บทความวิจัย | ธรรมาภิบาลเพื่อการขจัดการทุจริตและการขัดกันแห่งผลประโยชน์

โครงการส่งเสริมธรรมาภิบาล เพื่อการขจัดการทุจริตและการขัดกันแห่งผลประโยชน์และเสริมสร้างธรรมาภิบาล พบแนวทางขจัดทุจริตจากการส่งเสริมการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การมีส่วนร่วมของสังคมในการตรวจสอบผู้นำและนักการเมือง รวมถึงการมีระบบตรวจสอบและลงโทษที่มีประสิทธิภาพ

 

การถอดบทเรียนโครงการการส่งเสริมธรรมาภิบาล เพื่อการขจัดการทุจริตและการขัดกันแห่งผลประโยชน์และเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสถาบันการเมือง องค์กร สถานศึกษา และท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์ พื่อให้สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองและบุคลากรหยุดการกระทำที่นำไปสู่การทุจริต ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นภูมิคุ้มกันจากสถานการณ์การขัดกันแห่งผลประโยชน์ และเพื่อชี้ให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมในตัวบุคคล และพัฒนาเสริมสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงาน องค์กร

 

โดยการจัดสัมมนาจำนวน 5 เวที ใน 4 ภูมิภาค เพื่อเชิญกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้นำองค์กรหรือนักการเมืองในพื้นที่ รวมถึงบุคลากรฝ่ายบริการและประชาชนเข้าร่วมแสดงความเห็น แล้วจึงสรุปผลการสัมมนาจากการรวบรวมข้อมูลการอภิปราย คำถาม ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบบสอบถาม แล้ววิเคราะห์ผลเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย

 

ผลการสรุปความคิดเห็นผู้เข้าร่วม พบว่า ผู้นำและนักการเมืองมีพฤติกรรมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ทำให้ประชาชนมีความเข้าใจทางการเมืองต่ำและขาดการสรรหาผู้นำที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ระบบลงโทษนักการเมืองที่ทุจริตยังมีประสิทธิภาพต่ำ โดยเสนอแนวทางการพัฒนา ได้แก่ การส่งเสริมให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม การสร้างระบบตรวจสอบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักนิติธรรม

 

ในด้านธรรมาภิบาลทางการเมือง พบว่า ผู้นำไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิสาธารณะและขาดความรับผิดชอบ โดยเสนอให้ผู้นำต้องทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชน ลดการทุจริต และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ชาติชัย อุดมกิจ. 2561. ธรรมาภิบาลเพื่อการขจัดการทุจริตและการขัดกันแห่งผลประโยชน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(68), 33–39.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง

ชาติชัย อุดมกิจมงคล 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

You might also like...

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น