ศึกษาระบบการตรวจสอบการเงิน การคลัง บัญชี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีกรณีศึกษา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลําพูน เชียงใหม่ และเเม่ฮ่องสอน
ด้วยบทบาทหน้าที่ของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ทำหน้าที่ตรวจสอบระบบการเงิน การคลัง บัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกรูปแบบ คณะผู้วิจัย จึงสนใจที่จะศึกษาระบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ และกระบวนการตรวจสอบของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินในการตรวจสอบในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาถอดบทเรียนในรูปแบบ Best Practice ของทั้งสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ในฐานะผู้ตรวจ) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ในฐานะผู้รับตรวจ) เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ ที่ดี และมีความเหมาะสมต่อแนวคิดการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นต่อไป โดยมีกรณีศึกษา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลําพูน เชียงใหม่ และเเม่ฮ่องสอน
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
- ผลการศึกษา พบว่าเสียงสะท้อนจากผู้ตรวจ (สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน) ที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการตรวจสอบ พบปัญหาหลักที่เกิดจากตัวผู้ตรวจสอบเอง เช่น อัตรากําลังคนไม่เพียงพอต่อจํานวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มมากขึ้น ประสบการณ์และศักยภาพการทํางานของผู้ตรวจแต่ละท่านไม่เท่ากัน รวมถึงการถูกแทรกแซงจากฝ่ายบริหารและนักการเมือง นอกจากนี้ เกณฑ์การคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อลงตรวจ พบว่าเป็นการลงตรวจเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่มีวงเงินงบประมาณมาก ซึ่งส่งผลทําให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กหลุดจากการตรวจสอบในทุกปี
- ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยความสําเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้กระบวนการตรวจสอบของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย
- ส่งเสริมใหเกิดกระบวนการกํากับดูแลที่ดี (Good Governance) และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน (Transparency)
- ส่งเสริมให้เกิดการบันทึกบัญชี และรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility)
- ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติงานขององค์กร (Efficiency and Effectiveness of Performance) เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงระบบงานให้สะดวก รัดกุม ลดขั้นตอน ลดเวลา และค่าใช้จ่าย
- มีมาตรการถ่วงดุลอํานาจ (Check and balance) ส่งเสริมให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรขององค์กรให้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามลําดับความสําคัญ
- ให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Warning Signals) ของการประพฤติมิชอบ หรือการทุจริตในองค์กร เพื่อลดโอกาสความร้ายเเรง และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
- คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอแนะแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการดําเนินการตรวจสอบของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน เช่น เสนอให้แก้ไขประเด็นเกี่ยวกับแนวทางในการตรวจสอบ และควรมีการประชุมซักซ้อมความเข้าใจของผู้ตรวจ ก่อนที่จะลงหน่วยงานรับตรวจ เพื่อป้องกันการเกิด “การตรวจลําเอียง” เกิดขึ้น รวมถึงต้องการให้สำนักงานตรวจเงินเเผ่นดิน ปรับปรุงการทํางานของตนเอง จากที่เคยเน้นตรวจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มาเป็นการตรวจให้ครบทุกเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิทยา พานทอง และนาวิน พรมใจ. (2556). ระบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
- พิทยา พานทอง
- นาวิน พรมใจสา
โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต
โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน
การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้
แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และสถานการณ์ธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ รวมถึงระบบและกลไกทางสังคมต่อการจัดการ และป้องกันปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม
แนวทางการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นสังคมที่ปลอดคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนในเขตบางเขน เขตสายไหม เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนรูปแบบและช่องทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน โดยมีชุมชนเป็นหัวใจในการขับเคลื่อน