mojePaństwo (MyCountry) สร้างข้อมูลเปิดภาครัฐให้เข้าถึงง่าย

เพราะสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลสาธารณะของภาครัฐ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน เมื่อประชาชนมีความเข้าใจต่อ “รัฐ” ไม่เหมือนกัน จึงนำไปสู่ไอเดียการสร้างแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลเปิดสาธารณะเอาไว้ในที่เดียว

เมื่อประชาชนมีความเข้าใจต่อ “รัฐ” ไม่เหมือนกัน จึงนำไปสู่ไอเดียการสร้างแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลเปิดสาธารณะเอาไว้ในที่เดียว พร้อมกับนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่หลากหลายเพื่อให้ประชาชนเลือกเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ตามความต้องการของตนเอง และข้อมูลทั้งหมดยังสามารถดาวน์โหลดเป็น API ได้ด้วย

โดยแต่ละฟีเจอร์มีจุดเด่นที่น่าสนใจแตกต่างกันไป เช่น

  • “How are my taxes spent” ที่นำเสนอข้อมูลการคำนวณรายได้ของแต่ละบุคคลเพื่อให้ทราบว่าผู้บริหารได้นำภาษีของประชาชนไปใช้จ่ายอย่างไรบ้าง
  • “Access to public information” ที่นำเสนอข้อมูลการยื่นคำร้องเพื่อเข้าถึงข้อมูลสาธารณะและสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ
  • “Members of Paliament’s trips” ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของสมาชิกผู้แทนราษฎรในระหว่างการเดินทางเพื่อไปปฎิบัติงานต่างๆ เช่น การประชุม การเข้าอบรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคน

โดยการนำเสนอข้อมูลเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นำไปสู่การออกแบบนโยบายสาธารณะที่ตอบสนองต่อความเป็นอยู่และความต้องการของประชาชน สร้างความเชื่อมั่นต่อการทำงานของภาครัฐ และลดอัตราการคอร์รัปชันภายในประเทศได้ด้วยการสร้างความโปร่งใสในกระบวนการใช้จ่ายงบประมาณ

ผู้ใช้งานสามารถเลือกเข้าถึงข้อมูลได้จาก 4 ฟีเจอร์ในแพลตฟอร์ม ดังนี้

  1.  How are my taxes spent: นำเสนอข้อมูลการคำนวณรายได้ของแต่ละบุคคลเพื่อให้ทราบว่าผู้บริหารได้นำภาษีของประชาชนไปใช้จ่ายอย่างไรบ้าง
  2. Access to public information: นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นคำร้องเพื่อเข้าถึงข้อมูลสาธารณะและสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ หากคุณได้รับการปฏิเสธในการเข้าถึงข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ
  3. Members of Paliament’s spending: ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของสมาชิกผู้แทนราษฎรและค้นหาข้อมูลเฉพาะเจาะจงตามประเภทการใช้จ่ายอื่น ๆ
  4. Members of Paliament’s trips: รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายระหว่างการเดินทางเพื่อไปทำภารกิจทางการเมืองต่าง ๆ ของสมาชิกผู้แทนราษฎร เช่น การประชุม การเข้าอบรมของสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎรแต่ละคน ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากการเลือกประเทศปลายทางที่สส.เดินทางไปปฏิบัติภารกิจ หรือเลือกดูจากรายชื่อ สส. รายบุคคล

🚩 mojePaństwo (MyCountry)
ประเทศ : โปแลนด์
ประเภทเครื่องมือ : Monitoring Budget
ผู้จัดทำเครื่องมือ : ePaństwo Foundation – ePF ร่วมกับ Stanczyk Foundation

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

ผ่างบเมือง ให้งบประมาณเมือง…เป็นเรื่องตรวจสอบได้

งบ อบจ. สำคัญกับชีวิตเราอย่างไร? และประชาชนอย่างเรา สามารถมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละจังหวัดได้ไหม?

จับโกงงบโควิด ด้วย ACT Ai เปิดข้อมูลการใช้จ่ายเพื่อกู้วิกฤตโควิด-19

เมื่อโควิดหลากหลายสายพันธุ์กำลังบุกเข้าไทย รัฐบาลไทยต้องใช้เงินกู้สู้โควิด-19 หลายแสนล้านบาท พวกเราได้อะไรจากงบก้อนนี้บ้าง ต้องคอยจับตาดูให้ดี

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)