KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ? 

 

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ อ่างเก็บน้ำที่ใช้ไม่ได้จริง จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

ซึ่งสาเหตุของปัญหามาจากการที่ภาครัฐไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับโครงการอย่างแท้จริงตั้งแต่ริเริ่มคิดโครงการ และยังขาดกระบวนการติดตามตรวจสอบจากคนในพื้นที่ ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันทำให้คนในพื้นที่รู้สึกไม่ไว้วางใจต่อหน่วยงานรัฐ ดังนั้นการศึกษาเรื่องของความเชื่อใจของประชาชนที่มีต่อรัฐในการสร้างโครงการสาธารณะจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2  โดย ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ (2563) ได้ทำการศึกษา เรื่องของความเชื่อใจระหว่างประชาชนด้วยกันเอง (Interpersonal Trust) และความเชื่อใจของประชาชนต่อภาครัฐ (Institutional Trust) เกี่ยวกับการสร้างโครงการสาธารณะ โดยใช้วิธีจำลองสถานการณ์เสมือนผ่านการทดลองที่เก็บข้อมูลจากการสำรวจ (Survey-Based Experiment) แบ่งออกเป็น 2 ทรีทเมนต์ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 171 คน 

ทรีทเมนต์ที่ 1 เป็นการวัดความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประชาชนด้วยกันเองและรัฐ

โดยผู้วิจัยจะให้จะแบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็นกลุ่มละ 4 คน และแต่ละคนจะได้รับเงินคนละ 20 หน่วย โดยต้องใช้เงินนั้นตัดสินใจว่าจะเลือกระหว่าง

  1. “โครงการขนาดเล็ก” ที่ลงแรงน้อยได้ใช้ประโยชน์น้อย แต่ผู้เข้าร่วมต้องบริจาคเงินเข้ากองกลางให้ถึงอย่างน้อย 20 หน่วย 
  2. “โครงการขนาดใหญ่” ที่ลงแรงมากได้ใช้ประโยชน์มาก แต่ผู้เข้าร่วมต้องบริจาคเงินเข้ากองกลางให้ถึง อย่างน้อย 40 หน่วย 
  3. “โครงการที่หน่วยงานรัฐจะสร้างให้” โดยมีโอกาสที่จะได้ทั้งโครงการเล็กและใหญ่ ใช้ประโยชน์ได้มากและน้อย หรือใช้ไม่ได้เลย  

หลังการให้เลือกผลการทดลองสรุปว่า ผู้เข้าร่วมทดลอง 43 % เลือกตัวเลือกที่ 1 ผู้เข้าร่วมทดลอง 30 % เลือกตัวเลือกที่ 3 และผู้ทดลอง 27 % เลือกตัวเลือกที่ 2 ซึ่งทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีความเชื่อใจในการทำโครงการกันเองในโครงการขนาดเล็กมากกว่าการให้รัฐสร้างให้

ทรีทเมนต์ที่ 2 เป็นการวัดความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนต่อภาครัฐในสถานการณ์ที่โครงการมาจากภาครัฐตั้งแต่ต้น

โดยในการทดลองนี้ผู้วิจัยจำลองสถานการณ์ว่ารัฐเป็นผู้สร้างให้โดยกำหนดโครงการมาตั้งแต่ต้น สอดคล้องกับความเป็นจริงที่หลายครั้งรัฐมักเอาโครงการไปยัดใส่ชุมชนโดยที่ไม่ได้ถามถึงความต้องการของประชาชน ถ้าหากว่าผู้เข้าร่วมทดลองยินยอมให้รัฐสร้างให้ก็จะเสียภาษี 5 หน่วยสำหรับโครงการเล็กและ 10 สำหรับโครงการใหญ่ แต่มีโอกาสที่ประชาชนจะได้ผลประโยชน์หรือไม่ผลประโยชน์จากโครงการเลย และหากผู้เล่นไม่ไว้วางใจต่อรัฐก็เลือกที่จะปฏิเสธได้ โดยเลือกสร้างโครงการขนาดเล็กด้วยกันเอง โดยต้องรวมเงินกองกลางอย่างน้อย 20 หน่วย หรือสร้างโครงการขนาดใหญ่ด้วยกันเองโดยต้องรวมเงินกองกลางอย่างน้อย 40 หน่วย

ผลการทดลองในทรีทเมนต์นี้ พบว่า ผู้เข้าร่วมทดลอง 53 % เลือกที่จะสร้างโครงการขนาดเล็กด้วยกันเอง ผู้เข้าร่วมทดลอง 32 % เลือกที่จะให้รัฐสร้างให้ ผู้เข้าร่วมทดลอง 15 % เลือกที่จะสร้างโครงการขนาดใหญ่ด้วยกันเอง ซึ่งในทรีทเมนต์นี้จะคล้ายกับในทรีทเมนต์แรก คือประชาชนเลือกที่จะสร้างโครงการขนาดเล็กด้วยกันเองมากกว่า แต่จำนวนประชาชนที่ต้องการให้รัฐสร้างให้นั้นมีจำนวนมากขึ้น

การทดลองทั้ง 2 ทรีทเมนต์นำไปสู่การศึกษาเพิ่มเติมที่คณะผู้วิจัยได้ให้ผู้เข้าร่วมทดลองแบ่งตัวเองออกเป็นคนเมืองและคนชนบท เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของคนทั้งสองพื้นที่ พบว่า คนเมืองและคนชนบทมีความไว้ใจต่อรัฐไม่เหมือนกัน ดังนี้ 

“ในการสร้างโครงการขนาดเล็ก” คนเมืองเลือกตัวเลือกนี้ 64 % ในขณะที่คนชนบทเลือกตัวเลือกนี้ 44 % สะท้อนให้เห็นว่าคนเมืองชอบที่จะสร้างโครงการขนาดเล็ก โดยการสร้างกันเอง มีความสัมพันธ์กับคนในสังคมเป็นวงเล็ก ๆ 

กลับกัน “ในการสร้างโครงการขนาดใหญ่” คนชนบทเลือกตัวเลือกนี้ 22 % ในขณะที่คนเมืองเลือกตัวเลือกนี้ 14 % สะท้อนภาพของคนชนบทที่ส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นสังคมในวงกว้าง หรือมีปฏิสัมพันธ์แบบเครือญาติระหว่างคนในชุมชน 

และ “ในการสร้างโครงการที่รัฐสร้างให้” พบว่าคนชนบทเลือกตัวเลือกนี้ 34 % แต่คนเมืองตัวเลือกนี้ 22 % สะท้อนให้เห็นว่าคนชนบทมีความเชื่อใจกับหน่วยงานรัฐมากกว่าคนเมือง สาเหตุก็อาจมาจากการที่ชนบทมีตัวแทนของหน่วยงานรัฐที่ใกล้ชิดกับประชาชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

จากผลการวิจัยนี้ สะท้อนให้เราเห็นว่าประชาชนมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันเองมากกว่าการเชื่อใจต่อภาครัฐ ประชาชนยังยินดีที่จะมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสาธารณะในโครงการขนาดเล็ก ดังนั้นถ้าภาครัฐต้องการสร้างความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน ภาครัฐ จำเป็นต้องให้ความสนับสนุนการสร้างกลไกความร่วมมือของประชาชนจากโครงการขนาดเล็กไปสู่การสร้างโครงการขนาดใหญ่เพราะได้มีการพิสูจน์แล้วว่าประชาชนมีความเชื่อใจกันมากจึงมีโอกาสทำให้โครงการสำเร็จ และสิ่งสำคัญคือภาครัฐต้องรับฟังความต้องการของประชาชนว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นที่ทำให้พวกเขาอยากมีส่วนร่วม พร้อมทั้งเปิดให้โอกาสให้ประชาชนได้เสนอโครงการเพื่อสังคมขึ้นมาเองมากกว่าการกำหนดโครงการไปให้ โดยที่ประชาชนอาจไม่ได้ต้องการ 

ยังมีข้อค้นพบเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันที่น่าสนใจอีกมากมาย สามารถอ่านเพิ่มได้จาก “โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2” โดย ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ (2563)

#ชุมชน #พัฒนาชุมชน #ป้องกันทุจริต #องค์กรปกครองท้องถิ่น #Anti-Corruption #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการโกง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ดี

หากกล่าวถึง “สาเหตุของคอร์รัปชัน” สิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็น นักการเมืองที่จ้องจะโกงหรือตัวกฎหมายที่มีช่องว่างให้คนโกง แต่จริง ๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวอย่าง “วัฒนธรรมชุมชน” ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันได้เช่นกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ประเทศมหาอำนาจ มีแนวทางแก้ปัญหาคอร์รัปชันท้องถิ่นอย่างไร ?

ชวนศึกษารูปแบบองค์ปกครองท้องถิ่นสหรัฐฯ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีทั้งการเมืองที่มั่นคง เศรษฐกิจที่เข้มแข็ง รวมทั้งมีอิทธิพลต่อโลกในหลายด้าน เช่น วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังสามารถจัดการคอร์รัปชันได้ดีเป็นอันดับที่ 24 ของโลกจากการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริตขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น