KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ภาคธุรกิจอาจเสียเงินเปล่าจากการจ่ายสินบน

ภาคธุรกิจอาจเสียเงินเปล่าจากการจ่ายสินบน 

 

ในการทำธุรกิจ หลายครั้งผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการต้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อดำเนินการ เช่น ทำเรื่องขอค้าขาย ทำเรื่องขอใบจัดตั้งโรงงาน และต้องยอมจ่ายเงิน สินบนให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยให้การทำเรื่องเร็วขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะต้องรอทำเรื่องเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งหลายคนก็มองว่าการยอมจ่ายเล็กน้อยเพื่อให้กิจการคล่องขึ้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้  

รวมถึงในทางเศรษฐศาสตร์ก็มีสมมติฐานที่เรียกว่า “Grease Money Hypothesis” หรือ เงินหล่อลื่นที่เชื่อว่า การคอร์รัปชันในรูปแบบสินบนจะทำให้การทำธุรกิจคล่องตัวขึ้น แต่ความจริงอาจไม่ใช่แบบนั้น เพราะการจ่ายสินบนนอกจากจะไม่ช่วยดำเนินการให้เร็วขึ้นแล้ว ยังทำให้ช้าลงอีกด้วย 

จากงานวิจัย เรื่อง “สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลกระทบของการจ่ายสินบนของภาคธุรกิจไทย” (2546)  โดยเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ และคณะ ได้ดำเนินการพิสูจน์สมมติฐานนี้ โดยใช้แบบจำลองทฤษฎีเกม Stakelberg ของ D.Kaufmann และ S.j. Wei (1999) ผลการทดสอบพบว่า ตัวแปรความล่าช้าที่หน่วยงานธุรกิจต้องเจอในการติดต่อราชการ และตัวแปรจำนวนเงินสินบนที่หน่วยงานธุรกิจจ่าย มีความสัมพันธ์ในทางบวก ซึ่งหมายความว่าการจ่ายเงินสินบนให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อให้ดำเนินการเร็วขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องจริง แต่ยังทำให้ช้าลงอีกด้วย

สาเหตุเพราะเจ้าหน้าที่รัฐพยายามตั้งใจให้เกิดความล่าช้าในดำเนินการ (นานที่สุดเท่าที่คนทำธุรกิจจะรับได้) เพื่อที่จะเรียกสินบนได้สูงสุด ทำให้ผู้ติดต่อต้องเจอกับทั้งความล่าช้าที่เจ้าหน้าที่ตั้งใจ บวกกับความล่าช้าโดยปกติทำให้การดำเนินการยิ่งนานขึ้นไปอีก ท้ายที่สุด สินบนในภาคธุรกิจที่เคยเข้าใจว่า ช่วยทำให้ธุรกิจคล่องตัว อาจเป็นเพียงเงินเสียเปล่าที่ภาคธุรกิจต้องจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต ซึ่งถือเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตและส่งผลกระทบไปถึงผู้บริโภคที่ต้องรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปด้วย  

งานวิจัยก็มีข้อเสนอแนะว่า หากต้องการแก้ไขปัญหาหรือลดการจ่ายสินบนในภาคธุรกิจ ต้องเพิ่มอำนาจต่อรอง (bargaining power) ให้กับภาคธุรกิจ ซึ่งอาจจะทำได้ด้วยการรวมกลุ่มธุรกิจในรูปแบบองค์กรหรือสมาคม ให้เป็นตัวแทนติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพิ่มช่องทางและโอกาสที่เจ้าหน้าที่รัฐทุจริตจะถูกจับได้ เพื่อทำให้ต้นทุนการเรียกร้องสินบนของเจ้าหน้าที่สูงขึ้น และจะนำไปสู่การเพิ่มอำนาจต่อรองของภาคธุรกิจ ในส่วนของภาครัฐเองก็ต้องหานโยบายช่วยลดอุปสรรคในการดำเนินการและพัฒนาธุรกิจ เช่น แก้ไขปัญหาอิทธิพล/มาเฟีย และปัญหาคอร์รัปชันในประเทศ เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น  

#เอกชน #ธุรกิจ #ทำธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption  

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ที่มา

เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ และคณะ. (2546). สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และผลกระทบของการจ่ายสินบนของภาคธุรกิจไทย. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: กรุงเทพฯ. 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เกาหลีใต้เอาชนะการทุจริตจากผู้มีอิทธิพลภาคธุรกิจได้อย่างไร ?

การทำธุรกิจนั้นมีการแข่งขันสูง หลายธุรกิจมีแรงกดดันที่ต้องเอาชนะคู่แข่งในตลาด ต้องพยายามลดต้นทุนให้น้อยลงและสร้างรายได้ให้มากขึ้น จนหลายบริษัทเลือกที่จะใช้ “ทางลัด” หรือคอร์รัปชัน เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางต้นทุน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ภาคธุรกิจอาจเสียเงินเปล่าจากการจ่ายสินบน

ในการทำธุรกิจ หลายครั้งผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการต้องยอมจ่ายเงิน “สินบน” ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยให้การทำเรื่องเร็วขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะต้องรอทำเรื่องเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งหลายคนก็ยอมจ่ายเล็กน้อยเพื่อให้กิจการคล่องขึ้น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

You might also like...

บทความวิจัย : การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้สามารถติดตามปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้ ต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต

บทความวิจัย : การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรการสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมวิชาชีพร่วมกันของพนักงาน โดยการจัดสวัสดิการอย่างเท่าเทียม และยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงมีกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักธรรมาภิบาล

บทความวิจัย : กลไกป้องปรามการทุจริตของภาคประชาชนผ่านการสอดส่องและเสนอแนะ

การดำเนินกลไกป้องปรามการทุจริตผ่านคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน และสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ใช่ผู้บริหารในการตรวจสอบและติดตามการดำเนินโครงการจะทำให้เกิดความโปร่งใสและความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการ