การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคมไทย

เพื่อศึกษาถึงความบกพร่องของความซื่อตรง และจัดทำตัวชี้วัดความซื่อตรงสังคมไทย พร้อมทั้งหาแนวทางเสริมสร้างความซื่อตรงให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม และนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์จริงของประเทศไทย

คณะผู้วิจัย ได้นำหลักราชการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบรมราโชวาท เพื่อปลูกฝังความซื่อตรง ซื่อสัตย์ คุณธรรม จริยธรรมของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 รวมถึงแนวทางการเสริมสร้างความซื่อตรงแห่งชาติมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อดำเนินงานเรื่องนี้เป็นประเทศแรก มาใช้เป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้

โดยได้สำรวจวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกับการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ และการประชุมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย หลังจากนั้น จึงนำข้อมูลที่ได้รับ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผล และจัดทำเป็นตัวชี้วัดความซื่อตรง และแผนความซื่อตรงแห่งชาติ

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าสังคมไทยมีปัญหา และมีความบกพร่องในเรื่องความซื่อตรงอยู่ในทุกภาคส่วน โดยที่ความไม่ซื่อสัตย์ ซื่อตรงของผู้นำ หรือบุคลากรทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ถูกสะท้อนสู่สังคมสาธารณะมากกว่าคนทั่วไป ในขณะที่บุคคลดังกล่าว แม้ได้กระทำความผิด แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการลงโทษทั้งทางกฎหมายและการลงโทษทางสังคมแต่อย่างใด อีกทั้ง สังคมไทยยังขาดต้นแบบที่ดีจากผู้นำในทุกระดับ  ประกอบกับการที่คนในสังคม ยังคงมีทัศนคติที่เป็นปัญหาต่อการเสริมสร้างความซื่อตรง เช่น การยอมรับการทุจริตคอร์รัปชัน หรือความไม่ซื่อสัตย์ การยึดถือระบบอุปถัมภ์ ระบบพวกพ้อง ที่ทำให้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากกรอบของกฎหมาย และหลักแห่งความถูกต้องชอบธรรม รวมถึงสถาบันหลักของสังคม ยังขาดความเข้มแข็งในการปลูกฝังหล่อหลอมสมาชิกในสังคม โดยมีสาเหตุมาจากการขาดแบบอย่างที่ดีจากผู้นำ รวมถึงระบบการศึกษายังขาดพลังในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ทำให้ไม่สามารถพัฒนาความรู้คู่คุณธรรมให้กับคนในสังคมได้อย่างแท้จริง

  • ผลจากการศึกษา ระบุว่าตัวอย่างของกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของต่างประเทศที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ ได้แก่ ระบบการศึกษา ศาสนา และการหล่อหลอมทางสังคมเป็นหลัก โดยผลจากการศึกษา พบว่าคนในประเทศศรีลังกา ไต้หวัน ฟินแลนด์ เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ ต่างให้ความสำคัญในการหล่อหลอม กล่อมเกลาคุณธรรม จริยธรรมของเด็กเยาวชนผ่านสถาบันการศึกษาของประเทศ ทั้งการจัดหลักสูตรให้มีรายวิชาด้านศาสนาโดยตรง หรือวิชาอื่น ๆ ที่มุ่งสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น วิชาว่าด้วยพลเมืองดี โดยสอนผ่านกระบวนการทำกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เพื่อให้เกิดการคิด วิเคราะห์หาเหตุผล

  • ผลจากการศึกษา แบ่งตัวชี้วัดความซื่อตรงออกเป็น 3 มิติ ได้แก่

    1. ตัวชี้วัดความซื่อตรงของบุคคล ซึ่งเป็นตัวชี้วัดพื้นฐานที่ทุกคนจำเป็นต้องมี เพื่อแสดงถึง “การมีความซื่อตรง” โดยมีกลุุ่มเป้าหมาย ได้เเก่ สื่อมวลชน สถาบันศาสนา ประชาสังคม ชุุมชน สถานศึกษา และครอบครัว
    2. ตัวชี้วัดสำหรับผู้เป็นสมาชิกองค์กร/หน่วยงานต่าง ๆ พราะต้องรับผิดชอบต่อภารกิจของหน่วยงาน/องค์กรด้วย กลุุ่มเป้าหมาย ได้เเก่ ภาคเอกชน รัฐบาล ข้าราชการ 
    3. ตัวชี้วัดสำหรับกลุ่มวิชาชีพ เพราะผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ จำเป็นต้องมีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากผู้อื่นเพราะต้องรับผิดชอบต่องานเฉพาะ เช่น นักการเมือง แพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และนักกฎหมาย ซึ่งการทำงานของบุคคลกลุ่มนี้ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นทั้งบวกเเละลบ 
  • ข้อเสนอแนะต่อแนวทางพัฒนาความซื่อตรงในสังคมไทย เช่น การใช้กระบวนการเสริมสร้าง และกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) ที่สถาบันหลักของสังคม ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา ซึ่งเรียกโดยรวมว่า “บวร” โดยต้องร่วมแรงร่วมใจปลูกฝังสมาชิกในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนของชาติ โดยใช้เครื่องมือ คือ หลักธรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามในการสร้างบรรทัดฐาน หรือนอร์ม (Norm) ที่เป็นแบบแผนกฎเกณฑ์ที่สังคมให้การยอมรับร่วมกัน เพื่อนำมายึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สำหรับภาคส่วนที่ควรเข้ามาสนับสนุนกระบวนการพัฒนา และเสริมสร้างความซื่อตรง ประกอบด้วย ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจเอกชน และการสร้างภาคีเครือข่ายความซื่อตรง ซึ่งนอกจากเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกที่มีความซื่อตรงแล้ว ยังเป็นการรณรงค์ขยายผลออกไปในวงกว้าง และช่วยติดตามสอดส่องดูแล และให้คำปรึกษาในด้านความซื่อตรงอีกด้วย 
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, ถวิลดี บุรีกุล, สุธิดา แสงเพชร, ปัทมา สูบกำปัง, ทวิติยา สินธุพงศ์, อริศรา คำต้น, กันธรัตน์ นาคศรี และสกล สิทธิกัน. (2554). การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคมไทย. สถาบันพระปกเกล้า.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2554
ผู้แต่ง
  • บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
  • ถวิลดี บุรีกุล
  • สุธิดา แสงเพชร
  • ปัทมา สูบกำปัง
  • ทวิติยา สินธุพงศ์
  • อริศรา คาต้น
  • กันธรัตน์ นาคศรี
  • สกล สิทธิกัน
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้

You might also like...

องค์กรอิสระกับการสร้างประชาธิปไตยที่ตรวจสอบได้: กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

การศึกษาผลการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่า ทั้งสองหน่วยงานยังมีงบประมาณและบุคลากรที่ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณงาน และอำนาจหน้าที่ที่ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตรวจสอบและลงโทษผู้กระทำผิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | สำนักงาน ป.ป.ช. ตรวจสอบหน่วยงานรัฐ แล้วใครตรวจสอบ สำนักงาน ป.ป.ช.

ถ้าสำนักงาน ป.ป.ช. ไม่โปร่งใส (ปชช) ทำอะไรได้บ้าง ? และหากประชาชนจะตรวจสอบสำนักงาน ป.ป.ช. ต้องทำอย่างไร ? มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ชวนถอดรหัส “วัฒนธรรมองค์การต้านโกง” จาก ฮ่องกง สิงคโปร์และฟินแลนด์

ชวนส่องแนวทางสร้างค่านิยมสุจริตจาก 3 ชาติที่โปร่งใส ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และฟินแลนด์ ซึ่งแต่ละประเทศมีวิธีการที่น่าสนใจที่ไทยสามารถนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้