KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I ประเทศที่จัดการคอร์รัปชันได้ดีเป็นอันดับ 2 เขาจัดการด้านคุณธรรมอย่างไร?

รู้จักกับ FISA แบบประเมินคุณธรรมป้องกันการทุจริตในนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ได้อันดับสองของการจัดอันดับคะแนน CPI หรือดัชนีการรับรู้การทุจริต ด้วยคะแนนที่สูงถึง 88 คะแนน จากการพยายามแก้ปัญหาคอร์รัปชัน สร้างความโปร่งใสและคุณธรรม ตัวอย่างความพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ “FISA” เครื่องมือการประเมินเพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณธรรม และช่วยลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรด้านการเงิน

FISA คือ เครื่องมือการประเมินคุณธรรมของภาคการเงินที่เปิดตัวเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา โดย Adrian Orr ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ จุดประสงค์ของการประเมินเพื่อให้กลายเป็นแนวทางที่จะใช้ในการพัฒนาคุณธรรมให้กับองค์กรด้านการเงิน โดยมีองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคาร บริษัทด้านการเงิน กองทุนการออมเพื่อการเกษียณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สมาคมก่อสร้าง สถาบันการเงิน

โดยการประเมินจะมุ่งไปที่ 9 ประเด็นสำคัญ คือ 1. ธรรมาภิบาล 2. ความรับผิดชอบ 3. การจัดการนโยบาย 4. การสื่อสาร 5. ทรัพยากรมนุษย์ 6. การบริการลูกค้า 7. การจัดการความเสี่ยง 8. การทำงาน และ 9. จัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งหลังจากจบการประเมิน องค์กรจะได้รู้ผลคะแนนขององค์กรตัวเองเทียบกับองค์กรอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบไม่ระบุชื่อ ทำให้องค์กรนั้นสามารถนำเอาคะแนนที่ได้ไปทบทวนและพัฒนาคุณธรรมภายในองค์กรและช่วยป้องกันการทุจริตได้

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

มาแล้ว !! โอกาสพัฒนาความรู้สู่การต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

KRAC ชวนทุกคนมาเรียน “หลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย” ที่จะพาผู้เรียนมาทำความเข้าใจกับการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาประยุกต์ไปกับหลายศาสตร์หลากมุมมองและมีตัวอย่างกรณีศึกษาให้เรียนรู้ สอดแทรกไปกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับองค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ในการสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สร้างความสำเร็จในหน่วยงานด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตามแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีตัวอย่าง 6 หน่วยงานรัฐไทยที่ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จในการสร้างธรรมาภิบาล…ปัจจัยความสำเร็จเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ? และผลลัพธ์ของการมีธรรมาภิบาลจะเป็นเช่นไร ? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

You might also like...

KRAC Extract | LGBTQI+ กับคอร์รัปชัน: เมื่อศักดิ์ศรีถูกลดค่าในสังคมที่ไม่เท่าเทียม

ชวนเจาะลึกรายงาน “The Impacts of Corruption on LGBTQI+ Rights” ที่เผยให้เห็นว่า การคอร์รัปชันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่มันกระทบต่อชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้คน มาร่วมเรียนรู้ว่า เราจะสร้างนโยบายต้านคอร์รัปชันที่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์ได้อย่าง

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I หน่วยงานต้านโกงฮังการีตั้งเป้าหมาย เริ่มพัฒนา AI ต่อสู้คอร์รัปชันในอนาคต

ฮังการีรายงานผลการทำงานปีที่ผ่านมาพร้อมประกาศเริ่มพัฒนา AI แก้ปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อเปิดทางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเรียลไทม์

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด