ทำความเข้าใจกับกระบวนการ วิธีการและเครื่องมือที่จะเสริมสร้างธรรมาภิบาลบนฐานวัฒนธรรมชุมชนสู่สังคมปลอดคอร์รัปชันของคนขุนยว ด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research: CBR)
งานวิจัยเรื่องนี้ นับเป็นงานวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาของการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research: CBR) ในการทำความเข้าใจกับกระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือที่จะเสริมสร้างธรรมมาภิบาลบนฐานวัฒนธรรมชุมชน สู่สังคมปลอดคอร์รัปชันของคนขุนยวม โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยอยู่ที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ ตำบลขุนยวม ตำบลแม่กิ๊ และตำบลแม่อูคอ เป็นหน่วยวิเคราะห์และมีกลุ่มเครือข่ายชุมชนที่ประกอบด้วยภาคีที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร่วมดำเนินงานวิจัย
งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษารูปแบบการคอร์รัปชันในพื้นที่ และผลกระทบที่เกิดขึ้น ภายใต้วัฒนธรรม ความเชื่อ ระบบคุณค่าของคนในพื้นที่ที่ส่งผลต่อการทุจริตคอร์รัปชัน และระบบ/กลไกทางสังคมที่มีศักยภาพในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว เพื่อค้นหากระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือที่สามารถเสริมสร้างธรรมาภิบาลบนฐานวัฒนธรรมชุมขน และระบบ/กลไกใหม่สู่สังคมปลอดคอร์รัปชันได้
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
- ผลจากการศึกษานิยามความหมายของคำว่าการทุจริตคอร์รัปชัน พบว่าชาวบ้านในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ให้นิยามว่าหมายถึง การโกงเอาสิ่งที่ไม่ใช่ของตัวเองมาเป็นของส่วนตัว เอาประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้ง การทำงานที่ไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ และการประพฤติตนที่ขัดกับคำสอนของชนเผ่า เช่น ความไม่ซื่อสัตย์ และสร้างความเดือดร้อนใหกับผู้อื่นในสังคม
- ผลจากการศึกษารูปแบบการคอร์รัปชัน 5 อันดับ ในพื้นที่แม่ฮ่องสอน พบว่าชาวบ้านได้ร่วมกันจัดความสำคัญของรูปแบบการคอร์รัปชันที่พบในพื้นที่ สรุปได้ ดังนี้ (1) โครงการไม่เกิดประโยชน์จริงกับคนในพื้นที่ (2) การเรียกรับสินบนในการแต่งตั้งโยกย้าย (3) การใช้เส้นสายในการเลือกคนเข้าทำงาน (4) การใช้วัสดุก่อสร้างไม่ได้คุณภาพ และ (5) ถูกผู้มีอิทธิพลบังคับข่มขู่ นอกจากนี้ ผลการสำรวจด้วยการตอบแบบสอบถามจาก 3 พื้นที่ชุมชนศึกษา พบว่าการกินเปอร์เซ็นต์ในการจัดซื้อจัดจ้าง มีความรุนแรงมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ โครงการไม่ผ่านการประชาคมหมู่บ้าน และการแจ้งข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างเฉพาะกลุ่มของตนเอง ตามลำดับซึ่งล้วนเป็นวิธีการและขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ผลจากการศึกษา พบว่าระบบเครือญาติที่เข้มแข็ง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการคอร์รัปชันเช่นกัน เนื่องจากพอเป็นคนที่รู้จัก ใกล้ชิด จึงเกิดความเกรงใจ และไม่กล้าที่จะตอบโต้ แม้พบว่าเป็นการคอร์รัปชัน อีกทั้ง ชาวบ้านยังขาดความมั่นใจในความรู้ด้านสิทธิของตนเอง ทำให้ไม่สามารถลุกขึ้นมาต่อสู่กับการคอร์รัปชันได้ ดังนั้น การรื้อฟื้น “กฎระเบียบของชุมชน” แบบมีส่วนร่วมบนฐานของวัฒนธรรม และวิถีชุมชน ด้วยการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันทั้งหมู่บ้าน จะช่วยเสริมสร้างธรรมาภิบาล และป้องปรามคอร์รัปชันได้
- คณะผู้วิจัยร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่เลือกประเด็นขับเคลื่อนด้านการเสริมสร้างธรรมาภิบาล และป้องกันการคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อสร้างความมั่นใจ และประสบการณ์ในการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมกันในพื้นที่ต่อไป ประกอบด้วย (1) ตำบลแม่กิ๊: การค้าบุกที่เป็นธรรม (2) ตำบลขุนยวม: ประชาพิจารณ์บนฐานชุมชน ในบริบทชุมชนเมือง และ (3) บ้านหัวแม่สุรินท์: ประชาพิจารณ์บนฐานชุมชน ในบริบทชนบทที่สูง ห่างไกลหลายหมู่บ้าน
อรุณี เวียงแสน และคณะ. (2563). กระบวนการเสริมสร้างธรรมาภิบาลบนฐานวัฒนธรรมชุมชนสู่สังคมปลอดคอร์รัปชัน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
- อรุณา เวียงแสน
- ปราลี แหล่งป่าหมุ้น
- พนา ชอบขุนเขา
- ธัญญารัตน์ สมมาตรนิมิตดี
- พัชระพงษ์ ต้อนเกียรติยศ
- สมปอง วางหา
- เอื้องทิพย์ ชมสกุณา
- ณัฐกานต์ กรกมลวิลาศ
- วุฒิชัย กอดอกไม้
- สุธรรม ก้อนกลางสมร
ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต
โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน
เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่
โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2
จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ
โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป