KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 6 ข้อดี ถ้าประชาชนมีส่วนร่วมกับการพัฒนาโครงการรัฐ

“การมีส่วนร่วมของประชาชน” Core หลักของการลด Corruption

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกกระจายอำนาจเพื่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนถูกพัฒนาอย่างทั่วถึง แต่การอยู่ห่างศูนย์กลางการปกครองโดยที่องค์กรปกครองท้องถิ่นบริหารจัดการเองโดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดการคอร์รัปชันได้ง่ายขึ้น  

งานวิจัย เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล” โดย นวลน้อย ตรีรัตน์ (2546) ได้ศึกษาการพัฒนาโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพบว่า มีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย เช่น การตั้งงบประมาณโดยไม่สนใจประชาชน, การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ตรงความต้องการของประชาชน, กำหนดจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่มีการแข่งขันหรือแข่งขันต่ำ, ผู้ควบคุมการก่อสร้างขาดความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารก่อสร้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้โครงการไม่เกิดประสิทธิผลและสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการคอร์รัปชันได้ง่าย 

การจะแก้ปัญหาคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งงานวิจัยได้สรุป ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นถ้าภาคประชาชนมีส่วนร่วมไว้ ดังนี้

เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจเพิ่มวิธีการใหม่ ๆ ให้กับประชาชน :

การที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับโครงการสาธารณะของภาครัฐ จะทำให้เกิดการทบทวนปัญหาและอาจพบวิธีการใหม่ที่นำมาแทนวิธีการเดิมที่ใช้มาตั้งแต่อดีต ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างและทำให้โครงการเกิดประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงการเกิดคอร์รัปชันได้

ลดค่าใช้จ่ายและเวลา :

ถึงแม้การร่วมกันตัดสินใจในการทำโครงการโดยประชาชนอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลา เช่น การจัดการประชุม การจัดทำการลงประชามติ แต่ข้อดีคือ เมื่อได้ข้อสรุปที่มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายแล้ว แนวทางของโครงการก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น หากมีการก่อสร้างไปแล้ว แต่มาพบที่หลังว่าไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน ทำให้ต้องยุติโครงการไปก่อน หรือไม่สามารถหาข้อยุติได้ ก็จะทำให้เสียทรัพยากรและเวลามากกว่าที่ควร

สร้างฉันทามติ :

การจัดทำโครงการอาจมีความขัดแย้งและมีความเห็นต่างก็จริง แต่การมีส่วนร่วมจะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ออกความเห็น ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจกัน และนำไปสู่การป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้

เกิดความสำเร็จในการปฏิบัติโครงการ :

เมื่อประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จะทำให้พวกเขารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ อยากเห็นแนวทางที่ตนเองโหวตนำไปใช้ หรือโครงการที่ตนได้เลือกดำเนินการไปจนสำเร็จ

หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่รุนแรง :

ความขัดแย้งในโครงการอาจนำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชุมชนจนเกิดการตั้งตนเป็นศัตรูกัน กระบวนการมีส่วนร่วมจะเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แสดงความเห็น พูดคุยกัน และนำไปสู่การมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น

เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม :

หากการตัดสินในการทำโครงการเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะทำให้เกิดความโปร่งใส และนำไปสู่การเกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมได้

โดยภาพรวมงานวิจัยทำให้เราเห็นว่า การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เเม้ว่าจะต้องใช้เวลาในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น หรือใช้งบประมาณในการจัดกระบวนการ เเต่ผลที่ได้กลับมาถือเป็นการใช้งบประมาณที่คุ้มค่าเเละเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งลดการใช้ทรัพยากร ลดความขัดแย้ง ช่วยเพิ่มความสามัคคี เพิ่มความโปร่งใสและลดการคอร์รัปชัน ซึ่งถ้าหากประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นได้มากขึ้นก็จะนำประเทศชาติไปสู่ความมั่งคั่งและความยั่งยืน

นอกจากเรื่องของประโยชน์ของการมีส่วนร่วมงานวิจัยเล่มนี้ ยังได้กล่าวถึงเรื่องของการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ และกฎหมายที่รับรองบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากงานวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล” โดย นวลน้อย ตรีรัตน์ (2546)

#ทุจริต #อบต #ท้องถิ่น #คอร์รัปชัน #AntiCorruption #KRAC #KRACCorruption

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เปลี่ยนนโยบายคลัง ป้องกันคอร์รัปชันด้วยแนวทางเพิ่มความโปร่งใส

KRAC คัดสรรชวนทุกคนมาร่วมศึกษาความโปร่งใสของงบประมาณการคลังของไทย พร้อม 5 แนวทางเพิ่มความโปร่งใสจากงานวิจัย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

You might also like...

KRAC Insight | PEPs: ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ สู่การสร้างข้อมูลเพื่อแก้ไขคอร์รัปชันข้ามชาติ

KRAC ชวนดูข้อเสนอต่อเเนวทางการดำเนินงานตาม PEPs จากทีม Open Data เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของ Data standard และตัวอย่างการใช้ชุดข้อมูล PEPs สำหรับสื่อมวลชน

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : 6 ปี ACT Ai – เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

สองวันมานี้ท่านผู้อ่านทุกท่านคงได้รับฟังเรื่องราวและข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร เรียนทุกท่านตามตรงว่าผมเองก็ยังประมวลข้อมูลยังไม่จบสิ้น เรียกว่ามีทั้งประเด็นเก่าประเด็นใหม่มากมายจาก “ข้อมูล” ที่ฝ่ายค้านเปิดประเด็นทำให้สังคมหันมาสนใจ

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : เมื่อจีนใช้ AI ช่วยสะสางการคอร์รัปชันอย่างได้ผล ไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง

ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI กลายเป็นคำคุ้นหูที่ท่านผู้อ่านคงได้ยินได้ฟังกันมาบ้าง ทุกวันนี้ AI ถูกใช้อย่างแพร่หลายในแวดวงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา สาธารณสุข หรือการท่องเที่ยว AI กลายเป็นพัฒนาการสำคัญที่ส่งเสริมให้การทำงานหลายอย่างสะดวกขึ้น การแข่งขันทางเทคโนโลยี AI กำลังเข้มข้นมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะ เมื่อจีนเปิดตัว DeepSeek สำเร็จ ซึ่งกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ Open AI