บทความวิจัย | การเปิดรับสื่อ ความตระหนัก และทัศนคติที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในเขตกรุงเทพมหานคร

สื่อโฆษณารณรงค์ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันสัมพันธ์กับพฤติกรรมและการตระหนักรู้ของประชาชน ซึ่งสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันในระดับของการให้และได้รับข้อมูล รวมถึงการสร้างความร่วมมือวางแผนร่วมกัน

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณารณรงค์ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันและความตระหนักและทัศนคติต่อต้านคอร์รัปชัน  ตลอดจนการพยากรณ์ความตระหนักและทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน  

 

โดยช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาบุคลากรที่ทำงานร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน 400 คน และใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบตัวแปรพหุนาม  

 

ผลวิจัยพบว่า

1) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ อาชีพ หน่วยงานสังกัด และรายได้ที่แตกต่างกันมีความตระหนักและทัศนคติในการต่อต้านคอร์รัปชันที่แตกต่่าง

2) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาโดยรวมและสื่อชุด “อย่าปล่อยให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม” มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตระหนักในการต่อต้านคอร์รัปชัน

3) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติด้านการเปิดโปงและปลูกฝัง

4) ความตระหนักในการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อต้านคอร์รัปชัน

5) ความตระหนักและทัศนคติในการต่อต้านคอร์รัปชันสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันในระดับของการให้และได้รับข้อมูล การสร้างความร่วมมือวางแผนร่วมกัน และการร่วมดำเนินการ 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

พจนีย์ บุญเจริญสุข, พัชราภรณ์ เกษะประกร และธนวุฒิ นัยโกวิท. (2560). การเปิดรับสื่อ ความตระหนัก และทัศนคติที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร, 37(4), 110-128.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • พจนีย์ บุญเจริญสุข  
  • พัชราภรณ์ เกษะประกร  
  • ธนวุฒิ นัยโกวิท 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้

You might also like...

KRAC Extract | LGBTQI+ กับคอร์รัปชัน: เมื่อศักดิ์ศรีถูกลดค่าในสังคมที่ไม่เท่าเทียม

ชวนเจาะลึกรายงาน “The Impacts of Corruption on LGBTQI+ Rights” ที่เผยให้เห็นว่า การคอร์รัปชันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่มันกระทบต่อชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้คน มาร่วมเรียนรู้ว่า เราจะสร้างนโยบายต้านคอร์รัปชันที่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์ได้อย่าง

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I หน่วยงานต้านโกงฮังการีตั้งเป้าหมาย เริ่มพัฒนา AI ต่อสู้คอร์รัปชันในอนาคต

ฮังการีรายงานผลการทำงานปีที่ผ่านมาพร้อมประกาศเริ่มพัฒนา AI แก้ปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อเปิดทางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเรียลไทม์

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด