VEZA จับตาการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจสอบร้องเรียนได้อย่างปลอดภัย

ถ้าตำรวจเรียกรับสินบน คนธรรมดาที่ไหนจะกล้าร้องเรียน เมื่อผู้รักษากฎหมาย (บางคน) ใช้อำนาจในทางที่ผิด เรียกรับผลประโยชน์เข้าตนเอง ประชาชนก็ต้องร้องเรียนได้อย่างปลอดภัย

Veza เป็นแพลตฟอร์มรายงานการทุจริตคอร์รัปชันของตำรวจ และการใช้อำนาจในทางที่ผิดโดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน เพื่อให้ประชาชนรายงานการทุจริตของเจ้าหน้าที่และประเมินการปฏิบัติงานเพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลแบบ open source ในการเฝ้าระวังการคอร์รัปชัน

มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างกลไกความรับผิดชอบและความโปร่งใสในการปฎิบัติงานของตำรวจ โดยมี 4 ฟีเจอร์ให้ผู้ใช้งานได้ร่วมระดมข้อมูล ได้แก่

  1. Report police corruption รายงานการทุจริตของตำรวจซึ่งระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์เพื่อเปิดเผยสถานที่เกิดเหตุโดยระบบจะแจ้งจุดเกิดเหตุไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งเผยแพร่บนเว็บไซต์ทันที ช่วยให้ประชาชนสามารถป้องกันและรับมือกับการถูกเรียกรับสินบนได้จากไอคอนที่แสดงผลในแผนที่
  2. Know Your Rights รวบรวมสิทธิและข้อมูลจำเป็นเพื่อรับมือกับการถูกละเมิดจากเจ้าหน้าที่ เช่น ปฎิเสธจ่ายสินบน ค่าปรับ หรือขอบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  3. Know Your Police Station รวบรวมข้อมูลสถานีตำรวจทั่วประเทศเช่น เจ้าหน้าที่ งบประมาณ ทรัพยากรและการให้บริการ Rate Your Police Station ร่วมให้คะแนนสถานีตำรวจจากประสบการณ์ที่ได้รับตามหัวข้อ เช่น ระยะเวลาในการตอบสนองเหตุด่วนเหตุร้าย ความเป็นมืออาชีพในการดำเนินงาน
  4. Nominate an officer เสนอชื่อเจ้าหน้าที่ที่มีจริยธรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความซื่อสัตย์ในการรับราชการตำรวจ ปัจจุบันอยู่ระหว่างทดลองใช้กับสถานีตำรวจกว่าพันแห่งในประเทศ

ผู้ใช้งานสามารถรายงานการทุจริตได้ที่เว็บไซต์ Veza ในฟังก์ชั่น Report โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ในระบบจะมีฟอร์มให้กรอกรายละเอียดด้วยการเลือกตามหัวข้อเพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ใช้งานและการประมวลผลเพื่อส่งต่อรายงานได้ทันที ซึ่งผู้ใช้งานต้องระบุรายละเอียด เช่น เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน เวลาอะไร ระบุตำแหน่งที่เกิดเหตุโดยการเลื่อนแผนที่หรือใช้ตำแหน่งปัจจุบันของผู้รายงาน เลือกประเภทคอร์รัปชัน เขียนอธิบายเหตุการณ์ เลือกสถานีตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ เลือกยศหรือตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังจากนั้นเป็นการกรอกข้อมูลของผู้รายงาน เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ

เมื่อรายงานเสร็จแล้วจะถูกส่งเข้าระบบและขึ้นเป็น Hotspot บนแผนที่ในไอคอนรายงาน ประชาชนสามารถกดเข้าไปดูรายงานในจุดต่าง ๆ ได้และกดดูข้อมูลสถานีตำรวจที่อยู่ในบริเวณจุดแจ้งเหตุได้ โดยระบบจะสรุปรายงานประเภทของคอร์รัปชันหรือการละเมิดที่ประชาชนแจ้งเข้ามาในพื้นที่ไว้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ให้ประชาชนเข้าไปให้คะแนนสถานีตำรวจได้ด้วยเพื่อประเมินความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ปัจจุบัน มีรายงานการทุจริตคอร์รัปชันส่งเข้าระบบ 81 เรื่อง ข้อมูลที่ได้รับผ่านแบบฟอร์มการรายงานนี้จะใช้ในการวิเคราะห์และระบุรูปแบบและแนวโน้มโดยรวมของการทุจริตคอร์รัปชันของตำรวจทั่วประเทศได้

🚩 Veza – Report police corruption and help us fight for transparency in SAPS
ประเทศ : แอฟฟริกาใต้
ประเภทเครื่องมือ : Report Corruption
ผู้จัดทำเครื่องมือ : Corruption Watch

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ลดปัญหาการทุจริตจากภาครัฐ ด้วยการเฝ้าระวังจากประชาชนผ่านทางออนไลน์

เห็นเจ้าหน้าที่รัฐแอบคอร์รัปชัน ทำไงดี!!! เมื่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน อาจจะไม่ใช่แค่การไปจับคนโกงเท่านั้น แค่เราช่วยจับตาดู รู้เบาะแส แล้วก็บอกข้อมูลแค่นี้ ก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาการคอร์รัปชันได้

VEZA จับตาการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจสอบร้องเรียนได้อย่างปลอดภัย

ถ้าตำรวจเรียกรับสินบน คนธรรมดาที่ไหนจะกล้าร้องเรียน เมื่อผู้รักษากฎหมาย (บางคน) ใช้อำนาจในทางที่ผิด เรียกรับผลประโยชน์เข้าตนเอง ประชาชนก็ต้องร้องเรียนได้อย่างปลอดภัย

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้