KRAC Insight | ความคลุมเครือในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อาจนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันได้ (?)

แก้ไขปัญหาการทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างไรให้ยั่งยืน ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้จากงาน “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”

งานนี้จัดขึ้นโดยศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (KRAC) สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือด้านยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC – United Nations Office on Drugs and Crime) องค์กร Chandler Institute of Good Governance และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

การประชุมระดมสมองครั้งนี้ เป็นพื้นที่สำหรับเครือข่าย SEA-ACN ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมอง ประสบการณ์ และวางแผนการดำเนินงานต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันเพื่อทำงานร่วมกันในการสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในภูมิภาค ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านการทุจริตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากการประชุมระดมสมอง (Roundtable Discussion) ในหัวข้อ “การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Public Procurement)” ที่เน้นในเรื่องของความซื่อสัตย์และความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ถึง 8 หน่วยงาน ได้แก่
 
1. Core Group Transparency/ PWYP-Timor-Leste (CGT/PWYP-TL)
2. Government Watch (G-Watch)
3. Indonesia Corruption Watch
4. Open Contracting Partnership
5. Transparency International Cambodia
6. People’s Empowerment Foundation
7. Center to Combat Corruption & Cronyism (C4 Center)
8. Anti-Corruption Organization of Thailand (ACT)
กลุ่มผู้เข้าร่วมได้นำเสนอประเด็น “กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการตรวจสอบทางการเงินของภาครัฐ จากกรณีศึกษาประเทศในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เนื่องจากกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐของประเทศในภูมิภาคยังคงมีความคลุมเครือจากการมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอสำหรับการตรวจสอบ และติดตามในหลายโครงการฯ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้
 
กลุ่มผู้เข้าร่วมมีความเห็นว่าในการทำการศึกษารูปแบบและการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควรหาจุดร่วม และข้อแตกต่างของรูปแบบ รวมถึงกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างของแต่ละประเทศ เพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ สู่การสร้างแบบแผนในการประเมินความเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันที่สามารถเกิดขึ้นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนต่าง ๆ ในภาพรวมของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการฯ
 
นอกจากนี้ ในการเสริมสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงาน กลุ่มผู้เข้าร่วมได้เสนอแนะให้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างสมาชิกเครือข่ายควบคู่ไปด้วย เพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมสำหรับการปรับปรุงการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
 
การศึกษาประเด็นดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคในการให้ข้อมูล พร้อมทั้งสำรวจความเห็นเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จากภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ดังนั้น หลังจากได้แบบแผนปฏิบัติการในจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสแล้ว ควรมีการจัดการประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์การนอกภาครัฐ (Non-Governmental Organization: NGO) เพื่อนำเสนอแผนปฏิบัติการและรับข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาและบังคับใช้ต่อไป
 
นี่เป็นเพียง 1 ใน 4 หัวข้อจากการประชุมระดมสมองในครั้งนี้ ที่ศูนย์ KRAC จะนำประเด็นต่อไปจากวงสนทนามาให้คุณร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสัปดาห์ถัดไป ! ติดตาม Facebook KRAC Corruption ไว้ได้เลย !
สรุปการประชุม Roundtable Discussion ของเครือข่าย "SEA-ACN"
How to solve the problem of corruption in government procurement projects with sustainability? Today, we have answers from the “Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion.”
 
This event was organized by Knowledge Hub for Regional Anti-corruption and Good Governance Collaboration (KRAC), Faculty of Economics, Chulalongkorn University supported by the National Research Council of Thailand (NRCT) in collaboration with the United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC), The Chandler Institute of Good Governance, and the U.S. Embassy in Thailand.
 
During the Roundtable Discussion on “Public Procurement,” representatives from eight organizations participated, including:
 
1. Core Group Transparency/ PWYP-Timor-Leste (CGT/PWYP-TL)
2. Government Watch (G-Watch)
3. Indonesia Corruption Watch
4. Open Contracting Partnership
5. Transparency International Cambodia
6. People’s Empowerment Foundation
7. Center to Combat Corruption & Cronyism (C4 Center)
8. Anti-Corruption Organization of Thailand (ACT)
 
The participants highlighted issues related to “public infrastructure procurement processes and financial audits of the public sector, based on case studies from Southeast Asian countries.” The lack of sufficient information for auditing and tracking many projects has led to potential corruption issues.
 
The participants agreed to study the public procurement models and processes of various countries in Southeast Asia to find commonalities and differences. This comparative analysis aims to create a framework for assessing corruption risks that can arise at different stages of the procurement process.
 
To ensure continuity, the participants proposed holding workshops among network members to develop concrete action plans for improving procurement planning.
 
This study requires cooperation from the governments of various countries in the region to provide information. It also needs feedback on public procurement projects from civil society and the public. Therefore, after developing a transparent procurement action plan, a joint meeting with stakeholders, including government agencies and non-governmental organizations (NGOs), should be held to present the plan and gather feedback for further development and implementation.
 
This is one of the topics from this roundtable discussion. What will the next topic be? Follow us on Facebook KRAC Corruption to join the conversation!
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
23 กรกฎาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก “3 พันธมิตร” ต้นตอของการคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ หมายถึงโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณตั้งแต่ 1 พันล้านบาทขึ้นไป หรือที่เรามักได้ยินว่า “เมกะโปรเจกต์” (Mega Project) และด้วยการที่เป็นโครงการที่มีงบประมาณจำนวนมาก การทุจริตในโครงการประเภทนี้จึงสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับงบประมาณประเทศ

You might also like...

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

การประเมินจริยธรรมของนักการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริยธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น