลของไทย

เรามี สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐไทยที่มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ โดยสถาบันพระปกเกล้ามีหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยผ่านการศึกษา วิจัย อบรม และเผยแพร่ความรู้ โดยหลักธรรมาภิบาลของสถาบันพระปกเกล้าแบ่งออกเป็น 10 หลัก คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักสำนึกรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หลักการบริหารจัดการ และหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยธรรมาภิบาลได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สถาบันพระปกเกล้าสามารถสร้างความโปร่งใส เพิ่มความน่าเชื่อถือ และทำให้หน่วยงานสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า จากธรรมาภิบาล 6 หลักการเดิม ปัจจุบันได้แตกแขนงเป็นหลายแนวคิดตามจุดประสงค์ของแต่ละองค์กร อย่าง OECD ที่มุ่งเน้นด้านการเงินและการลงทุน, UNDP มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ, ส่วนสถาบันพระปกเกล้าเน้นการบริหารและพัฒนาภาครัฐไทยให้มีประสิทธิภาพ แม้ว่าแต่ละองค์การ องค์กร หรือหน่วยงานจะมีแนวคิดที่ต่างกันอย่างไร แต่ทุกแนวคิดยังคงยึดหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาล คือเรื่องความโปร่งใส คุณธรรม นิติธรรม ความคุ้มค่า การมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบที่ทำให้การดำเนินงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

งานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) โดย รศ. ดร.ปิยากร หวังมหาพร และคณะ ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลขององค์กรอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งในไทยและนานาชาติ สามารถอ่านสรุปประเด็นสำคัญของวิจัยเพิ่มเติมได้ที่บทความสรุปงานวิจัยที่ลิงก์ด้านล่าง 

___________________

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ที่มา

ปิยากร หวังมหาพร และคณะ. (2563). โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ในการสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สร้างความสำเร็จในหน่วยงานด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตามแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีตัวอย่าง 6 หน่วยงานรัฐไทยที่ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จในการสร้างธรรมาภิบาล…ปัจจัยความสำเร็จเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ? และผลลัพธ์ของการมีธรรมาภิบาลจะเป็นเช่นไร ? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption