KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 6 ข้อดี ถ้าประชาชนมีส่วนร่วมกับการพัฒนาโครงการรัฐ

“การมีส่วนร่วมของประชาชน” Core หลักของการลด Corruption

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกกระจายอำนาจเพื่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนถูกพัฒนาอย่างทั่วถึง แต่การอยู่ห่างศูนย์กลางการปกครองโดยที่องค์กรปกครองท้องถิ่นบริหารจัดการเองโดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดการคอร์รัปชันได้ง่ายขึ้น  

งานวิจัย เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล” โดย นวลน้อย ตรีรัตน์ (2546) ได้ศึกษาการพัฒนาโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพบว่า มีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย เช่น การตั้งงบประมาณโดยไม่สนใจประชาชน, การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ตรงความต้องการของประชาชน, กำหนดจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่มีการแข่งขันหรือแข่งขันต่ำ, ผู้ควบคุมการก่อสร้างขาดความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารก่อสร้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้โครงการไม่เกิดประสิทธิผลและสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการคอร์รัปชันได้ง่าย 

การจะแก้ปัญหาคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งงานวิจัยได้สรุป ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นถ้าภาคประชาชนมีส่วนร่วมไว้ ดังนี้

เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจเพิ่มวิธีการใหม่ ๆ ให้กับประชาชน :

การที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับโครงการสาธารณะของภาครัฐ จะทำให้เกิดการทบทวนปัญหาและอาจพบวิธีการใหม่ที่นำมาแทนวิธีการเดิมที่ใช้มาตั้งแต่อดีต ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างและทำให้โครงการเกิดประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงการเกิดคอร์รัปชันได้

ลดค่าใช้จ่ายและเวลา :

ถึงแม้การร่วมกันตัดสินใจในการทำโครงการโดยประชาชนอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลา เช่น การจัดการประชุม การจัดทำการลงประชามติ แต่ข้อดีคือ เมื่อได้ข้อสรุปที่มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายแล้ว แนวทางของโครงการก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น หากมีการก่อสร้างไปแล้ว แต่มาพบที่หลังว่าไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน ทำให้ต้องยุติโครงการไปก่อน หรือไม่สามารถหาข้อยุติได้ ก็จะทำให้เสียทรัพยากรและเวลามากกว่าที่ควร

สร้างฉันทามติ :

การจัดทำโครงการอาจมีความขัดแย้งและมีความเห็นต่างก็จริง แต่การมีส่วนร่วมจะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ออกความเห็น ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจกัน และนำไปสู่การป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้

เกิดความสำเร็จในการปฏิบัติโครงการ :

เมื่อประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จะทำให้พวกเขารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ อยากเห็นแนวทางที่ตนเองโหวตนำไปใช้ หรือโครงการที่ตนได้เลือกดำเนินการไปจนสำเร็จ

หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่รุนแรง :

ความขัดแย้งในโครงการอาจนำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชุมชนจนเกิดการตั้งตนเป็นศัตรูกัน กระบวนการมีส่วนร่วมจะเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แสดงความเห็น พูดคุยกัน และนำไปสู่การมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น

เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม :

หากการตัดสินในการทำโครงการเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะทำให้เกิดความโปร่งใส และนำไปสู่การเกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมได้

โดยภาพรวมงานวิจัยทำให้เราเห็นว่า การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เเม้ว่าจะต้องใช้เวลาในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น หรือใช้งบประมาณในการจัดกระบวนการ เเต่ผลที่ได้กลับมาถือเป็นการใช้งบประมาณที่คุ้มค่าเเละเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งลดการใช้ทรัพยากร ลดความขัดแย้ง ช่วยเพิ่มความสามัคคี เพิ่มความโปร่งใสและลดการคอร์รัปชัน ซึ่งถ้าหากประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นได้มากขึ้นก็จะนำประเทศชาติไปสู่ความมั่งคั่งและความยั่งยืน

นอกจากเรื่องของประโยชน์ของการมีส่วนร่วมงานวิจัยเล่มนี้ ยังได้กล่าวถึงเรื่องของการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ และกฎหมายที่รับรองบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากงานวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล” โดย นวลน้อย ตรีรัตน์ (2546)

#ทุจริต #อบต #ท้องถิ่น #คอร์รัปชัน #AntiCorruption #KRAC #KRACCorruption

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการโกง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ดี

หากกล่าวถึง “สาเหตุของคอร์รัปชัน” สิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็น นักการเมืองที่จ้องจะโกงหรือตัวกฎหมายที่มีช่องว่างให้คนโกง แต่จริง ๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวอย่าง “วัฒนธรรมชุมชน” ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันได้เช่นกัน

You might also like...

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

การประเมินจริยธรรมของนักการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริยธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น