การศึกษากลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย

เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนและภาคประชาชนในการช่วยกันป้องกัน และตรวจสอบปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษากลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ (Non-governmental organizations -NGOs) ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนําผลการศึกษาไปใช้ในการสร้างเสริมและสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนและภาคประชาชนในการช่วยกันป้องกันและตรวจสอบปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาศึกษามีทั้งหมด 6 องค์กร ได้แก่ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันประเทศไทย (ACT) ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของชาติ (ภตช.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency Thailand) และมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าองค์กรภาคประชาสังคม (NGOs) ที่มีบทบาทในการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะของบทบาท ได้เเก่ องค์กรที่เน้นการป้องกัน และองค์กรที่เน้นการตรวจสอบ ซึ่ง NGOs ที่ศึกษาเกือบทั้งหมด เน้นบทบาทในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งที่เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจ เช่น องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด และการเสนอมาตรการป้องกันการทุจริตในภาครัฐแก่รัฐบาล เช่น การที่ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ผลักดันข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ และผู้ต้องการเข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐว่าจะไม่มีการเรียกรับเงินสินบน หรือเปิดเผยข้อมูลสําคัญของโครงการในทุกกระบวนการ เป็นต้น
  • ผลจากการศึกษา พบว่ากลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยเกือบทุกองค์กรอาศัยการสร้างเครือข่าย เป็นเครื่องมือสําคัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวของกลุ่ม อีกทั้ง ขนาดของกลุ่มและความหลากหลายของสมาชิกในกลุ่มอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางานของกลุ่มด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ซึ่งมีเครือข่ายสมาชิกมากที่สุดในกลุ่ม NGOs ที่ศึกษา และมีผลงานเชิงประจักษ์มากที่สุด เช่น โครงการข้อตกลงคุณธรรม ใบอนุญาตยิ้ม และพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นผลงานที่ได้รับการตอบรับและพิจารณาจากรัฐบาล
  • ผลจากการศึกษา พบข้อจํากัดที่ NGOs ทุกกลุ่มต่างเผชิญเหมือนกัน คือ ข้อจํากัดด้านทรัพยากร ทั้งในเชิงเงิน บุคลากร และสิ่งของ นอกจากนี้ ยังมีข้อจํากัดในด้านขอบเขตการดําเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มจะใช้สายสัมพันธ์ กับ ผู้มีชื่อเสียงและอิทธิพลในสังคม เป็นตัวเชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือขึ้นได้ และข้อจำกัดด้านการขาดการติดตาม และประเมินประสิทธิภาพในการดําเนินงานของกลุ่มเอง โดยในองค์กรที่เลือกศึกษา มีเพียงองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทยเท่านั้น ที่มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานในโครงการโตไปไม่โกง อย่างไรก็ดีขอบเขตและกลุ่มเป้าหมายในการประเมิน ยังถือว่าค่อนข้างจํากัด
  • คณะผู้วิจัย ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อความร่วมมือกับภาคส่วนอื่น ๆ ในการส่งเสริมบทบาทของกลุ่ม NGOs ที่ทําหน้าที่ต่อต้านคอร์รัปชัน สรุปได้ ดังนี้ 
    1. ภาครัฐอาจมีกลไกสนับสนุนด้านการเงินแก่กลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ เพื่อใช้ในการดําเนินงานต่อต้านคอร์รัปชัน และควรมีระบบติดตามตรวจสอบการใช้เงินให้ตรงตามวัตถุประสงค์ รวมถึงพิจารณาให้ความน่าเชื่อถือ (credit) แก่กลุ่ม NGOs เหล่านี้ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันด้วย
    2. องค์กรที่มีหน้าที่ในการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นทางการ เช่น สํานักงาน ป.ป.ช. และสํานักงาน สตง. ควรทำงานร่วมกับกลุ่ม NGOs โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อให้การตรวจสอบกรณีทุจริตทำได้เร็วขึ้น 
    3. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวกับคอร์รัปชัน สามารถร่วมมือกับกลุ่ม NGOs ในแง่การให้ข้อมูล และส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูล เพื่อนําข้อมูลงานวิจัยไปใช้ประกอบการเคลื่อนไหวและจัดกิจกรรมของกลุ่มในอนาคต
  1.  
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

บุญวรา สุมะโน เจนพึ่งพร, เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และนิสากร เลิศพัชรานนท์. (2558). การศึกษากลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2558
ผู้แต่ง
  • บุญวรา สุมะโน เจนพึ่งพร
  • เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
  • นิสากร เลิศพัชรานนท์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้