KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ? ” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน “Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption” 

ความเดิมตอนที่แล้วของ “KRAC The Experience” เราได้พาทุกท่านไปดูแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่ให้ภาคการศึกษาเป็นผู้รันวงการต่อต้านคอร์รัปชัน จากการเดินทางของ ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) ที่ได้รับทุน Eisenhower Fellowships 2024 แล้วภาคประชาสังคมต่าง ๆ ที่ทำงานต่อต้านคอร์รัปชันควรมีแนวทางการทำงานอย่างไร ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้  

 

หนึ่งในแนวทางการต่อต้านการทุจริตในสหรัฐอเมริกา (United State of America: USA) ที่มีความน่าสนใจคือ “รูปแบบการทำงาน” เนื่องด้วยในสหรัฐฯ มีองค์กรที่แตกต่างและหลากหลาย แต่ก็ทำงานร่วมกันได้ผ่านการทำงานในลักษณะของเครือข่าย (Network) ที่สร้างความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เนื่องด้วยมีเป้าหมายร่วมกันอันได้แก่ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
 
โดยเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันในสหรัฐฯ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนอยู่เสมอระหว่างองค์การด้วยระบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการประชุมออนไลน์และการสื่อสารผ่านอีเมล เพื่อพูดคุยหรือถกเถียงเกี่ยวกับเครื่องมือและแนวทางใหม่ ๆ ในการต่อต้านคอร์รัปชันที่อาจนำไปสู่การพัฒนาของสิ่งนั้น ๆ ได้ โดยแนวทางดังกล่าวไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เกิดการพัฒนารูปแบบของการต่อต้านคอร์รัปชันที่สามารถนำมาปรับใช้ในไทยได้
 
นอกจากการทำงานแบบออนไลน์แล้ว ในสหรัฐฯ ยังมีพื้นที่ที่ส่งเสริมการทำงานในรูปแบบออฟไลน์อย่างเช่น Open Gov Hub ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C.) ซึ่งเป็นศูนย์รวมองค์กรที่ทำงานด้านความโปร่งใส (Transparency) การส่งเสริมธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance) และการต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption) ซึ่งพื้นที่ลักษณะดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้องค์กรอื่น ๆ และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายประเทศได้มาแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ รวมถึงการสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติ
 
การมีพื้นที่ออฟไลน์เช่นนี้ช่วยให้เกิดการสนทนาและการประสานงานที่ทำให้แต่ละองค์การสามารถทำงานกันได้อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ซึ่งตอบสนองต่อเป้าประสงค์ของ Open Gov Hub ที่ต้องการสร้างพื้นที่เพื่อการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันที่จะนำไปสู่สังคมที่มีความโปร่งใส มีรัฐที่มีความรับผิดชอบ และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เพิ่มมากขึ้น จากการร่วมกันพัฒนาเครื่องและแนวทางต่าง ๆ ของแต่ละองค์การ นอกจากนี้ Open Gov Hub หรือการมีพื้นที่ที่เปิดให้องค์การต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันซึ่งยังเป็นการช่วยให้องค์การกว่า 90 แห่งประหยัดเงินได้มหาศาลในแต่ละปีที่ทำให้มีรายได้มากขึ้นจากการลดค่าใช้จ่าย
 
ทั้งหมดนี้ทำให้องค์การที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในสหรัฐฯ สามารถพัฒนาเครื่องมือ แนวทาง กลยุทธ์ และนโยบายในการต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนจากการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าวที่นำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมและโครงสร้างที่รับรองการทำงานต่อต้านคอร์รัปชัน
 
อย่างไรก็ตามเมื่อมองย้อนมายังประเทศไทย จะพบว่ามีการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ที่ทำงานด้านการต่อต้านการทุจริตอยู่บ้าง แต่ยังขาดพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายอย่างเป็นระบบ เนื่องจากมักเป็นการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ในการจัดงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าที่จะทำงานร่วมกันอย่างเป็นเครือข่าย
 
อีกทั้งยังขาดพื้นที่กลางที่สามารถให้องค์การต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายมาทำงานร่วมกันได้เหมือน Open Gov Hub ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การต่าง ๆ เพราะการมีพื้นที่ที่ส่งเสริมการเชื่อมโยงและการทำงานในลักษณะของเครือข่ายจะช่วยส่งเสริมให้การต่อสู้กับการคอร์รัปชันในประเทศไทยมีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
 

ในครั้งนี้เราจะเห็นว่านอกจากการมีอยู่ขององค์การหรือภาคส่วนต่าง ๆ ในการทำงานต่อต้อนคอร์รัปชันแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญคือ “การทำงานร่วมกัน” ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพจากการพูดคุยแลกเปลี่ยน ตลอดจนโครงสร้างที่ตอบสนองการทำงานเป็นเครือข่าย แล้วในตอนถัดไปจะเป็นเรื่องอะไร ? ติดตามต่อได้ใน “KRAC The Experience” เพื่อร่วมเรียนรู้การนำข้อมูลเปิดมาใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชันไปด้วยกัน

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
12 มกราคม 2568
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ในการสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สร้างความสำเร็จในหน่วยงานด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตามแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีตัวอย่าง 6 หน่วยงานรัฐไทยที่ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จในการสร้างธรรมาภิบาล…ปัจจัยความสำเร็จเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ? และผลลัพธ์ของการมีธรรมาภิบาลจะเป็นเช่นไร ? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน