บทความวิจัย : นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน

การศึกษาสาเหตุของการคอร์รัปชันและการให้สินบน พร้อมแนวทางในการแก้ไขปัญหา ที่เริ่มต้นด้วย “การปรับ” ทั้งทัศนคติของสังคมและการใช้อำนาจของรัฐ
 

คำว่า “ คอร์รัปชัน” นั้น นิยามอาจตีความได้กว้างขวางมาก เช่น การทุจริต การฉ้อโกง การฉ้อราษฎรบังหลวง เป็นต้น โดยแต่ละความหมายล้วนให้ความหมายในเชิงลบทั้งสิ้น การทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นรวมถึงการเลือกที่รักมักที่ชัง การเห็นแก่ญาติพี่น้องกินสินบนฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้ระบบอุปถัมภ์และความไม่เป็นธรรมอื่น ที่ข้าราชการหรือบุคคลใดใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรม

 

ปัญหาการคอร์รัปชันหลายคนอาจจะมองว่าไม่สำคัญ เพราะอาจคิดว่าไม่ใช่ปัญหาของตัวเองบ้างไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวบ้าง แต่หากย้อนกลับมาพิจารณาดูให้ดีแล้วปัญหาการคอร์รัปชันนี้นับว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกับชีวิตของเราทุกคนในฐานะที่เป็นประชาชนอย่างมากทีเดียว 

 

จากการทบทวนวรรณกรรมและการทำวิจัย ผู้เขียนได้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและการให้สินบน ได้แก่ การขาดคุณธรรม การขาดอุดมการณ์และอุดมคติ มีค่านิยมที่ผิด ใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย

 

จากการศึกษา ได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันและการให้สินบน ดังนี้

  1. การเปลี่ยนทัศนคติของสังคม 
  2. การกระจายอำนาจรัฐ
  3. ขจัดเงื่อนไขที่เอื้อให้มีการทุจริต
  4. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่สมบูรณ์
  5. การเปิดเสรีระบบเศรษฐกิจยิ่งขึ้น
  6. ลดการใช้วิจารณญาณของผู้มีอำนาจรัฐ
  7. การส่งเสริมองค์การภาคประชาชน
เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2561). นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 301310.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

You might also like...

บทความวิจัย : กบฏโพกผ้าเหลือง กับเสถียรภาพทางการเมืองในวรรณกรรมสามก๊ก

“กบฎโพกผ้าเหลือง” สะท้อนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวงในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนำมาสู่การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดังนั้น เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง รัฐจะต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริตคอรัปชัน ควบคู่ไปกับการดูแลประชาชนให้อยู่ดีกินดี

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ