KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | สื่อต่อต้านคอร์รัปชันในต่างประเทศ เขาสอนกันอย่างไร ?

นิทานต่อต้านคอร์รัปชันในไทยส่วนใหญ่ เป็นอย่างไร ? 

 

เชื่อว่าทุกคนโตมากับนิทานและรู้จักมักคุ้นกับเรื่องเล่าพื้นบ้าน ตำนาน หรือประวัติศาสตร์ไทยเป็นอย่างดี ซึ่งจุดประสงค์หลัก ๆ ของเรื่องเล่าเหล่านี้คือการสอนใจ ชี้ให้ผู้ฟังเห็นถึงคุณค่าของการมีคุณธรรม ความขยัน การมีวินัย ความสามัคคี และการต่อต้านคอร์รัปชันก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สอดแทรกอยู่ในนิทาน แม้ส่วนใหญ่จะไม่ได้สื่อสารออกมาตรง ๆ แต่ก็มีการปลูกฝังผ่านค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต การไม่คดโกง และเคยสังเกตไหมว่าตอนจบของนิทานหรือเรื่องเล่าเหล่านั้นมักจะมีพ่อแม่ ครู หรือพระคอยสั่งสอน ชี้นำ อบรม ลงโทษ หรือให้รางวัล ซึ่งไม่ได้มาจากตัวเด็กเอง  

นี่เป็นหนึ่งในข้อค้นพบที่น่าสนใจจากงานวิจัยภายใต้ “โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน (2561) โดย ผศ. ดร.ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ ซึ่งได้ศึกษานิทาน และสื่อนิทานและแอนิเมชันที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศทั้งหมด 20 ชุด  โดยพบว่า ส่วนใหญ่แล้วนิทานไทยมักจะสอนเรื่องความซื่อสัตย์หรือการต่อต้านคอร์รัปชันแบบบนลงล่าง หรือการที่มีผู้ที่เหนือกว่ามาคอยบอก เช่น หนังสือในชุด “นิทานคุณธรรมจากพระราชดำรัส” (2557) ที่เล่าเกี่ยวกับเรื่องราวของเด็กชายที่ได้รับเงินทอนเกินจากแม่ค้า จึงต่อสู้กับความคิดตัวเองว่าจะคืนให้แม่ค้าหรือเอาเงินไปซื้อของเล่น แต่เมื่อนึกถึงเรื่องความซื่อสัตย์ที่พ่อเคยสอน เด็กคนนั้นจึงนำเงินไปให้แม่ค้าและได้รับคำชมว่าเป็นเด็กซื่อสัตย์ หรือสื่อแอนิเมชันชุดชุมชนนิมนต์ยิ้มที่เล่าเรื่องราวของมะอึกที่ได้หลุดมิติจากสมัยอยุธยามายังชุมชนคลองพุทธในยุคปัจจุบัน การดำเนินเรื่องจะเกี่ยวกับปัญหาของคนในชุมชนซึ่งหลวงพี่จะคอยเป็นผู้ชี้นำให้ปัญหานั้นผ่านไป  

การศึกษา พบว่าการนำเสนอในรูปแบบดังกล่าวอาจไม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้มีบทบาทแบบที่ควรจะเป็น และอาจทำให้เด็กขาด Critical Thinking

ซึ่งหมายถึงความคิดเชิงวิพากษ์ การวิเคราะห์จากความเป็นเหตุเป็นผลโดยปราศจากอารมณ์ และฝึกฝนทักษะในการตัดสินใจ นิทานหรือสื่อที่ดีอาจต้องทำเด็กได้รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบของปัญหาหรือพฤติกรรมคอร์รัปชันหรือความไม่ซื่อสัตย์ ช่วยให้เด็กเรียนรู้จากวิจารณญาณของตัวเอง ผ่านการชี้ให้เห็นสาเหตุของการกระทำและผลกระทบของการกระทำที่ไม่ซื่อตรงหรือคอร์รัปชัน  

งานวิจัย ชี้แนะเพิ่มเติมว่าสื่อในการต่อต้านคอร์รัปชันเอง ก็อาจจะต้องมีความหลากหลายมากขึ้น

เช่น ในฮ่องกงที่ผลิตเกมที่เนื้อหาเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่ผลักดันโดย Hong Kong Independent Commission Against Corruption หรือองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฮ่องกง โดยเกมจะทำให้เด็กได้รับบทบาทเป็นตัวละครในเกมทั้งหมดสี่คนและร่วมกันต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชัน ช่วยให้เด็กสนุกสนานและเรียนรู้เรื่องของคุณธรรม ความซื่อสัตย์

นอกจากนี้ ประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย หรือจีน ก็มีการนำเสนอการต่อต้านคอร์รัปชันในรูปแบบการจัดนิทรรศการและการวาดรูปแบบการ์ตูนส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งถ้าหากประเทศไทยสามารถพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนในการต่อต้านคอร์รัปชันได้ คนกลุ่มเหล่านี้ก็จะกลายเป็นกำลังสำคัญและสร้างสังคมที่ไร้คอร์รัปชันในอนาคต 

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

มาแล้ว !! โอกาสพัฒนาความรู้สู่การต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

KRAC ชวนทุกคนมาเรียน “หลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย” ที่จะพาผู้เรียนมาทำความเข้าใจกับการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาประยุกต์ไปกับหลายศาสตร์หลากมุมมองและมีตัวอย่างกรณีศึกษาให้เรียนรู้ สอดแทรกไปกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับองค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบัน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิดเป็นเหตุ: สำรวจสถานการณ์ทุจริตที่เพิ่มขึ้นในช่วงโรคระบาด

การระบาดของโควิด-19 นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก โดยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าการให้และเรียกรับสินบนในภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ? อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลย