KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ชวนดู 5 อันดับการคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้องเรียนคอร์รัปชันปีละพันเรื่อง !!

 

ถิติร้องเรียนเรื่องทุจริตของเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อ .. หรือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติช่วงปี 2553-2557 พบว่าตลอด 5 ปี มีการร้องเรียนมากถึง 6,260 เรื่อง หรือตกปีละ 1,252 เรื่อง ซึ่งถือว่าแต่ละปีมีไม่น้อยเลย แม้หลายเรื่องยังไม่ตัดสินคดีความ แต่ก็ชวนตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใสและการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะลองคิดดูว่าถ้างบประมาณท้องถิ่นต้องหายไปเพราะการทุจริต การศึกษาที่ดี สาธารณสุขที่ดี หรือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็คงเกิดขึ้นได้ยาก  

งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(2562) โดย ศักรินทร์ นิลรัตน์จากงานวิจัยจากวารสารวิชาการ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ทำการศึกษาการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหยิบเอาคดีทั้งหมด 292 คดี ที่สำนักงาน ป... ชี้มูลความผิดแล้ว มาแบ่งเป็น 5 รูปแบบ พร้อมข้อเสนอแนะว่าเราจะจัดการกับการทุจริตนี้อย่างไรได้บ้าง ? 

เริ่มจากการทุจริตที่ทำกันมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือการจัดซื้อจัดจ้าง

การทุจริตประเภทนี้มีทั้งหมด 159 คดี คิดเป็น 54 % กรณีที่ทำกันมากที่สุดคือการโกงกันในขั้นตอนหาแหล่งจัดซื้อหรือจ้างคนมารับงาน ที่เจ้าหน้าที่จะเลือกแค่คนรู้จัก และกีดกันคนอื่น ๆ ส่วนกรณีรองลงมาเป็นการจ่ายเงินให้เอกชนทั้งที่งานยังไม่เสร็จ หรือได้งานไม่ตรงกับที่ตกลงกันไว้ 

อันดับ 2 การทุจริตในงานการเงินและบัญชี

ทั้งหมด 79 คดี คิดเป็น 27 % ซึ่งการโกงรูปแบบนี้จะมีสองแบบ แบบแรกคือการยักยอก อย่างการเก็บภาษีแล้วเอาเข้ากระเป๋าตัวเอง แบบที่สองคือการปลอมแปลงเอกสารแล้วแอบเอาเงินส่วนต่างไป 

อันดับ 3 การทุจริตในการบริหารงานบุคคล

มีทั้งหมด 37 คดี คิดเป็น 13 % ซึ่งจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงที่มีการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุ แต่งตั้ง หรือโยกย้าย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการเรียกเงินหรือจ่ายเงินเพื่อให้ได้ตำแหน่ง และนอกจากนี้ยังมีการโกงเงินข้าราชการตัวเล็ก ๆ อย่างช่วงสิ้นปีแทนที่จะได้โบนัสแต่กลับต้องเสียส่วนแบ่งให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ถ้าไม่จ่ายก็จะไม่ได้โบนัส  

อันดับ 4 การทุจริตในการบังคับใช้กฎหมาย

มีทั้งหมด 9 คดี คิดเป็น 3 % ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้กฎหมายในทางที่ผิด เช่น แก้ไขงบประมาณรายปีโดยไม่ผ่านสภาท้องถิ่น ใช้ประโยชน์จากช่องว่างของกฎหมายเพื่อพวกพ้อง บางครั้งก็เป็นการละเว้นไม่ดำเนินคดี หรือเรียกเก็บเงินเพื่อจะได้ไม่เอาผิด 

อันดับ 5 การทุจริตในการบริการ

มีทั้งหมด 8 คดี คิดเป็น 3 % ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการขออนุญาต หรืองานบริการ เช่น แจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ที่จะมีการเรียกเงินสินบน  

บทสรุปงานวิจัยเป็นข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน  

ส่วนที่ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  

  • ควรส่งเสริมให้ข้าราชการมีจิตสำนึกสาธารณะ นึกถึงส่วนรวมมากขึ้น มีการลงโทษให้เกรงกลัวจนไม่กล้าทุจริต และมีคู่มือปฏิบัติงานเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ 
  • กำหนดนโยบายให้มีการสอบวัดความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวการบริหารก่อนจะมาเป็นทำหน้าที่ผู้บริหารการปกครองท้องถิ่น  
  • ประชาสัมพันธ์งบประมาณเพื่อสร้างความโปร่งใส เพิ่มกรรมการตรวจรับงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีการสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องการเงินตามเวลาที่เหมาะสม และขยายโครงสร้างขององค์กรเพื่อลดความซับซ้อนในการทำงาน ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพ 

ส่วนที่ 2 สำนักงาน ป.ป.ช.  

  • ควรตรวจสอบการทุจริตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง 
  • เสริมสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการไต่สวนคดีทุจริต   
  • ดำเนินการเชิงรุกและเฝ้าระวังการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น เช่น ลงพื้นที่สุ่มตรวจโครงการต่าง ๆ สร้างเครือข่ายช่วยตรวจสอบ 
  • ดึงประชาชนเข้ามาส่วนร่วมกับการตรวจสอบ รวมทั้งจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ให้กับประชาชน เช่น เรื่องของงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง 

ส่วนที่ 3 ภาคประชาชน  

  • ต้องร่วมกันตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น 
  • เมื่อพบความปกติให้แจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ 

หากใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จากงานวิจัย เรื่อง “รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (2562) โดย ศักรินทร์ นิลรัตน์

#ท้องถิ่น #รัฐบาล #โครงการรัฐ #อบจ #อบต #ปปช #การเมือง #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption 

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการโกง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ดี

หากกล่าวถึง “สาเหตุของคอร์รัปชัน” สิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็น นักการเมืองที่จ้องจะโกงหรือตัวกฎหมายที่มีช่องว่างให้คนโกง แต่จริง ๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวอย่าง “วัฒนธรรมชุมชน” ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันได้เช่นกัน

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ