การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันของขบวนการเครือข่ายนายหน้าข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย

เพื่อสังเคราะห์มาตรการแก้ไขและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในขบวนการเครือข่ายนายหน้าเเรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา ที่เดินทางเข้ามาทำงานที่ประเทศไทย และถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

แรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะจากประเทศเมียนมา มีจํานวนมากที่สุดในประเทศไทย อย่างไรก็ดี แรงงานเมียนมาส่วนใหญ่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาทํางานด้วยตนเองได้ หากปราศจากขบวนการเครือข่ายนายหน้าข้ามชาติที่เป็นผู้ช่วยเหลือด้านต่าง ๆ

โดยมักจะเรียกหรือรับค่าจ้างตอบแทนในจํานวนที่สูง สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาต่อแรงงานเมียนมาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับสถานการณ์ค้ามนุษย์ของประเทศไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมา

จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของขบวนการเครือข่ายนายหน้าและรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่อง เพื่อสังเคราะห์มาตรการในการแก้ไขปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมง

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่า ลักษณะของขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานเมียนมา และรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่อง ไม่ได้กระทำโดยบุคคลเพียงคนเดียว หรือกระทําโดยลําพังแต่มีลักษณะและรูปแบบการทํางานร่วมกันเป็นขบวนการเครือข่ายนายหน้าข้ามชาติที่มีความซับซ้อนและเป็นระบบ โดยการเอื้อผลประโยชน์ต่อกัน และร่วมกันเเสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย 
  • ผลจากการศึกษา ชี้ว่าการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่อง มีบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ได้เเก่  นายหน้า เจ้าหน้าที่ NGO รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนแรงงานเมียนมาที่อาจไม่ได้อยู่ในบทบาทถูกควบคุมและชักจูงเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น หากแต่สามารถเป็นผู้กระทำ หรือกระตุ้นให้เกิดกระบวนการทุจริตคอร์รัปชันได้ เช่น แรงงานเมียนมา หรือนายจ้างที่เป็นผู้เสนอให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ NGO ที่เป็นผู้เจรจาขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเว้นการจับกุมแรงงานเมียนมาที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย
  • ผลจากการศึกษา สามารถระบุเส้นทางและความเสี่ยงในการเกิดทุจริตคอร์รัปชัน โดยแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ ได้เเก่ (1) พื้นที่ต้นทางในประเทศเมียนมาที่เป็นภูมิลําเนาของแรงงานเมียนมา (2) พื้นที่กลางทางที่เป็นจุดผ่านแดนระหว่างประเทศเมียนมาและประเทศไทย และ (3) พื้นที่ปลายทางในจังหวัดที่เป็นจุดหมายในการเดินทางเข้ามาทํางาน  ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความเสี่ยงในการทุจริตคอร์รัปชันที่เเตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ยังพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศทางผ่านสําหรับแรงงานเมียนมาที่ต้องการเดินทางไปทํางานในประเทศที่สามอีกด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาวะข้ามชาติที่เกี่ยวข้องกับพรมแดนประเทศมากกว่า 1 ประเทศ (Cross – border) ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผลจากการศึกษารูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่อง พบว่ามี 3 รูปแบบหลัก ได้เเก่  (1) การเรียกหรือรับสินบนที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการเดินทางข้ามแดน หรือเข้าสู่พื้นที่ (2) การหลอกลวงและการฉ้อโกงโดยเครือข่ายนายหน้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นายหน้าเรียกค่าบริการในการขอใบอนุญาตทํางาน การต่อใบอนุญาตทํางาน หรือการเปลี่ยนนายจ้างในราคาที่สูง และ (3) การประพฤติมิชอบของนายจ้าง เช่น นายจ้างเจ้าของสถานประกอบกิจการยึดเอกสารของแรงงานเมียนมาไว้ที่ตน เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะทํางานในสถานประกอบกิจการของตน นอกจากนี้ สิ่งที่แรงงานที่เป็นเพศหญิงบางคนค้องเผชิญ คือการถูกบังคับให้แต่งงาน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการค้ามนุษย์ในประเทศไทย
  • ผลจากการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา ระบุว่าควรมีการบูรณาการมาตรการทางสังคมที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น และบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างจริงจัง รวมถึงมีการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสื่อ Social Media มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อบริหารจัดการแรงงานเมียนมา และสร้างความร่วมมือระหว่างกันในการป้องกันปัญหา
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ศิริมา ทองสว่าง, สุรศักดิ์ มีบัว และไพรัช บวรสมพงษ์. (2562). การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันของขบวนการเครือข่ายนายหน้าข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • ศิริมา ทองสว่าง
  • สุรศักดิ์ มีบัว
  • ไพรัช บวรสมพงษ์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริต : ศึกษากรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด

วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงต่อการทุจริตของกระบวนการควบคุมน้ำหนักของหน่วยงานรัฐ เเละเสนอมาตรการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)