KRAC The Experience | EP 4: Paradoxes of Transparency: Transparency Amidst Restrictions

เมื่อระเบียบอาจกลายเป็นอุปสรรคสำหรับการเปิดเผยข้อมูล แล้วจะต้องแก้ไขอย่างไร ? วันนี้เรามีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลมาเล่าให้คุณฟังกับ KRAC The Experience ตอน “Paradoxes of Transparency: Transparency Amidst Restrictions”

ในบทความก่อนหน้านี้ของ “KRAC The Experience” เราได้พาทุกท่านไปสำรวจเมืองและประเทศต่าง ๆ ที่มีการใช้ข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อการพัฒนาประเทศในหลากหลายมิติ จากการเดินทางของ ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) ที่ได้รับทุน Eisenhower Fellowships 2024 และในครั้งนี้เราจะพาทุกท่านไปดูอีกหนึ่งเมืองที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะมีประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลเปิดที่มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย



โดยเมืองที่เรากำลังพูดถึงคือ “รัฐเซาท์ดาโคตา (South Dakota)” เนื่องจากกฎหมายภายในรัฐให้ความสำคัญกับประเด็น “การปิดข้อมูลส่วนบุคคล” เช่น การคุ้มครองข้อมูลทางการเงินของประชาชน การไม่เปิดเผยบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเป็นแนวทางที่คล้ายคลึงกับกฎหมายของประเทศไทยที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูลประเภทดังกล่าวให้ “เป็นความลับ” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองประเทศมีกฎระเบียบที่คล้ายคลึงกันภายใต้ความพยายามในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของประชาชนเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิและการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด

อย่างไรก็ตาม รัฐเซาท์ดาโคตาและประเทศไทยก็ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่ในประเด็น “ขอบเขตของการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส” ที่แม้ว่าในเซาท์ดาโคตามีกฎหมายปิดข้อมูลในระดับที่เข้มงวดเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ก็มีกลไกการเปิดเผยข้อมูลบางอย่างที่จำเป็นต่อการตรวจสอบความโปร่งใสในระบบราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ รายงานการตรวจสอบ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ จากกฎหมายของสหรัฐอเมริกาอย่างพระราชบัญญัติข้อมูลเปิดรัฐบาล (Open Government Data Act) ที่มีการกำหนดเอาไว้ให้ใช้เป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบความโปร่งใสของการดำเนินงานได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ในปัจจุบันรัฐเซาท์ดาโคตายังมีการผลักดัน “The South Dakota Sunshine Law” ซึ่งเป็นชุดกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อรับรองว่าประชาชนสามารถเข้าถึงบันทึกสาธารณะและข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่เก็บรักษาโดยหน่วยงานของรัฐในเซาท์ดาโคตาได้ ไม่ว่าบันทึกสาธารณะและข้อมูลของหน่วยงานรัฐจะมีรูปแบบการจัดเก็บอย่างไรก็ตาม ในขณะที่ประเทศไทยยังคงมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลภาครัฐอยู่มาก เช่น แบบฟอร์มที่ใช้เพื่อขอเข้าถึงข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หรือข้อมูลบัญชีทรัพย์สินหนี้สินบนเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. ที่มีระยะเวลาในการเปิดเผยข้อมูลเพียง 180 วัน โดยหลังจากครบกำหนดเปิดเผยแล้ว จะไม่สามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ เป็นต้น

ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลระหว่างเซาท์ดาโคตาและประเทศไทยจึงเป็น “ความเหมือนที่แตกต่าง” ซึ่งอาจเป็นเพราะกฎหมายในรัฐเซาท์ดาโคตาและสหรัฐอเมริกาไม่มีข้อกำหนดที่ซับซ้อนหรือยุ่งยากเหมือนในประเทศไทย อีกทั้งการลดระเบียบต่าง ๆ ของรัฐเซาท์คาโดตา ที่ช่วยให้ระบบราชการทำงานได้อย่างโปร่งใส รวมถึงช่วยลดความล่าช้าและความยุ่งยากในการเข้าถึงข้อมูล ทั้งนี้เพื่อรักษาความโปร่งใส ผ่านการทำให้ข้อมูลภาครัฐเปิดเผยต่อสาธารณะ และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยลดการทุจริตและเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย

ขณะที่กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลเปิดในประเทศไทยมักมีความซับซ้อนและยุ่งยาก เช่น ระบบราชการที่มีลำดับขั้นตอนหลายขั้นส่งผลให้กว่าข้อมูลจะถึงมือประชาชนก็อาจเป็นข้อมูลที่เก่าแล้ว และข้อมูลบางชุดที่ควรเปิดเผยได้ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ แต่หน่วยงานกลับใช้ข้อกำหนดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อปิดกั้นการเปิดเผยนั้น ๆ จนเหมือนว่าระบบกฎหมายของรัฐไทยเต็มไปด้วยรายละเอียดเล็กน้อยที่สร้างความลำบากให้แก่ผู้ที่พยายามปฏิบัติตาม จนเกิดเป็นช่องว่างให้การทุจริตสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลรัฐได้ยากมากขึ้น ส่งผลให้การตรวจสอบความโปร่งใสเป็นไปอย่างล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การทุจริตในระบบราชการจากกฎหมายที่ซับซ้อนที่ทำให้เกิดความสับสนและเป็นช่องทางให้ผู้ที่มีอำนาจหลีกเลี่ยงการตรวจสอบได้


ในครั้งนี้อาจารย์ต่อภัสสร์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปรับใช้ข้อมูลเปิด (Open Data) ในรัฐเซาท์ดาโคตาที่มีทั้งความเหมือนและแตกต่าง ในครั้งต่อไปจะเป็นประเด็นอะไร ? ติดตามต่อได้ใน “KRAC The Experience” เพื่อร่วมเรียนรู้การนำข้อมูลเปิดมาใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชันไปด้วยกัน

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
18 พฤศจิกายน 2567
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data

Big Data มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ หากใช้งานข้อมูลให้เป็น จะช่วยอุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชันได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

KRAC The Experience | เรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านโครงการ Eisenhower Fellowships

“KRAC The Experience” คอนเทนต์ใหม่แกะกล่องของ KRAC ! ที่จะพาทุกคนมาเรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการเดินทางไปที่สหรัฐอเมริกา ในโครงการ Eisenhower Fellowships 🌎✈️

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption