KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I แก้ปัญหาคอร์รัปชัน ด้วยการสร้างองค์ความรู้ระดับหมู่บ้านในอินโดนีเซีย

“การแก้ปัญหาคอร์รัปชันนั้นไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยองค์กรใดเพียงองค์กรหนึ่ง แต่จำเป็นต้องพึ่งพาการมีส่วนร่วมจากทุก ๆ ด้าน รวมถึงจากประชาชนด้วยเช่นกัน” Firli Bahuri ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประเทศอินโดนีเซียได้กล่าว

เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา The Corruption Eradication Commission (KPK) หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอินโดนีเซียเริ่มโครงการส่งเสริมแนวคิดดังกล่าว โดยการต่อต้านทุจริตระดับหมู่บ้าน ที่ปาดัง (Padang) เมืองทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา โดยโครงการนี้ได้เริ่มตั้งแต่ปี 2565 คัดเลือก 10 หมู่บ้านนำร่อง ก่อนจะเข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อต้านทุจริต โดยหมู่บ้านที่เข้าร่วมจะได้รับเอกสารและสรุปข้อมูลที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพเพื่อหาหมู่บ้านที่เหมาะสมกับตำแหน่ง “หมู่บ้านต่อต้านทุจริต” โดยเจ้าหน้าที่รัฐและผู้สังเกตการณ์ และมอบรางวัลให้กับหมู่บ้านที่สามารถปฏิบัติไปตรงตามข้อกำหนดตัวชี้วัดของโครงการ

บทสรุปของโครงการพบว่าหลายหมู่บ้านมีคะแนนสูง หมู่บ้าน Banyubiru ได้รับคะแนนการประเมินสูงสุดคือ 96.75 คะแนน หมู่บ้าน Cibiru Wetan ได้ 96.16 และหมู่บ้าน Kumbang 95 คะแนน นอกจากนั้นยังมีหมู่บ้าน Kamang Hilia และ Kutuh ที่ได้คะแนนลงมาตามลำดับ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการสร้างการมีส่วนร่วมระดับท้องถิ่นเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน คะแนนที่สูงแสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ที่ประชาชนได้รับ และสิ่งที่น่าจับตามองคืออนาคตของโครงการว่าจะพัฒนาไปในทิศทางไหน จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไรบ้างเพื่อลดปัญหาคอร์รัปชันลงได้

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

มาแล้ว !! โอกาสพัฒนาความรู้สู่การต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

KRAC ชวนทุกคนมาเรียน “หลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย” ที่จะพาผู้เรียนมาทำความเข้าใจกับการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาประยุกต์ไปกับหลายศาสตร์หลากมุมมองและมีตัวอย่างกรณีศึกษาให้เรียนรู้ สอดแทรกไปกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับองค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบัน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุขและความชุ่มฉ่ำในเทศกาลแห่งความสุขอย่างเทศกาลสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ที่เต็มไปด้วยความหมายด้านวัฒนธรรม สังคม วันที่ 13-14 เมษายน ก็ยังเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัวไทยอีกด้วย โดยตลอดช่วงเวลานี้ของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาแห่งความอบอุ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากมายได้เดินทางกลับบ้านกลับภูมิลำเนาเพื่อไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ไปรวมญาติที่ไม่ได้พบกันนาน หรือไปเล่นน้ำคลายร้อนกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)