KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data

Big Data : ใช้งานข้อมูลให้เป็น เพื่ออุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชัน

“Big Data” หมายถึง ข้อมูลใด ๆ ก็ตามที่ถูกเก็บบันทึกรวบรวมไว้ในที่เดียวจนกลายเป็นชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลลูกค้าขององค์กรที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ หรือฐานข้อมูลรายได้ครัวเรือนที่หน่วยงานรัฐจัดเก็บ ดังนั้น Big Data จึงมีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้

ตัวอย่างในบทความวิจัย เรื่อง “แกะรอยผูกขาด ป้องกันทุจริตคอร์รัปชันด้วย Big Data” โดย ภวินทร์ เตวียนันท์ (2560) ได้ดึงข้อมูล 5.4 ล้านโครงการ บนเว็บไซต์ https://data.go.th/ มาวิเคราะห์ลักษณะของปัญหาทุจริตเพื่อช่วยให้การวางมาตรการป้องกันคอร์รัปชันแม่นยำมากยำมากขึ้น โดยเน้นไปที่ข้อมูลของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมชลประทาน ซึ่งเป็น 3 กรมที่มีมูลค่าการก่อสร้างสูงสุด 

ทำให้พบว่า ในหลายจังหวัดมีการจัดซื้อจัดจ้างกระจุกตัวอยู่ที่ผู้ประกอบการไม่กี่ราย โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่แถวตะเข็บชายแดน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่มีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูลน้อย ขณะที่ในกรุงเทพฯ ดูเหมือนว่าจะมีการกระจายตัวสูง แต่เมื่อวิเคราะห์ลึกลงไปบางเขตในกรุงเทพฯ กลับพบว่า ในหลายเขตก็มีการกระจุกตัวของการจัดซื้อจัดจ้างสูง และมีการแบ่งเขตกันอย่างชัดเจนโดยไม่ข้ามเขตกัน ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่มีมูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาท และเมื่อเกิดการกระจุกตัวที่มีการซื้อบ่อยครั้งอาจจะเกิดเป็น “เจ้าประจำ” ที่ผูกขาด 

ซึ่งถ้าเรามองย้อนไปที่วัตถุประสงค์โครงการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง คือการให้เปิดภาคเอกชนเข้ามาแข่งขันเสนอราคาเพื่อให้รัฐได้สินค้าที่มีมาตรฐานในราคาที่ถูกที่สุด แต่การกระจุกตัวหรือการมีเจ้าประจำชนะการประมูลซ้ำ ๆ แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่นั้นไม่มีการแข่งขัน ทำให้รัฐมีตัวเลือกน้อย การประกวดราคาที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นไปได้ยาก และการกระจุกตัวนี้อาจเกิดจากการ “ฮั้ว” หรือตกลงกันระหว่างเอกชนกับเอกชนร่วมกันเสนอราคาที่สูง หรือระหว่างเอกชนกับรัฐที่พยายามขัดขวางไม่ให้เอกชนเจ้าอื่นมาร่วมประมูลด้วย ซึ่งนับว่าเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบและถือเป็นการร่วมกันทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ การกระจุกตัวจึงสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการคอร์รัปชันในพื้นที่นั้น

จะเห็นได้ว่าแค่มี Big Data ก็ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐได้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งนำมาสู่การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ และยิ่งข้อมูลอยู่มากเท่าไรก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ให้กับการต่อต้านคอร์รัปชัน ดังนั้นประเทศไทยจึงควรเร่งพัฒนา Big Data และเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าใช้งาน เพื่อนำสู่ไปการมีส่วนร่วมตรวจสอบคอร์รัปชันหรือการสร้างสรรค์แนวทางแก้ปัญหาคอร์รัปชันใหม่ ๆ ให้กับสังคม

นอกเหนือจากที่กล่าวมา ยังมีเนื้อหาที่กล่าวถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และเนื้อหาอื่น ๆ อีกด้วย โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความวิจัย เรื่อง “แกะรอยผูกขาด ป้องกันทุจริตคอร์รัปชันด้วย Big Dataโดย ภวินทร์ เตวียนันท์ (2560)

#คอร์รัปชัน #ทุจริต #จัดซื้อจัดจ้าง #โครงการรัฐ #รัฐบาล #OpenData #Bigdata #ข้อมูลเปิด #Corruption #KRAC 

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data

Big Data มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ หากใช้งานข้อมูลให้เป็น จะช่วยอุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชันได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริตอาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

You might also like...

KRAC Insight | นโยบายรัฐบาลเปิดของเอสโตเนีย: การสร้างความโปร่งใสของภาครัฐที่ตรวจสอบได้

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกเส้นทาง “รัฐบาลเปิด” ของเอสโตเนีย ตั้งเเต่การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเปิดเพื่อเพิ่มความโปร่งใส พร้อมบทสรุปข้อคิดที่ไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้จริง

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

ในปัจจุบัน การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจีนสมัยใหม่หรือจีนร่วมสมัยในสังคมไทย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเด็นเรื่อง “ทุนจีนเทา”(Grey Capital) นับเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผู้คนต่างก็ให้ความสนใจ เนื่องมาจากความเชื่อมโยงของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของพื้นที่ในสังคมไทยที่ทุนจีนเทาเหล่านี้เข้าไปมีอิทธิพลและดำรงอยู่

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I ชวนรู้จัก TI กับ 6 ประเด็นใหญ่ที่ผลักดันความโปร่งใส ปี 2024

เพราะการต่อต้านคอร์รัปชันต้องสร้างความโปร่งใสชวนดู 6 ประเด็นที่ TI ผลักดันเมื่อปี 2024 ที่ผ่านมา จะมีอะไรบ้าง ? ติดตามอ่านได้ที่นี่เลย