KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ปาปัวนิวกินีเร่งเเก้ไขคอร์รัปชัน ผ่านการดำเนินงานร่วมกับองค์กรนานาชาติ

ปาปัวนิวกินีมีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่เข้มแข็งแต่ขาดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องเร่งแก้ไขซึ่งได้เริ่มต้นแล้วเมื่อ 15 พฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา !

ณ รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี (Independent State of Papua New Guinea) ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการถึงแนวทางการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชันร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development; OECD) ทำให้ได้รายงานที่เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการเสริมสร้างการต่อต้านการทุจริตและการส่งเสริมความซื่อตรงทั่วโลก ที่ถึงแม้ว่าการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันรวมถึงการส่งเสริมความซื่อตรงจะมีความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล และรับมือกับความเสี่ยงใหม่ ๆ เพื่อจัดการกับการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการดำเนินงานข้างต้นก็ทำให้ได้รับข้อมูลจากตัวชี้วัดความเป็นซื่อตรงในภาครัฐ (Public Integrity Indicators) ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ถือว่ามีความสำคัญ ซึ่งได้แสดงถึงผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากความพยายามในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน โดยมุ่งเน้นที่คำนึงถึงผลกระทบต่อพลเมือง (Per Capita) ซึ่งการดำเนินการนี้มีความสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านสภาพแวดล้อมที่โปร่งใส

นอกจากนี้ มีการศึกษาและวิเคราะห์โดยละเอียดเกี่ยวกับ “กรอบความประพฤติต่อต้านการทุจริต” โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้แสดงถึงแนวทางการปรับปรุงในระเบียบทางการเงินที่พบช่องว่างในการดำเนินงานและการติดตามข้อมูล เช่น ความไม่โปร่งใสของการเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน จึงได้มีการเริ่มการปฏิบัติตามข้อบังคับและการปรับใช้ในหลาย ๆ ด้าน เช่น กฎระเบียบเกี่ยวกับการต่อต้านความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในระดับประเทศที่มีความคืบหน้า แต่การปฏิบัติตามข้อบังคับกำหนดยังมีการปฏิบัติที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

จุดมุ่งหมายของการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ในปาปัวนิวกินี คือการสร้างความตระหนักรู้และหารือเกี่ยวกับการดำเนินการและคุณภาพของกรอบกฎหมายที่มีอยู่เพื่อต่อสู้กับการทุจริตในปาปัวนิวกินีที่ร่วมดำเนินการกับหน่วยงานรัฐ ตัวแทนของรัฐบาล และสถาบันต่อต้านการทุจริตภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติตามมาตรฐานการต่อต้านการทุจริตอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสร้างความรับผิดชอบเฉพาะของกฎหมายและผู้ดำเนินการปฏิรูปการต่อต้านการทุจริต

เนื่องจากปาปัวนิวกินีมีระบบกฎหมายที่เข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับการทุจริตอยู่แล้ว แต่ปัญหาการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชันอยู่ที่การดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ก็ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ความรู้ ทักษะ และความตระหนักในการดำเนินการในลักษณะที่ส่งเสริมความซื่อสัตย์ นอกจากนี้ยังได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับการบรรลุมาตรฐานและข้อกำหนดสากลเพื่อให้แน่ใจว่าปาปัวนิวกินีเป็นสถานที่ที่ดีกว่าและปลอดภัยสำหรับการดำเนินงานต่าง ๆ

ขณะเดียวกันรัฐไทยก็มีกฎหมายหรือแนวปฏิบัติหลายส่วนที่มีความก้าวหน้ามากกว่า แต่ก็สามารถที่จะนำเอาการร่วมกันพัฒนาการดำเนินการและคุณภาพของกรอบกฎหมายระหว่างหน่วยงานรัฐ ตัวแทนของรัฐบาล และสถาบันต่อต้านการทุจริตภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐานต่อต้านการทุจริตอย่างเต็มรูปแบบ ที่จะทำให้บรรลุมาตรฐานหรือข้อกำหนดสากลเพื่อให้ประเทศไทยเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับการดำเนินงานต่าง ๆ และการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติได้อีกด้วย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ประเทศมหาอำนาจ มีแนวทางแก้ปัญหาคอร์รัปชันท้องถิ่นอย่างไร ?

ชวนศึกษารูปแบบองค์กรปกครองท้องถิ่นสหรัฐฯ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีทั้งการเมืองที่มั่นคง เศรษฐกิจที่เข้มแข็ง รวมทั้งมีอิทธิพลต่อโลกในหลายด้าน เช่น วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการคอร์รัปชันได้ดีเป็นอันดับที่ 24 ของโลกจากการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริตขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ

KRAC Insight สรุปงานเสวนา | ทำอย่างไรจะช่วยลดการคอร์รัปชันจากช่องว่างของกฎหมาย?

ชวนอ่านสรุป “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หัวข้อ “การประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการคอร์รัปชันในกระบวนการนิติบัญญัติ”

KRAC Hot News I ถนนไม่ปลอดภัย เพราะปัญหาคอร์รัปชันที่สั่งสม

“กินกันเป็นระบบ” แต่บอกว่าเป็นการคอร์รัปชันส่วนบุคคล ทั้งที่งานศึกษาหลายชิ้นชี้ ความไม่ปลอดภัยบนท้องถนนมาจากการคอร์รัปชันที่สั่งสม อย่าปล่อยให้เรื่องราวสะเทือนใจจากเหตุการณ์รถบัสทัศนศึกษาเป็นเพียงอุบัติเหตุหนึ่งที่ผ่านเลยไป แต่เราควรมาถอดบทเรียนป้องกันไม่ให้โศกนาฏกรรมเช่นนี้เกิดซ้ำ

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : แก้บนอาจไม่ถูกใจ แต่สินบนถูกใจแน่นอน

สวัสดีปีใหม่และสุขสันต์วันคริสต์มาสแด่นักอ่านแนวหน้าทุกท่าน ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ ผู้เขียนขอมอบเพลง Santa Doesn’t Know You Like I Do ของ Sabrina Carpenter เพื่อเป็นหนึ่งในเพลงที่เหมาะสำหรับการฟังในช่วงเวลาพิเศษนี้ เนื้อเพลงได้สื่อถึงความรักของคนคนหนึ่งที่สามารถเติมเต็มความปรารถนาของคนรักได้โดยไม่ต้องพึ่งคุณพ่อฤดูหนาวหรือซานต้า เพราะซานต้านั้นไม่ได้รู้จักตัวตนของเราดีไปกว่าคนใกล้ชิดหรือคนใกล้ตัว

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้