บทความวิจัย | การเสริมสร้างจิตสํานึกการป้องกันการทุจริตคอรัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสังคมไทย

แนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกในการป้องกันทุจริตคอรัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 5 หลักการ คือ 1) หลักคุณธรรมนำการบริหาร 2) หลักการจัดการงาน คน และอำนาจ 3) หลักการจัดการงานสาธารณะ 4) หลักธรรมาภิบาล และ 5) หลักพุทธธรรม
 

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการป้องกันการทุจริตคอรัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสังคมไทย 2) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกในการป้องกันการทุจริตคอรัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) นำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างจิตสำนึกในการป้องกันการทุจริตคอรัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  

 

การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้มีความรู้ด้านการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน และพระภิกษุสงฆ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 6 พื้นที่ สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง 19 รูป/คน และสนทนากลุ่มย่อยผู้เชี่ยวชาญ 11 รูป/คน  

 

ผลจากการวิจัย พบว่า กระบวนการป้องกันการทุจริตคอรัปชันในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีการจัดการตามสาระสำคัญดังนี้ 1) การวิเคราะห์และกำหนดปัญหา 2) การวิเคราะห์และกําหนดปัญหาจากภายนอก  3) การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล 4) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม ซึ่งผลที่จะเกิดจากการบริหารงานด้วยหลักพุทธธรรมและหลักธรรมมาภิบาล คือ การลดทุจริตคอรัปชันและเพิ่มความโปร่งใส

 

ในด้านของแนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกในการป้องกันทุจริตคอรัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยประกอบด้วยหลักการ 5 ประการ  คือ 1) มีหลักคุณธรรมนำการบริหาร 2) มีหลักการจัดการงานทั้งเรื่องงาน คน และอำนาจ 3) มีหลักการจัดการงานสาธารณะ 4) มีหลักธรรมาภิบาล และ 5) มีหลักพุทธธรรม และรูปแบบการเสริมสร้างจิตสำนึกการป้องกันการทุจริตคอรัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ประกอบด้วยสาระสำคัญ 5 ชุดความรู้ คือ 1) ระบบงานสำคัญ 2) การวิเคราะห์ปัญหาการบริหารงาน 3) การวิเคราะห์ปัญหาการบริหารเชิงธรรมาภิบาล 4) ปัญหาเชิงการจัดการสาธารณะ 5) การแสวงหาหลักการบริการและคุณธรรมนำการบริหาร

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อภิษฎาข์ ศรีเครือด, จิดาภา เร่งมีศรีสุ และพระครูอุทัยกิจจารักษ. (2560). การเสริมสร้างจิตสำนึกการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสังคมไทย. Local Administration Journal, 10(3), 28–51.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • อภิษฎาข์ ศรีเครือด
  • จิดาภา เร่งมีศรีสุ
  • พระครูอุทัยกิจจารักษ์ 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC Insight | เกมแห่งแรงจูงใจ: ถอดบทเรียนกฎหมายผ่อนผันโทษผ่านมุมมองทฤษฎีเกม

KRAC INSIGHT ชวนเจาะลึกว่าทำไมกฎหมายผ่อนผันโทษจึงซับซ้อน และทำงานเหมือน Prisoner’s Dilemma ที่จูงใจผู้ร่วมขบวนการให้หักหลังกันเอง !

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง