ประเทศหมู่เกาะแคริบเบียนจัดการประชุมระดับภูมิภาคเพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน ! ผ่านการสนับสนุนการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างเข้าใจมนุษย์
สมาคมคณะกรรมการความซื่อสัตย์และหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันในเครือจักรภพแคริบเบียน (the Association of Integrity Commissions and Anti-Corruption Bodies in the Commonwealth Caribbean) และเลขาธิการเครือจักรภพและคณะกรรมการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะของบาฮามาส (Commonwealth Secretariat and the Bahamas Public Disclosure Commission) ได้มีการจัดการประชุมประจำปี 2024 ขึ้น ณ เมืองแนสซอ ประเทศบาฮามาส ในประเด็น “แนวปฏิบัติที่ดีในการบังคับใช้กฎหมายคุณธรรม และการต่อต้านคอร์รัปชันในแคริบเบียน ณ ยุคสมัยแห่งปัญญาประดิษฐ์ (Best Practices in implementing Integrity and Anti-Corruption Laws in the Caribbean in the age of Artificial Intelligence)” ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับความสำคัญของปัญหาการคอร์รัปชัน และข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)
โดยได้มีการออกแถลงการณ์ถึงความสำคัญของปัญหาการคอร์รัปชัน และข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาที่ประเทศสมาชิกในประเทศหมู่เกาะแคริบเบียนต้องปฏิบัติตามในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าสู่สาธารณชน ซึ่งเป็นมติในที่ประชุม ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อต้านคอร์รัปชัน จึงต้องสร้างการดำเนินการร่วมกันและความเห็นพ้องต้องกันในการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
นอกจากนี้ ประเด็นที่มีการเน้นย้ำในการประชุมครั้งนี้คือ “ความสำคัญของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน” จึงได้มีการตกลงให้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยจัดการปัญหาการคอร์รัปชัน และเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ เช่น การให้ความรู้เพื่อการใช้งาน และจัดโครงการประชาสัมพันธ์โดยรัฐเกี่ยวกับการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในการต่อต้านคอร์รัปชันรวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนและให้ความรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์แก่ประชาชนที่สนใจ เพื่อเพิ่มจำนวนประชาชนที่จะมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชัน นอกจากนี้ทางคณะผู้จัดการประชุมยังเรียกร้องให้รัฐบาลแคริบเบียนจัดหางบประมาณที่เพียงพอแก่หน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันในภูมิภาค เพื่อให้การต่อต้านคอร์รัปชันสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ยังชี้ให้เห็นว่าในการดำเนินงานต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศหมู่เกาะแคริบเบียนนอกจากที่จะมุ่งเน้นการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้งานแล้วจะต้องมีการคำนึงถึง “มนุษย์” อีกด้วย ทั้งความเป็นอยู่ พฤติกรรม และวิถีชีวิตของคนในพื้นที่หรือชุมชนต่าง ๆ ที่อาจมีช่องโหว่ซึ่งก่อให้เกิดการคอร์รัปชัน ดังนั้นจึงต้องหาวิธีบูรณาการร่วมกันเพื่อให้เกิดการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันประเทศไทยก็มีการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชัน อย่างเครื่องมือ ACT Ai ซึ่งเป็นเครื่องมือสู้โกงภาคประชาชนที่ใช้ในการตรวจสอบความโปร่งใส และเป็นแหล่งข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยประเทศไทยก็สามารถนำข้อค้นพบจากการประชุมประจำปีของประเทศหมู่เกาะแคริบเบียนมาปรับใช้ได้ เช่น การเรียกร้องให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านการให้ความรู้ และจัดโครงการประชาสัมพันธ์โดยรัฐเกี่ยวกับการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในการต่อต้านคอร์รัปชันและมีการให้ความรู้แก่ประชาชนที่สนใจ เพื่อเพิ่มจำนวนประชาชนที่จะมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งจะช่วยสร้างความตระหนักรู้และลดการคอร์รัปชันในสังคมได้มากขึ้น ผ่านการใช้งาน “ปัญญาประดิษฐ์ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างเชื่อมโยงกับมนุษย์” ตลอดจนการเสริมสร้างความซื่อสัตย์และความโปร่งใสในสังคมไทย
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC The Experience | EP 4 “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”
เปิดเผยข้อมูลแบบโปร่งใสอย่างสุดโต่ง คืออะไร ? วันนี้เรามีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลเปิด (Open Data) มาเล่าให้คุณฟังกับ KRAC The Experience ตอน “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”
KRAC The Experience | EP 2 “What I bring from Thailand to The USA ?”
คุณเคยสงสัยไหมว่าข้อมูลเปิดสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร ? วันนี้เรามีเรื่องราวที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง
KRAC The Experience | EP 1 “เรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านโครงการ Eisenhower Fellowships ”
“KRAC The Experience” คอนเทนต์ใหม่แกะกล่องของ KRAC ! ที่จะพาทุกคนมาเรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการเดินทางไปที่สหรัฐอเมริกา ในโครงการ Eisenhower Fellowships 🌎✈️