บทความวิจัย | แรงผลักดันในการทุจริตของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโลจิสติส์และอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย แต่กลับพบว่ามีความเสี่ยงด้านความโปร่งใสในการดำเนินงานของบุคลากรในองค์กรและความเสี่ยงที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

 

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการทุจริตในองค์กรตามทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริตและทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยดังกล่าวเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างสามเหลี่ยมการทุจริตกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจจากผู้บริหาร พนักงานด้านการเงินและบัญชีของบริษัทในอุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 362 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling: SEM) 

 

ผลการศึกษา พบว่า แรงกดดัน โอกาส และการให้เหตุผลเข้าข้างตนเอง เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการทุจริตในองค์กรและมีความสัมพันธ์กันในทางบวก ซึ่งหมายถึงเมื่อมีปัจจัยมากกว่าหนึ่งปัจจัยเกิดขึ้นพร้อมกันจะยิ่งผลักดันให้เกิดการทุจริต สำหรับแนวทางในการป้องกันการเกิดทุจริตจากปัจจัยทั้งสามสามารถทำได้โดยการสกัดกั้นโอกาสในการทุจริตและลดแรงกดดันในด้านงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งรวมถึงการจัดทำนโยบายที่ชัดเจนจากผู้บริหารและการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อปลูกจิตสำนึกในความซื่อสัตย์สุจริต นอกจากนี้ ควรสร้างกลไกการป้องกันการทุจริต โดยผู้บริหารหรือหัวหน้างานควรกำกับดูแลใกล้ชิดให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อลดโอกาสในการกระทำทุจริต

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ธนชาติ เราประเสริฐ. (2565). แรงผลักดันในการทุจริตของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 4555.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

ธนชาติ เราประเสริฐ 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

แนวโน้มการฟอกเงินในประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีการฟอกเงินผ่านนิติบุคคล และธุรกิจบังหน้า ทนายความและนักบัญชี บริษัทนำเที่ยว ทรัสต์ต่างประเทศที่ดำเนินการในประเทศไทย การเล่นแชร์ที่มีการฉ้อโกงและการฟอกเงินผ่านองค์กรไม่แสวงหากำไร 

เมื่อการฟอกเงินเป็นปัญหาร้ายแรงที่ยังคงแพร่หลายในสังคมไทย การแก้ไขปัญหาจึงต้องลองศึกษาแนวทางที่ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริต : ศึกษากรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด

วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงต่อการทุจริตของกระบวนการควบคุมน้ำหนักของหน่วยงานรัฐ เเละเสนอมาตรการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

You might also like...

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : บทเรียนจากตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ

เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในรอบร้อยปีของประเทศไทย ได้สร้างความเสียหายและความสูญเสียในหลายพื้นที่ ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่สูญเสียและทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยครั้งนี้

KRAC Insight | ปฏิรูปวงการพลังงานไทยให้ถึงฝัน ชวนรู้จัก “การแสวงหาค่าเช่า” ในอุตสาหกรรมพลังงานไทย

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกเกี่ยวกับโครงสร้างของอุตสาหกรรมพลังงานไทย และทำความเข้าใจกับค่าเช่าและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การออกแบบแนวทางการปฏิรูปพลังงานที่ความโปร่งใสและยั่งยืนของไทย

KRAC Insight | PEPs: ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ สู่การสร้างข้อมูลเพื่อแก้ไขคอร์รัปชันข้ามชาติ

KRAC ชวนดูข้อเสนอต่อเเนวทางการดำเนินงานตาม PEPs จากทีม Open Data เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของ Data standard และตัวอย่างการใช้ชุดข้อมูล PEPs สำหรับสื่อมวลชน