บทความวิจัย | ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจ: ศึกษาศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การศึกษายุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินยุทธศาสตร์ คือ ปัจจัยด้านกฎหมายและปัจจัยด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากรผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คนคัดสรรจากผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการสอบ ฝ่ายอำนวยการสอบ และนักเรียนนายสิบตำรวจ

  

ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ (1) กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ดี ช่วยป้องปรามการทุจริต จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและปิดช่องโหว่การทุจริตการสอบ (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการสอบอย่างเข้มข้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบและป้องกันการทุจริตได้ สำหรับข้อเสนอแนะคือ ควรเสริมสร้างกฎหมายให้เข้มงวดขึ้น บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อรู้เท่าทันกลอุบายในการโกง

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อรุญ กันพร้อม. (2560). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจ: ศึกษาศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1902-1913.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง

อรุญ กันพร้อม

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในกับธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรณีศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด

รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ศึกษารูปแบบและปัจจัยเสี่ยงของการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขหรือกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รูปแบบการทุจริตและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประกอบด้วย ปัจจัยภายในคือการขาดความสุจริตในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และปัจจัยภายนอก เช่น รายได้ที่ไม่เพียงพอ ระบบอุปถัมภ์ การขาดการกำกับดูแลที่ดี และอิทธิพลของนักการเมือง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุขและความชุ่มฉ่ำในเทศกาลแห่งความสุขอย่างเทศกาลสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ที่เต็มไปด้วยความหมายด้านวัฒนธรรม สังคม วันที่ 13-14 เมษายน ก็ยังเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัวไทยอีกด้วย โดยตลอดช่วงเวลานี้ของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาแห่งความอบอุ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากมายได้เดินทางกลับบ้านกลับภูมิลำเนาเพื่อไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ไปรวมญาติที่ไม่ได้พบกันนาน หรือไปเล่นน้ำคลายร้อนกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)