KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I iacc 2024 ชี้ การทุจริตและระบบเผด็จการ คือจุดร่วมของภัยคุกคาม ย้ำทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นไปได้ยาก !

เมื่อช่วงวันที่ 18 – 21 มิถุนายน 2567 สภานานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (IACC Council) ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (International Anti-Corruption Conference: IACC) หรือ #IACC2024 ที่เมืองวิลนีอุส โดยมีประเทศลิทัวเนียเป็นเจ้าภาพ

 
การประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 21 ต่อยอดมาจากการประชุม ครั้งที่ 20 เมื่อค.ศ. 2022 โดยการประชุมในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเน้นย้ำและสร้างความต่อเนื่องในการรวมผู้ที่สนใจในการต่อต้านคอร์รัปชันและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจากทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งประกอบไปด้วยภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สื่อมวลชนและสถาบันการศึกษา
 
ลิทัวเนียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติในครั้งนี้ เพราะหลังจากการฟื้นฟูเอกราชเมื่อ ค.ศ. 1990 ลิทัวเนียพยายามต่อสู้กับการทุจริตและคอร์รัปชันมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการผลักดันด้านกลยุทธ์และการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยเพื่อส่งเสริมเสรีภาพ โดยการจัดการประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุม ผ่านการถอดบทเรียนความสำเร็จของประเทศลิทัวเนียและประเทศอื่น ๆ เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน รวมถึงพัฒนาการความเป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพ ซึ่งสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของประเทศตนเองได้
 
ภายในงานมีผู้เข้าร่วมจากองค์กรด้านการต่อต้านคอร์รัปชันและองค์กรอื่น ๆ ทั้งระดับชาติ ภูมิภาคและนานาชาติกว่า 2,000 คน จากประเทศต่าง ๆ กว่า 140 ประเทศ เช่น องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (The Organization for Economic Cooperation and Development: OECD) องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับยุโรป (United Nations Economic Commission for Europe: UNECE)
 

“ภัยคุกคาม” เป็นประเด็นหนึ่งที่มีการพูดถึงในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งมีการกล่าวถึงในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสภาพอากาศ และด้านพลังงานธรรมชาติ ภัยคุกคามเหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงถึงกันและกัน และบ่อนทำลายความมั่นคงของโลกอย่างรุนแรง อีกทั้งยังส่งผลให้ผู้ที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน นักสิทธิมนุษยชน และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดำเนินงานอย่างยากลำบากมากขึ้น เนื่องจากภัยคุกคามเหล่านี้จะนำไปสู่สังคมที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในมิติต่าง ๆ ทั้งอาชญากรรมต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม หากละเลยปัญหาดังกล่าวก็จะทำให้กลุ่มอาชญากรมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น

คุณเดเลีย เฟอร์เรรา รูบิโอ (Delia Ferreira Rubio) ประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติชี้ให้เห็นถึงหนึ่งในจุดร่วมของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นคือ “การทุจริต” และ “ระบบเผด็จการ” ที่กลุ่มผู้กระทำผิดมักใช้เงินเพื่อเลี่ยงการรับโทษ รวมถึงใช้เงินเพื่อสร้างอำนาจ สภา IACC จึงเล็งเห็นว่าควรมีการเรียนรู้ร่วมกันและสร้างความร่วมมือเพื่อการต่อต้านทุจริต
 
การประชุม IACC 2024 นับเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับบุคคลที่สนใจผลักดันด้านนโยบายการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ ไปจนถึงการกำหนดกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามและความท้าทายระดับโลกที่ปรากฏในปัจจุบัน และที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ภายหลังการจัดงานได้มีการเรียกร้องอีกครั้งไปถึงผู้นำโลกที่จำเป็นต้องให้คำมั่นสัญญาในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และดำเนินการด้านต่อสู้กับการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม
 
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการประกาศ “ปฏิญญาวิลนีอุส” ที่แสดงถึงความคาดหวังและความมุ่งมั่นของผู้เข้าร่วมการประชุมทุกคนในการต่อต้านการทุจริต ทั้งการเพิ่มแนวทางการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต (Whistleblower Protection) การปราบปรามอาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อมและการต่อสู้กับการทุจริตในโครงการที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ด้วยการให้รัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมร่วมกันแก้ไขปัญหาผ่านการหาแนวทางในการสร้างนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
 
ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ประสบปัญหาการทุจริตและคอร์รัปชัน ไปจนถึงประสบปัญหาจากภัยคุกคามที่ได้กล่าวข้างต้น ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ในไทยสามารถนำประเด็นจากการประชุม IACC2024 มาพูดคุยและปรับใช้ตามบริบทของสังคมไทย เพื่อเรียนรู้แนวทางใหม่ ๆ ในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน โดยเฉพาะจากประสบการณ์ของลิทัวเนียที่ได้พัฒนาระบบต่อต้านการทุจริตอย่างต่อเนื่องหลังได้รับเอกราชและการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อส่งเสริมเสรีภาพให้กับทุกภาคส่วนที่อาจทำให้มีการเพิ่มขึ้นของการตรวจสอบ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
 

สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถอ่านรายงานฉบับเต็ม ได้ที่ 👉🏻 https://bit.ly/3LJtxLM  

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

มาแล้ว !! โอกาสพัฒนาความรู้สู่การต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

KRAC ชวนทุกคนมาเรียน “หลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย” ที่จะพาผู้เรียนมาทำความเข้าใจกับการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาประยุกต์ไปกับหลายศาสตร์หลากมุมมองและมีตัวอย่างกรณีศึกษาให้เรียนรู้ สอดแทรกไปกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับองค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบัน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : บทเรียนจากตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ

เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในรอบร้อยปีของประเทศไทย ได้สร้างความเสียหายและความสูญเสียในหลายพื้นที่ ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่สูญเสียและทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยครั้งนี้

KRAC Insight | ปฏิรูปวงการพลังงานไทยให้ถึงฝัน ชวนรู้จัก “การแสวงหาค่าเช่า” ในอุตสาหกรรมพลังงานไทย

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกเกี่ยวกับโครงสร้างของอุตสาหกรรมพลังงานไทย และทำความเข้าใจกับค่าเช่าและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การออกแบบแนวทางการปฏิรูปพลังงานที่ความโปร่งใสและยั่งยืนของไทย

KRAC Insight | PEPs: ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ สู่การสร้างข้อมูลเพื่อแก้ไขคอร์รัปชันข้ามชาติ

KRAC ชวนดูข้อเสนอต่อเเนวทางการดำเนินงานตาม PEPs จากทีม Open Data เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของ Data standard และตัวอย่างการใช้ชุดข้อมูล PEPs สำหรับสื่อมวลชน