KRAC Hot News I ถนนไม่ปลอดภัย เพราะปัญหาคอร์รัปชันที่สั่งสม

ก่อนอื่นทางศูนย์ KRAC ต้องขอร่วมแสดงความเสียใจจากอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านี้ นี่เป็นเหตุการณ์สะเทือนใจสำหรับสังคมไทย เพราะเราสูญเสียทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดทั้งในระดับครอบครัว และประเทศ นั่นคือทรัพยากรมนุษย์

 
แน่นอนว่า เหตุการณ์เช่นนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดซ้ำขึ้นมาอีก การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อหาแนวทางป้องกันปัญหาอาจต้องย้อนไปไกลถึงต้นตอ เพื่อให้ประเทศเราไม่หยุดแค่การไล่บี้เจ้าหน้าที่ระดับบุคคลไปตามกรณี แล้วพร่ำบอกแต่ว่า “นี่เป็นปัญหาส่วนบุคคล”
 
ทั้งที่ในข้อเท็จจริงแล้วปัญหาเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน เป็นปัญหาที่มีความทับซ้อนกันหลายเรื่อง ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐไม่กี่คนเท่านั้น แต่นี่เป็นปัญหาโครงสร้างการคอร์รัปชัน ที่ฝังรากลึกมายาวนาน ตั้งแต่การตรวจสภาพรถ มาตรฐานของถนน การกวดขันวินัยจราจร ไปจนถึงการออกใบอนุญาตขับขี่ ฯลฯ
 
แน่นอนว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เพียงความรู้สึกนึกคิดที่ล่องลอยอย่างไร้ที่มา แต่คือข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้จากหลากหลายงานวิจัยที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการคอร์รัปชันกับความปลอดภัยบนท้องถนน
 
ยกตัวอย่างรายงานการวิจัยเรื่องการบรรทุกเกินพิกัด ของคุณทศพล ปิ่นแก้ว และคุณอังคณาวดี ปิ่นแก้ว ในปี 2560 ที่ระบุว่าการที่กฎหมายระบุให้การชั่งน้ำหนักต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจชั่ง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เหล่านี้มีอำนาจเชิงดุลยพินิจมาก ลักษณะเช่นนี้จึงเพิ่มโอกาสในการจ่ายส่วยเมื่อมีการบรรทุกน้ำหนักเกิน ทำให้ประชาชนต้องรับความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยมากขึ้นตามมาด้วย
 
ในขณะที่งานวิจัยของ Marianne Bertrand และทีมในปี 2549 ที่ศึกษาประเด็นการคอร์รัปชันในการออกใบอนุญาตขับขี่ในอินเดีย ผลการศึกษาของพวกเขาสะท้อนให้เห็นว่า ผลิตผลของการคอร์รัปชันในกระบวนการออกใบอนุญาตขับขี่ คือ ถนนที่เต็มไปด้วยผู้ขับขี่ที่ไร้คุณภาพ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน
 
งานวิจัยทั้งจากไทยและอินเดียนี้ เป็นเพียงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เราเห็นว่าความไม่ปลอดภัยบนท้องถนนที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้ มีผลสำคัญมาจากปัญหาการคอร์รัปชันทั้งเล็กและใหญ่จากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
ถ้าวันนี้เราอยากแก้ไขปัญหาเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน และไม่ต้องมาคอยถอดบทเรียนจากความสูญเสียของสังคมอย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ วันนี้คงถึงเวลาแล้ว ที่ทุกภาคส่วนต้องหันมาจัดการปัญหาคอร์รัปชันแบบองค์รวมมากขึ้น เพื่ออนาคตที่ดีของประเทศ และลดชื่อเสียเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทย
 
สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถอ่านข้อมูลงานวิจัยแบบละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ 👉🏻 
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

ผู้จัดการศูนย์ KRAC

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่องการตรวจสอบทรัพย์สินเจ้าหน้าที่รัฐ : บทเรียนจาก 3 ชาติ

ความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชน KRAC จึงอยากชวนมาดูกลไกการตรวจสอบทรัพย์สินของสหรัฐฯ จอร์เจีย และฮ่องกง พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data

Big Data มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ หากใช้งานข้อมูลให้เป็น จะช่วยอุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชันได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริตอาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมครูและสื่อมวลชนถึงมีความสำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน

คุณอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่มุ่งเป้าไปที่การลงโทษนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต แต่เคยได้ยินไหมว่ามีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมไปถึง “ครู” และ “สื่อมวลชน” ด้วย ?

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I แอฟริกาใต้ต่อสู้คอร์รัปชัน กู้คืนทรัพย์กลับประเทศได้อย่างไร ?

เพราะการคอร์รัปชัน ไม่ใช่แค่การตรวจสอบหรือการนำคนผิดมาลงโทษเท่านั้น แอฟริกาใต้จึงเดินหน้าเพื่อต่อสู้ กู้คืนทรัพย์หลายหมื่นล้านจากการคอร์รัปชัน