บทความวิจัย : การประเมิน “เครื่องมือประเมิน” พิชิตความโกงของ ป.ป.ช. กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย

เมื่อการประเมิน ITA ถูกประเมินเสียเอง พบว่า เครื่องมือประเมินคุณธรรมความโปร่งใสของ ป.ป.ช. ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่มุ่งแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐได้ (กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย)

 

แม้ว่าโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ (Integrity & Transparency Assessment :ITA) ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2557 โดย ป.ป.ช.คาดหมายให้เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของหน่วยงานภาครัฐ โดยการประเมิน ITA จะนำคะแนนแต่ละส่วนที่ได้จากการประเมินมาแปลผลเป็นดัชนีด้านต่างๆ และประมวลผลจากคะแนนที่ได้จากดัชนีที่กำหนด 5 ด้าน มาเป็นคะแนนที่นำมาจัดลำดับคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานที่รับการประเมิน 

 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหนึ่งที่เข้ารับการประเมิน บทความนี้ต้องการ “ประเมิน” ให้เห็นว่าเครื่องมือการประเมินคุณธรรมความโปร่งใสของ ป.ป.ช. ไม่สามารถประเมินคุณธรรม ความโปร่งใสได้จริงตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชันในหน่วยงานภาครัฐแต่อย่างใด  

จากการที่ผู้เขียนในฐานะผู้ประเมินโครงการดังกล่าว พบว่า อุปสรรคในการประเมินในพื้นที่ที่รับผิดชอบนั้น เครื่องมือประเมินในส่วนของแบบสอบถามประชาชนที่เข้ารับบริการจากหน่วยงานนั้นมีการใช้ “ภาษา” ที่เข้าใจยากและเป็นคำถามเชิงลึก ทำให้ประชาชนที่มีความรู้น้อยและติดต่อหน่วยงานผิวเผินไม่เข้าใจในคำถาม จึงทำให้ได้รับคำตอบไม่ตรงกับความจริง และการประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินเอกสาร ซึ่งไม่เหมาะในการประเมินคุณธรรม ความโปร่งใส ซึ่งในการการประเมิน ITA มีการตีความที่มุ่งให้ได้คะแนนมากกว่าการทำให้เกิดจิตสำนึกด้านคุณธรรม ความโปร่งใสอย่างแท้จริงในองค์กร

อีกทั้งการประเมิน ITA ในส่วนของท้องถิ่นมีการประเมินที่ขาดความต่อเนื่อง เหตุเพราะการประเมินปีเว้นปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาและปรับปรุงองค์กรอย่างแท้จริง บทความนี้ จึงสะท้อนให้เห็นถึงการประเมินที่ไม่สามารถสะท้อนความจริงในเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

สุรพี โพธิสาราช. (2561). การประเมิน “เครื่องมือประเมิน” พิชิตความโกงของ ป.ป.ช. กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย. วารสารนิติสังคมศาสตร์, 11(2), 121141.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง

สุรพี โพธิสาราช

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ