KRAC Insight | สรุปความร่วมมือเพื่อสร้างความโปร่งใสและการต่อต้านคอร์รัปชันในงาน “SEA-ACN Roundtable Discussion”

จากการจัดงาน “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion” สู่แนวทางเพื่อความโปร่งใสและปราศจากการคอร์รัปชัน จากความร่วมมือที่ดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ !

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2024 ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค หรือ ศูนย์ KRAC ได้จัดการประชุมระดมสมอง ณ ห้อง Chamber โรงแรม S31 Sukhumvit Hotel กรุงเทพฯ ภายใต้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน (SEA-ACN) โดยงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานความร่วมมือด้านยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC – United Nations Office on Drugs and Crime) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย องค์กร Chandler Institute of Governance องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และ HAND Social Enterprise

การประชุมระดมสมองครั้งนี้ เป็นพื้นที่สำหรับเครือข่าย SEA-ACN ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมอง ประสบการณ์ และวางแผนการดำเนินงานต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันเพื่อทำงานร่วมกันในการสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในภูมิภาค ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านการทุจริตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยกิจกรรมในครั้งนี้เริ่มด้วยการกล่าวเปิดงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 4 ท่าน ดังนี้

  1. Ms. Annika Wythes, Regional Anti-Corruption Advisor, United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) Regional Office for Southeast Asia and the Pacific
  2. Ms. Erica Villborg Lindstrand, Programme Specialist, Human Rights, Democracy, Rule of Law & Gender Equality, Embassy of Sweden
  3. Ms. Roshni Nirody Ostergaard, Director, International Narcotics and Law Enforcement Affairs, US Embassy in Thailand
  4. Ms. Cynthia Gabriel, Senior Anti-Corruption Advisor/Consultant for ASEAN Region, Center for International Private Enterpriseจากการกล่าวเปิดงาน

ประเด็นจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 4 ท่าน สรุปได้ว่า การประชุมระดมสมองครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะเล็งเห็นว่าปัญหาทุจริตและคอร์รัปชัน ส่งผลกระทบเชิงลบในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง จึงจำเป็นต้องมีแนวทางการต่อต้าน คอร์รัปชันและกฎหมายที่ควบคุมอย่างชัดเจน ด้วยการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนในลักษณะของเครือข่ายทั้งองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการ และสื่อสารมวลชน ดังเช่นเครือข่าย SEA-ACN

ดังนั้น การประชุมระดมสมองในครั้งนี้จึงถือเป็นการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนและทำงานร่วมกันในภูมิภาคระหว่างองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ และเป็นโอกาสสำคัญในการวางกรอบความร่วมมือและความริเริ่มอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงสามารถต่อยอดการดำเนินงานร่วมกันกับภาคีอื่น ๆ ทั่วโลก ตลอดจนการพัฒนา และสร้างแผนงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเพื่อพัฒนาสังคมโปร่งใสในภูมิภาคต่อไป


โดยภายในงานได้มีการสร้างพื้นที่ให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นสำคัญที่ขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่ายไว้ 4 หัวข้อ ดังนี้

1. การเปิดเผยข้อมูล (Open Data)

ผู้เข้าร่วมได้กล่าวถึงการวางมาตรฐานข้อมูลเปิดในประเด็นเรื่องชุดข้อมูลบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Politically Expose Persons: PEPs) เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน ผ่านการเชื่อมชุดข้อมูลให้เข้าถึงได้ง่าย และสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลระหว่างกันของสมาชิกในเครือข่าย สามารถอ่านสรุปผลการระดมสมองของวงนี้ได้ที่ KRAC Insight | เเค่เปิดเผยข้อมูลอาจไม่พอ (?) เพราะต้องมีการวางให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน !

2. การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Public Procurement)

ผู้เข้าร่วมได้กล่าวถึงการศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการตรวจสอบทางการเงินของภาครัฐ จากกรณีศึกษาประเทศในระดับภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยหาจุดร่วมและข้อแตกต่างของรูปแบบและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของแต่ละประเทศเพื่อสร้างแบบแผนในการประเมินความเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันที่สามารถเกิดขึ้นในขั้นตอนต่าง ๆ สามารถอ่านสรุปผลการระดมสมองของวงนี้ได้ที่ KRAC Insight | ความคลุมเครือในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อาจนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันได้ (?)

3. การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblowing Protection)

ผู้เข้าร่วมได้กล่าวถึงการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวข้อ “การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน (Southeast Asia Whistleblower Summit)” เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสระหว่างประเทศในภูมิภาค และสถานการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสของแต่ละประเทศ และการมีกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส สามารถอ่านสรุปผลการระดมสมองของวงนี้ได้ที่ KRAC Insight | “Whistleblower Summit” อาจทำให้เราไม่ต้องกลัวการเเจ้งเบาะเเสการคอร์รัปชันอีกต่อไป !


4. ความโปร่งใสของภาคธุรกิจ (Business Integrity)

ผู้เข้าร่วมได้กล่าวถึง หลักการการต่อต้านการทุจริตและสร้างเสริมบรรษัทภิบาลในภาคเอกชน และการสร้างความร่วมมือให้เกิดเป็นเครือข่ายของหลายภาคส่วน ทั้งภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อสร้างความกดดันแก่รัฐบาลในภูมิภาคสำหรับการออกกฎหมาย และการบังคับใช้ที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น พร้อมสนับสนุนแนวทางการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สามารถอ่านสรุปผลการระดมสมองของวงนี้ได้ที่ KRAC Insight | บรรษัทภิบาล ศัพท์ไม่ใหม่ที่ควรปรับใช้กับภาคเอกชน !

หลังจากที่ได้มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้ เครื่องมือ และแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน จากผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้ที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันจากหลายประเทศในภูมิภาคทำให้เห็นถึงแนวทางและแผนการดำเนินงานในการพัฒนาการต่อต้านคอร์์รัปชันในภูมิภาคที่จะขับเคลื่อนโดย UNODC ศูนย์ KRAC และหน่วยงานต่าง ๆ ในเครือข่าย ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชันระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไปในอนาคต

ถึงแม้ว่าการประชุมระดมสมองในครั้งนี้จะจบลงไปแล้ว… แต่ศูนย์ KRAC จะมาสรุปประเด็นจาก 4 วงสนทนามาให้ผู้ที่สนใจได้ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไปด้วยกัน โดยสามารถติดตามได้ที่ Facebook KRAC Corruption ต่อไปได้เลย !

สรุปการประชุม Roundtable Discussion ของเครือข่าย "SEA-ACN"
From “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion” to guidelines for transparency and corruption-free by good cooperation in Southeast Asia!
 
On June 8, 2024, Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration (KRAC) organized a roundtable discussion at the Chamber Room, S31 Sukhumvit Hotel, Bangkok. This event was under the collaboration network of the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) and supported by United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC).
 
This marked the gathering of SEA-ACN to promote joint efforts in fostering transparency and accountability in the region, in line with United Nations Convention against Corruption (UNCAC). It provided a platform for exchanging knowledge, perspectives, experiences, and planning anti-corruption strategies among relevant anti-corruption agencies in the region. This strengthened cooperation and established a robust alliance to combat corruption in Southeast Asia effectively.
 
The roundtable discussion commenced with opening remarks by four distinguished speakers:
  1. Ms. Annika Wythes Regional Anti-Corruption Advisor, United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) Regional Office for Southeast Asia and the Pacific
  2. Ms. Erica Villborg Lindstrand Programme Specialist, Human Rights, Democracy, Rule of Law & Gender Equality, Embassy of Sweden
  3. Ms. Roshni Nirody Ostergaard Director, International Narcotics and Law Enforcement Affairs, US Embassy in Thailand
  4. Ms. Cynthia Gabriel Senior Anti-Corruption Advisor/Consultant for ASEAN Region, Center for International Private Enterprise
The opening remarks underscored that the roundtable discussion aimed to bolster regional cooperation in Southeast Asia against corruption, recognizing the adverse impacts of corruption in various aspects. They emphasized the need for clear anti-corruption guidelines and laws, requiring the participation of multiple sectors, including government, civil society organizations, academia, and the media, to combat corruption. The session thus created an exchange platform for regional collaboration and provided an opportunity to establish a cooperative framework for addressing corruption issues, potentially extending to global partnerships for practical and actionable anti-corruption plans to develop a transparent society in the region.
 
The event included discussions on four key topics:
  1. Open Data: Participants discussed setting standards for open data to ensure uniform access, facilitating the easy exchange of data sets among network members.
  2. Public Procurement: The discussion covered studying public procurement processes and financial audits, comparing and analyzing the commonalities and differences among countries, and creating risk assessment models for potential corruption.
  3. Whistleblowing Protection: Participants exchanged best practices for protecting whistleblowers across the region and discussed the current state of whistleblower protection in different countries, highlighting its importance.
  4. Business Integrity: This session addressed anti-corruption principles and corporate governance in the private sector, emphasizing collaboration among private and civil society sectors to pressure governments for stricter laws and support actionable anti-corruption strategies.
The knowledge exchange among experts, academics, and anti-corruption practitioners from various countries in the region revealed pathways and operational plans for advancing regional anti-corruption efforts, driven by UNODC, KRAC, and network agencies. This collaboration aims to sustain anti-corruption efforts among civil society organizations in Southeast Asia in the future.
 
Although the roundtable discussion has concluded, KRAC will summarize key points from the four discussion groups for those interested to learn and share their thoughts. Follow these updates on Facebook at KRAC Corruption
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
10 กรกฎาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น