ลงมือสู้โกง : เปลี่ยนกรุงเทพฯ ใครทำได้?

ตั้งแต่ช่วงปลายปี’64 ที่ผ่านมาเราคงเห็นแล้วว่าสนามแข่งขันผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเริ่มคึกคัก โดยการทยอยเปิดตัวผู้สมัครของสังกัดพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึงผู้สมัครอิสระ ซึ่งนอกจากประวัติ ชื่อเสียง และความสามารถของผู้สมัครจะเป็นที่น่าสนใจในการใช้เป็นข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯกทม. ของชาวกรุงเทพฯ แล้ว เรื่องนโยบายในการเข้ามาแก้ปัญหารุมเร้าต่างๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะชาวกรุงเทพฯ เองก็คงวาดฝันอยากมีชีวิตดีๆ ที่ลงตัว ตามสโลแกนที่ติดอยู่กลางเมืองที่เราเฝ้ารอให้เป็นจริงมาแสนนาน

นโยบายที่จะสามารถซื้อใจชาวกรุงเทพฯ ได้ ก็คงหนีไม่พ้นการแก้ปัญหาคาใจชาวเมืองที่กวนใจมานานและไม่มีท่าทีจะทุเลาลงเลยแม้ว่าเราจะเปลี่ยน
ผู้ว่าฯมากี่คนแล้วก็ตาม ซึ่งปัจจุบัน ปี 2565 กรุงเทพมหานครเดินทางมาถึงครึ่งทางของแผนพัฒนาระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) เพื่อปลายทางแห่งการเป็นมหานครแห่งเอเชีย โดยวางเป้าหมายการพัฒนาออกเป็น 7 ด้านด้วยกัน ได้แก่ มหานครปลอดภัย มหานครสีเขียวสะดวกสบาย มหานครสำหรับทุกคน มหานครกระชับ มหานครประชาธิปไตย มหานครแห่งเศรษฐกิจและเรียนรู้ และการบริหารจัดการเมืองมหานคร แต่ในความเป็นจริงนั้นเหมือนเรายังไม่เข้าใกล้คำว่ามหานครเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะเรายังคงเห็นปัญหาต่างๆ ทั้งน้ำเน่าน้ำท่วม ขยะล้นเมือง ทางเท้า รถติดปัญหาเหล่านี้ยังก่อกวนการใช้ชีวิตประจำวันของชาวเมืองมาโดยตลอด ซึ่งก็ไม่รู้ว่าแก้ปัญหากันถูกจุด ถูกใจชาวเมืองหรือไม่

ผู้ว่าฯคนใหม่ที่จะอาสามาแก้ปัญหาให้ชาวกรุงเทพฯ ได้จริงจำเป็นต้องออกแบบนโยบายการแก้ปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งจากการลงพื้นที่สัมผัสปัญหาจริงของประชาชน การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และการใช้ข้อมูลย้อนหลังต่างๆ มาวิเคราะห์ ซึ่งการรวบรวมข้อมูลย้อนหลังนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะในปัจจุบันมีการรวบรวม DATA มาเปิดเผยวิเคราะห์ในหลากหลายรูปแบบ โดยทีม WeVis ได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกของปัญหา 5 ด้านของชาวเมืองมาให้เห็นกันชัดๆ เลยว่าปัญหาอะไรเกิดที่เขตไหนบ่อยสุด เริ่มตั้งแต่ 1) ปัญหาน้ำท่วมซึ่งเป็นปัญหาสามัญประจำกรุงเทพฯ ที่อาจจะดูว่าท่วมกันแทบจะทุกพื้นที่ แต่จากข้อมูลในปี 2564 เขตสาทร และดินแดง เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังมากที่สุด 2) ปัญหาน้ำเน่าเป็นปัญหาหลักของชาวคลองเตยที่มีค่า BOD (Biological Oxygen Demand) มากที่สุด 3) มลพิษทางอากาศที่เขตจอมทองซึ่งมีสถิติค่าPM2.5 สูงสุดในปี 2564 4) ปัญหาการขาดพื้นที่สีเขียวที่เขตบางกอกใหญ่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อคนน้อยที่สุด คือ 2.22 ตร.ม./คน และปัญหาสุดท้ายที่เจอกันอย่างถ้วนหน้าและยังส่งผลต่อการพัฒนาเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน นั่นคือการขาดข้อมูลเปิดจากภาครัฐในการเข้าถึงที่เป็นประโยชน์ของประชาชนโดยเฉพาะเรื่อง “งบประมาณเบิกจ่ายใช้จริง” ที่ยังไม่มีการเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ หลายๆ คนคงอยากรู้ว่าภาษีที่เราจ่ายไปนั้นถูกนำไปใช้แก้ปัญหามากน้อยแค่ไหน โดยทางทีม WeVis ได้ค้นหาข้อมูลงบประมาณการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ทั้ง 4 พบว่าถูกตั้งงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาไว้รวมแล้ว 8.05% ของงบประมาณ กทม. ทั้งหมดแต่เรากลับไม่สามารถค้นหาได้เลยว่างบประมาณเหล่านี้ถูกใช้จริงเพื่อแก้ปัญหาไว้เท่าไร

ถึงแม้การมีส่วนร่วมของประชาชนจากภาครัฐจะยังไม่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงเท่าไรนัก แต่เมื่อปลายปี 2564 ทีม Punch up และเครือข่ายได้ร่วมกันระดมความเห็นชาวกรุงเทพฯ ว่าถ้าหากมีส่วนร่วมในการใช้งบประมาณแก้ปัญหากรุงเทพฯ ได้ อยากนำไปแก้เรื่องไหนมากที่สุด ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 4 อันดับแรกจากเว็บไซต์ “Bangkok budgeting อยู่เมืองนี้ต้องรู้เยอะ” ชี้ว่าอยากให้นำไปแก้เรื่องพัฒนาทางเท้ามากสุดถึง 16.79% รองลงมาคือเรื่องจัดระเบียบผังเมืองให้เหมาะสม 14.05% และสุดท้ายคือการแก้ปัญหาจราจรติดขัด 11.60% ซึ่งสูสีกับเรื่องปัญหาการระบายน้ำและการจัดการน้ำท่วม11.30% นี่คงเป็นข้อมูลที่พอจะชี้นำผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ได้บ้างแล้วว่าถ้าเข้ามาบริหารจัดการภาษีจากประชาชนเพื่อไปแก้ปัญหาให้ประชาชนนั้น ควรใช้งบประมาณอย่างไรและควรแก้ไขที่เรื่องไหนเป็นอันดับแรกถึงจะทำให้เราก้าวเข้าใกล้การเป็นมหานครแห่งเอเชียได้ทัน ปี 2575 ได้จริงตามแผนที่วางไว้

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

นันท์วดี แดงอรุณ

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

“ถ้ารัฐบาลนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นโกง ก็ปฏิวัติเสียดีกว่า เอาคนดีมาจัดการนักการเมืองโกง” วาทกรรมที่คุ้นหูนี้สะท้อนความคิดที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ การรัฐประหารที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศไทย กลับไม่เคยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน ตรงกันข้าม ปัญหากลับทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นว่าการใช้อำนาจเผด็จการเด็ดขาดไม่ใช่คำตอบ แต่กลับเป็นการให้อำนาจประชาชนอย่างแท้จริงผ่านระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งต่างหาก

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : #JUSTICE_FOR_SEUNGHAN ส่องวิกฤติบริษัทที่ว่าด้วยศรัทธาสาธารณะ และภาพมายาความเป็นเจ้าของชีวิต ‘ไอดอล’ ของแฟนคลับ

ปรากฏการณ์สำคัญที่กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ การที่บริษัทค่ายเพลงขนาดใหญ่อย่าง SM Entertainment ได้ออกแถลงการณ์ว่า ‘ฮง ซึงฮัน’ (Hong Seunghan) หนึ่งในสมาชิกของวง ‘RIIZE’ (ไรซ์) ซึ่งถูกพักงานและระงับการเข้าร่วมกิจกรรมของวงเป็นการชั่วคราวเมื่อปีที่ผ่านมา

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : ‘อาหรับสปริง’ จุดเริ่มต้นจาก 1 ประชาชน สู่การปฏิวัติกว่า 15 ประเทศ

ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศของตัวเองดีขึ้น… ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองมีความยุติธรรม… ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองไม่มีการคอร์รัปชัน… แต่หลายคนมองว่าเราเป็นเพียงประชาชนตัวเล็กๆ คนหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ การเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่มีทางที่คนหนึ่งคนจะทำได้จริง แต่เชื่อหรือไม่ว่าในประเทศตูนิเซียมีชายขายผักที่ออกมาเรียกร้องความยุติธรรมจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์การลุกฮือปฏิวัติในประเทศอาหรับมากกว่า 15 ประเทศ

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้