วิเคราะห์รูปแบบของนิติบุคคลของบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจในไทยในรายอุตสาหกรรมที่สำคัญ เพื่อสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทข้ามชาติในไทย ทั้งที่ถือหุ้นตรงหรือถือหุ้นผ่านนอมินี
ประเทศไทย มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดยการให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาประกอบกิจการค่อนข้างมาก แต่ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทข้ามชาติที่ประกอบกิจการในประเทศไทยกลับมีน้อย การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยในรายอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่เลือกทำการศึกษา เป็นอุตสาหกรรมที่มีบริษัทข้ามชาติเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยแล้ว ใน 7 สาขา ทั้งภาคการผลิต (ผลิตภัณฑ์ยาง ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และธุรกิจพลังงาน) ภาคการเกษตร (อาหารแปรรูปและผักผลไม้กระป๋อง ธุรกิจขยายพันธุ์พืช) และภาคบริการ (บริการด้านบัญชี และกฎหมาย)
โดยการศึกษาวิจัยนี้ อาศัยข้อมูลบริษัทจดทะเบียนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบของนิติบุคคลต่างชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย และบทบาทของบริษัทข้ามชาติต่อระบบ เศรษฐกิจ โดยศึกษาถึงส่วนแบ่งตลาดในอุตสาหกรรม รายได้จากการขายและอัตราการเติบโตของรายได้ การจ้างงาน การวิจัยและการพัฒนา และศึกษาผลกระทบทางลบจากการเข้ามาประกอบกิจการของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยในด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและการผูกขาดทางธุรกิจ
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
- ผลจากการศึกษาการลงทุนในประเทศไทยของบริษัทข้ามชาติใน 7 สาขา พบว่ามีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 20-25 ในหลายธุรกิจที่ศึกษา โดยรูปแบบการลงทุนของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย มีลักษณะที่แตกต่างกันในประเด็นสำคัญ คือการมีอำนาจควบคุมบริษัท และการถือหุ้น โดยสัญชาติของบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย 2 อันดับแรก ได้แก่ สัญชาติญี่ปุ่น และสัญชาติอเมริกัน สำหรับผลกระทบทางสังคมจากการเข้ามาประกอบกิจการของบริษัทข้ามชาติ คือ การเป็นแหล่งการจ้างงาน และสร้างรายได้ให้แก่รัฐที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังช่วยลดการผูกขาดของธุรกิจของไทยในบางอุตสาหกรรมด้วย สำหรับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในภาคการผลิต พบว่าบริษัทที่ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยส่วนมากมักมีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่สูงอยู่แล้ว หากประเทศไทยต้องการที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงควรที่จะบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องให้เข้มงวดขึ้น
- ผลจากการศึกษาด้านอุปสรรคในภาพรวมของการเข้ามาลงทุนประกอบกิจการในทุกธุรกิจของประเทศไทย พบว่าประเทศไทยยังคงมีกฎ กติกาที่ไม่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ อีกทั้ง กฎ กติกาบางอย่างทำให้เกิดภาระต้นทุนโดยไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย เช่น กฎหมาย พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่เข้มงวดเกินไป ทำให้บริษัทข้ามชาติถูกจำกัดประเภทของการบริการ หรือสินค้าที่สามารถเสนอให้แก่ลูกค้าได้ กฎหมายวิชาชีพ การขาดการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพ การขาดหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแลมาตรฐานสินค้า ทำให้ใช้เวลาและเอกสารมากเกินควร รวมถึงการขาดแคลนแรงงานกึ่งทักษะ
- ผลจากการศึกษาด้านอัตราการกระจุกตัว และการแข่งขันในตลาด ยังไม่พบปัญหาการแข่งขันจากการเข้ามาประกอบกิจการของบริษัทข้ามชาติในรายอุตสาหกรรมที่ทำการศึกษา เนื่องจากไม่มีบริษัทข้ามชาติรายใด ที่ครองส่วนแบ่งเกินร้อยละ 40 และสภาพการแข่งขันโดยรวมของธุรกิจ ยังไม่พบพฤติกรรมที่มีแนวโน้มทำให้เกิดการผูกขาดตลาดของบริษัทข้ามชาติ
- ผลจากการศึกษา ได้จัดทำข้อเสนอต่อภาครัฐ ดังนี้ (1) การปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทข้ามชาติ เพื่อความทันการณ์และความสมบูรณ์ของข้อมูลบริษัทจดทะเบียนในฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และฐานข้อมูลอื่น ๆ (2) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกฎ กติกา เพื่อลดอำนาจดุลยพินิจในการบังคับใช้กฎหมาย และลดระเบียบขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (3) การปรับปรุงนโยบาย ได้แก่ การยกเลิกข้อห้ามการลงทุนแบบครอบจักรวาลที่ไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทย และการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยให้เคร่งครัดขึ้น
เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, เสาวลักษณ์ ชีวสิทธิยานนท์, วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี และสุณีพร ทวรรณกุล. (2550). บทบาทของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
- เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
- เสาวลักษณ์ ชีวสิทธิยานนท์
- วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี
- สุณีพร ทวรรณกุล
โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ
ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ
โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2
จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ
แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริต : ศึกษากรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด
วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงต่อการทุจริตของกระบวนการควบคุมน้ำหนักของหน่วยงานรัฐ เเละเสนอมาตรการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
สู่ความชัดเจนในระเบียบธรรมาภิบาล: ประเด็นสืบเนื่องจากกรณีการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น
มุ่งศึกษากฎหมายของไทย ผลของการบังคับใช้กฎหมาย เเละเเนวปฎิบัติที่ดีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอเเนะของไทย เช่น การประกอบกิจการของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย