ราชการไทยไร้คอร์รัปชัน : การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต

ศึกษาปัญหาการแจ้งเบาะแสการทุจริตในราชการไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่จากหน่วยงานรัฐส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น เพื่อสำรวจความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐและพฤติกรรมการแจ้งเบาะแสการทุจริต

งานวิจัยเรื่องนี้ นับเป็นงานวิจัยชิ้นแรกในประเทศไทยที่ทำการศึกษาปัญหาการแจ้งเบาะแสการทุจริตในราชการไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ จากทั้งหน่วยงานรัฐในส่วนกลาง (n = 4,988) และส่วนท้องถิ่น (n = 434) ประกอบกับการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)

โดยมีเป้าหมายเพื่อสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐในฐานะที่เป็น “คนใน” ที่อาจจะทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการกระทำความผิดในหน่วยงาน โดยเน้นศึกษาการรับรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ความรู้ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเบาะแสการทุจริต รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการสร้างกลไกการแจ้งเบาะแสภายในหน่วยงานภาครัฐ

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา เป็นการยืนยันสมมติฐานว่าจำนวนการทุจริตที่มีการรายงานโดยทั่วไปอาจเป็นเพียงปลายภูเขาน้ำแข็ง แม้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ จะมีความเต็มใจในระดับสูงในการออกมาแจ้งเบาะแส แต่เมื่อสอบถามผู้ที่เคยพบการทุจริต พบว่ามีเจ้าหน้าที่ที่ออกมาแจ้งเบาะแสจริง คิดเป็นร้อยละ 4 ของเจ้าหน้าที่รัฐในส่วนกลาง และร้อยละ 2 ของพนักงานส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ที่น่าสนใจ คืออัตราส่วนของผู้ที่ออกมาแจ้งเบาะแส มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างหน่วยงาน สะท้อนว่าการแจ้งเบาะแส ไม่ได้เกิดจากปัจจัยบุคคลอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย
  • ผลจากการศึกษา พบว่าจากกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่รัฐในส่วนกลาง (n=4988) และพนักงานในส่วนท้องถิ่น (n= 434) ระบุว่าส่วนใหญ่พบการทุจริตเรื่องการใช้ทรัพย์สินราชการในเรื่องส่วนตัว ในส่วนของการแจ้งเบาะแส จากจำนวนผู้ที่เคยพบเห็นการทุจริตในหน่วยงาน ส่วนใหญ่รายงานผู้บังคับบัญชาเป็นอันดับแรก สำหรับสาเหตุที่ออกมาแจ้งเบาะแส อันดับหนึ่ง คือ มองว่าเป็นหน้าที่ของข้าราชการที่ดี ส่วนสาเหตุที่ไม่ออกมาแจ้งเบาะแส อันดับหนึ่ง คือไม่มีหลักฐานชัดเจน
  • ผลจากการศึกษา พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการแจ้งเบาะแส สามารถสรุปได้ ดังนี้ (1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ เช่น เพศชาย การเป็นหัวหน้างาน และการเป็นดาวเด่นในองค์กร (2) ปัจจัยการทุจริต ได้แก่ ระดับการทุจริต และความรุนแรงของการทุจริต (3) ปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ หน้าที่ของข้าราชการที่ดี การมีจิตสาธารณะ ความรู้ในการแจ้งเบาะแส และทัศนคติเชิงลบต่อการแจ้งเบาะแส (4) ปัจจัยระดับองค์กร ได้แก่ แนวนโยบายเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแส การได้รับความคุ้มครอง บรรทัดฐานทางสังคม และโอกาสที่จะถูกกลั่นแกล้ง และ (5) ปัจจัยระดับสถาบัน ได้แก่ ความเป็นอิสระทางการเมือง และประสิทธิภาพของสำนักงาน ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ท. ที่ส่งผลต่อความคิดที่จะแจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานภายนอก
  • ผลจากการศึกษา ยืนยันได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ มีความเต็มใจในระดับสูงในการออกมาแจ้งเบาะแส ที่น่าสนใจ คือผลการสำรวจสะท้อนว่าการแจ้งเบาะแสไม่ได้เกิดจากปัจจัยบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย โดยปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดต่อความคิดในการออกมาแจ้งเบาะแส ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ได้แก่ ความรุนแรงของการทุจริต บรรทัดฐานทางสังคม แนวโยบายของหน่วยงาน การได้รับความคุ้มครองในการเเจ้งเบาะเเส และโอกาสที่จะถูกกลั่นแกล้ง ส่วนปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดต่อการออกมาแจ้งเบาะแสจริง คือความเป็นอิสระทางการเมืองของสำนักงาน ป.ป.ช. และ สำนักงาน ป.ป.ท. 
  • ผลการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้เห็นถึงโอกาสที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้ปรับปรุงแนวนโยบาย ข้อกฎหมาย และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่ทุกส่วนราชการ ควรต้องถือปฏิบัติร่วมกัน ได้แก่ การจัดทำช่องทางการแจ้งเบาะแส การรักษาความลับของข้อมูลผู้แจ้งเบาะแส และแนวทางการการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์ และอังศุธร ศรีสุทธิสอาด. (2563). ราชการไทยไร้คอร์รัปชัน: การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์
  • อังศุธร ศรีสุทธิสอาด
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

ราชการไทยไร้คอร์รัปชัน : การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต

ศึกษาปัญหาการแจ้งเบาะแสการทุจริตในราชการไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่จากหน่วยงานรัฐส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น เพื่อสำรวจความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐและพฤติกรรมการแจ้งเบาะแสการทุจริต

มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน

ศึกษากลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันและแนวทางเสริมสร้างกลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง และสิทธิเสรีภาพ

การเสริมสร้างประสิทธิผลของระบบการให้เบาะแสในประเทศไทยและการส่งเสริมความร่วมมือในระดับพื้นที่ภาคใต้เพื่อป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐ

พัฒนาและปรับปรุงมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสให้สอดรับกับมาตรฐานสากลและสามารถรองรับ “ต้นทุน” ให้กับผู้แจ้งเบาะแสได้

การพัฒนาความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย: ศึกษาประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ศึกษาความร่วมมือในการป้องกันการทุจริตระหว่างคณะกรรมการ ป.ป.ช. กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และศึกษาประสบการณ์ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เรื่องความร่วมมือและระบบการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ให้เบาะแส (whistleblower) เพื่อเสนอแนะแนวทางป้องกันการทุจริตผ่านทางประสบการณ์ของประเทศกรณีศึกษา

You might also like...

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้

บทความวิจัย : การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้สามารถติดตามปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้ ต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต

บทความวิจัย : การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรการสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมวิชาชีพร่วมกันของพนักงาน โดยการจัดสวัสดิการอย่างเท่าเทียม และยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงมีกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักธรรมาภิบาล