มาตรการในทางกฎหมายเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายในประเทศไทย: แนวทางร่วมมือและช่วยเหลือกันขององค์กรอิสระในการควบคุมและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

ศึกษาแนวทางของกฎหมายในการกำหนดมาตรการ และวิธีการร่วมมือขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบาย เพื่อเป็นตัวแบบปรับใช้กับไทยต่อไป

งานวิจัยนี้ มีเป้าหมายเพื่อศึกษาแนวทางของกฎหมายในการกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะนำมาเป็นตัวแบบเพื่อปรับใช้กับประเทศไทยต่อไป

โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ บทบาทหน้าที่อำนาจ และความเชื่อมโยงในการทำงานของแต่ละองค์กร (2) เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบาย อันจะนำมาเป็นตัวแบบเพื่อปรับใช้กับประเทศไทย และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางของกฎหมายในการกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา ชี้ว่าการทุจริตเชิงนโยบายมักเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่องบประมาณ หรือสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ โดยจากการศึกษากลไกเกี่ยวกับการพิจารณาจัดทำและอนุมัติงบประมาณในปัจจุบัน พบว่ามีเพียงกลไกเชิงป้องกันตามมาตรา 144 เท่านั้ัน ที่เกี่ยวกับข้อห้ามในการแปรญัตติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการของสภา นอกนั้น จะเป็นการกำหนดกรอบกว้าง ๆ สำหรับการจัดทำ และพิจารณาอนุมัติงบประมาณ แต่ยังไม่พบกลไกในการตรวจสอบที่ชัดเจน
  • ผลจากการศึกษา ชี้ว่าการหาเสียงในการเลือกตั้งทั่วไป พรรคการเมืองมีหน้าที่ต้องนำเสนอนโยบาย และแหล่งเงินของนโยบายต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งกลไกนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้พรรคการเมืองมีความรับผิดชอบทางการเงินการคลังมากยิ่งขึ้น เเต่ในทางปฏิบัติ พบว่าหลายพรรคการเมืองยังคงเสนอแหล่งเงินไม่ชัดเจน เเละไม่ได้นำเสนอไว้ รวมถึงไม่พบกลไกรองรับเรื่องดังกล่าวในการพิจารณาจัดทำ และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  • ผลจากการศึกษา นำเสนอตัวอย่างของประเทศออสเตรเลีย แคนาดา และเนเธอร์แลนด์ พบว่าแต่ละประเทศมีหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน มีกฎหมายรองรับภารกิจ เพื่อให้ดำเนินงานอย่างเป็นอิสระ รวมถึงมีข้อมูล ทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ และมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานด้วย ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับในวงกว้างในการทำหน้าที่ที่มีความอ่อนไหวในทางการเมือง
  • ผลจากการศึกษา ชี้ว่าในขณะที่สถานการณ์ของประเทศไทย มีความแตกต่างจากกรณีศึกษา เนื่องจากองค์กรที่มีประสบการณ์ มีความสามารถในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ล้วนแต่อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายบริหาร ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นว่าในเบื้องต้น ประเทศไทยต้องใช้แนวคิดความร่วมมือป้องการทุจริตในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาเป็นรากฐานสำหรับการสร้างกลไกการวิเคราะห์ประเมินนโยบายพรรคการเมืองไปก่อนระยะหนึ่ง เมื่อกลไกเหล่านี้เริ่มพิสูจน์ให้เห็นประโยชน์ ค่อยพัฒนาไปสู่การจัดสร้างกลไกตามปกติในระยะต่อไป
  • ผลจากการศึกษา สรุปได้ว่าแม้ว่ากลไกที่มีอยู่ในระบบปัจจุบัน จะทำหน้าที่ในเชิงการร่วมมือในงานด้านการตรวจสอบ ปราบปราม และเเก้ไข แต่กลไกที่ปรากฏขึ้นเป็นบทบัญญัติ ไม่ว่าในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินการให้เกิดความร่วมมือเป็นจริงเป็นจังได้ เพราะต้องอาศัยบทบาทขององค์กรอิสระในการกำหนดรายละเอียดของกลไกความร่วมมือผ่านกฎหมายแม่บท หรือกฎหมายลำดับรอง รวมถึงบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดกลไกที่บังคับใช้ได้จริง
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

อุดม รัฐอมฤต, กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์, วีรวัฒน์ จันทโชติ, และ วีรศักดิ์ แสงสารพันธ์. (2560). มาตรการในทางกฎหมายเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายในประเทศไทย: แนวทางร่วมมือและช่วยเหลือกันขององค์กรอิสระในการควบคุมและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • อุดม รัฐอมฤต
  • กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์
  • วีรวัฒน์ จันทโชติ
  • วีระศักดิ์ แสงสารพันธ์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption