ใช้เทคโน for say no to Corruption

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุนในการต่อต้านการคอร์รัปชัน ช่วยเพิ่มโอกาสของประชาชนในการรายงานการทุจริต และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับติดตามความเสี่ยงของการเกิดการคอร์รัปชัน ซึ่งในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเปิดเผยข้อมูล และการออกแบบช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในสังคม

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชัน เนื่องจากช่วยลดต้นทุนในการต่อต้านการคอร์รัปชัน ช่วยเพิ่มโอกาสของประชาชนในการรายงานการทุจริต การติดตามการทำงานของรัฐ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับติดตามความเสี่ยงของการเกิดการคอร์รัปชัน

โดยจะเห็นได้จากบทบาทของ Data Technology ต่าง ๆ เช่น Big Data, Data Analytics และ Machine Learning ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนางานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันด้วยการผนวกเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมที่สะดวกขึ้น และเพิ่มมิติใหม่ให้กับการรายงานการทุจริตคอร์รัปชันที่มีลักษณะของการระดมเครือข่ายผ่านทางออนไลน์ โดยผู้รายงานไม่ต้องใช้เวลานานในการเข้าสู่กระบวนการ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน และเผชิญความเสี่ยงในการต่อสู้อย่างลำพังเหมือนในอดีต และเนื่องจากเทคโนโลยีและการเปิดเผยข้อมูลได้เข้ามาช่วยลดต้นทุนทั้งในแง่ของการหาข้อมูล และในแง่ของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือซึ่งทำให้การเข้าถึงรายงาน รูปภาพ หรือวิดีโอที่ใช้เป็นหลักฐานการทุจริตทำได้โดยสะดวกมากกว่าแต่ก่อน จึงนำไปสู่การมีพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนเข้าถึงได้

ในปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศ ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนและพัฒนาระบบการทำงาน และเสริมสร้างความโปร่งใส รวมถึงลดการทุจริตคอร์รัปชันในกระบวนการต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ประกอบด้วย (1) การใช้เทคโนโลยีเพื่อเปิดเผยข้อมูล (Open Data) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกในการไหลเวียนของข้อมูล รวมถึงอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ เพื่อสร้างความโปร่งใสอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการป้องกันคอร์รัปชัน ลดการประพฤติผิดของข้าราชการ และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และ (2) การใช้เทคโนโลยีในการออกแบบช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน (Citizen Feedback System) โดยพัฒนาระบบการจัดการข้อร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น การบริการสาธารณะ การกำกับติดตามโครงการของภาครัฐ หรือการรายงานเรื่องการเรียกรับสินบน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงระบบ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาล

ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนกลไกการต่อต้านคอร์รัปชัน จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชัน ในการพัฒนาวิธีการตรวจจับ ป้องกัน และวิเคราะห์ความเสี่ยงของการเกิดการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดต้นทุนในการมีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในสังคมอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
มีนาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

ใช้เทคโน for say no to Corruption

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุนในการต่อต้านการคอร์รัปชัน ช่วยเพิ่มโอกาสของประชาชนในการรายงานการทุจริต …

How to ต่อต้านคอร์รัปชันในไทยให้ได้ผล Round 2 : ข้อมูลและเครือข่ายเพื่อทำลายการคอร์รัปชัน

ในการที่จะสร้าง “วัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน” ที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทยนั้น นอกเหนือจากการทำความเข้าใจกลไกในระดับพื้นที่แล้ว ยังต้องศึกษาถึงกลไกสนับสนุนที่จะเข้ามาช่วยหนุนเสริมการต่อต้านคอร์รัปชันให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ …

You might also like...

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

บทความวิจัย : นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน

การศึกษาสาเหตุของปัญหาคอร์รัปชันและการให้สินบน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ การปรับทัศนคติของสังคม และโครงสร้างทางอำนาจของรัฐ