แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) สร้างเครือข่ายธุรกิจสะอาด ไร้สินบน

อยากทำธุรกิจให้โปร่งใส ไม่ขอจ่ายเเละรับสินบน เเต่ดูเหมือนไม่มีใครเข้าใจ CAC ช่วยคุณได้ !!

การจะแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันให้สำเร็จ จะแก้ที่ภาครัฐเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ภาคธุรกิจเอกชนก็ต้องเข้ามามีบทบาทด้วย จึงเป็นที่มาของ โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต หรือ CAC เป็นความริเริ่มของภาคเอกชนไทยในการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 โดยมุ่งสร้างและขยายแนวร่วมในภาคเอกชนในรูปแบบของ collective action เพื่อสร้างกระแสการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันด้วยการส่งเสริมให้บริษัทต่าง ๆ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการที่จะปฏิเสธการรับและจ่ายสินบน รวมถึงการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ

ด้วยเหตุนี้ CAC จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้ โดยได้พัฒนาระบบการรับรองบริษัทที่มีนโยบายและระบบควบคุมภายใน เพื่อป้องกันการจ่ายสินบนในการทำธุรกิจ หากบริษัทเอกชนทุกประเภทและทุกขนาดในประเทศไทย เข้ามาเป็นแนวร่วม CAC มากขึ้นเรื่อย ๆ  จะนำไปสู่การสร้างแรงกดดันต่อผู้ประกอบการอื่น ๆ ในภาคธุรกิจให้ยกระดับมาตรฐานการต่อต้านคอร์รัปชันให้ขึ้นมาอยู่ระดับเดียวกับสมาชิก CAC โดยปัจจุบัน มีบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์เเล้วกว่า 1,549 แห่ง เเละได้รับการรับรองจาก CAC มากถึง 517 บริษัท

ในฝั่งของบริษัทที่ต้องการเข้าร่วม CAC สามารถเข้าไปลงทะเบียน และยื่นประกาศเจตนารมณ์ผ่านระบบออนไลน์ทาง เว็บไซต์ CAC เพื่อระบุถึงเจตนารมณ์ของบริษัทในการที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของภาคเอกชนไทยในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน รวมถึงความรับผิดชอบของบริษัทต่อกระบวนการ Incident Management กรณีที่บริษัทเกิดมีข่าวเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชันด้วย

การผ่านการรับรองจาก CAC จึงเป็นการแสดงจุดยืนขององค์กร เพื่อสื่อสารกับสังคมว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่โปร่งใส อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ว่าบริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการที่จะไม่เข้าไปข้องแวะกับการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ และเป็นการยกมาตรฐานการทำธุรกิจของภาคเอกชนไทยในอีกทางหนึ่งด้วย

🚩 แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) 
🚩 ประเทศ :
ไทย
🚩 ดำเนินการโดย : สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หอการค้าไทย หอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

HAND Social Enterprise

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

ลงทุนกับกองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (THAI CG Fund) สร้างสังคมปลอดโกง

ลงทุนในกองทุนรวมที่ใส่ใจสังคม นอกจากได้ผลตอบแทนระยะยาว และบริหารความเสี่ยงต่อการผันผวนในตลาดกองทุนจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้ลงทุนยังได้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอีกด้วย

งบโปร่งใส ส.ส. ตรวจสอบได้ Statsregnskapet

ข้ามมาอีกทวีปหนึ่งกันบ้าง กับไอเดียใช้ข้อมูลจับตาโปร่งใสของภาครัฐ กับประเทศสแกนดิเนเวียที่ขึ้นชื่อว่าโปร่งใส ไร้คอร์รัปชันเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เราจะขอยกตัวอย่างเทคโนโลยี Open data ที่ชาวนอร์เวย์ใช้กันในปัจจุบันเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาล อย่างเว็บไซต์ Statsregnskapet

You might also like...

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้

บทความวิจัย : การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้สามารถติดตามปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้ ต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต

บทความวิจัย : การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรการสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมวิชาชีพร่วมกันของพนักงาน โดยการจัดสวัสดิการอย่างเท่าเทียม และยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงมีกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักธรรมาภิบาล