บทความวิจัย | มาตรการในการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ใช้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ

คดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชันในวงราชการก่อให้เกิดผลเสียในวงกว้างต่อการบริหารของรัฐ ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้พยานที่เป็นราชการกล้าเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น จึงควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อหน้าที่การงานของผู้ให้ข้อมูล

 

การให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูลต่อทางราชการ หรือที่เรียกกันในต่างประเทศว่า Whistle Blower นั้น เป็นเรื่องใหม่ในวงราชการ ยกเว้นเรื่องที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ซึ่งแตกต่างกับการคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการที่มีมูลมาจากการกระทำที่เป็นความผิดทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน 

 

ดังนั้น เพื่อให้มีการวางระบบกฎหมาย หลักเกณฑ์ และวิธีการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลดังกล่าวมีมาตรฐานที่เป็นสากลและให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จำเป็นต้องมีการศึกษาหลักการและแนวทางปฏิบัติ โดยเทียบเคียงกับหลักเกณฑ์ และวิธีการในเรื่องนี้ที่ใช้บังคับอยู่ในต่างประเทศนำมาประกอบในการร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูล หรือผู้ให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อไป  

 

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นหลักประกันความมั่นคงในอาชีพแก่ข้าราชการและทำให้มีผู้กล้าที่จะเปิดเผยข้อเท็จจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่มีมูลกรณีเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการให้สมตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่เน้นในเรื่องของการปราบปรามการทุจริตในวงราชการ 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2551). มาตรการในการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ใช้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(1), 4559.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2551
ผู้แต่ง

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ราชการไทยไร้คอร์รัปชัน : การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต

ศึกษาปัญหาการแจ้งเบาะแสการทุจริตในราชการไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่จากหน่วยงานรัฐส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น เพื่อสำรวจความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐและพฤติกรรมการแจ้งเบาะแสการทุจริต

มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน

ศึกษากลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันและแนวทางเสริมสร้างกลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง และสิทธิเสรีภาพ

บทความวิจัย | มาตรการในการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ใช้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ

คดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชันในวงราชการก่อให้เกิดผลเสียต่อการบริหารของรัฐ เพื่อสนับสนุนให้พยานที่เป็นข้าราชการกล้าเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น จึงควรแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อหน้าที่การงานของผู้ให้ข้อมูล

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุขและความชุ่มฉ่ำในเทศกาลแห่งความสุขอย่างเทศกาลสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ที่เต็มไปด้วยความหมายด้านวัฒนธรรม สังคม วันที่ 13-14 เมษายน ก็ยังเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัวไทยอีกด้วย โดยตลอดช่วงเวลานี้ของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาแห่งความอบอุ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากมายได้เดินทางกลับบ้านกลับภูมิลำเนาเพื่อไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ไปรวมญาติที่ไม่ได้พบกันนาน หรือไปเล่นน้ำคลายร้อนกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)