การต่อต้านการคอร์รัปชันของประชาชนในสังคมด้วยการ “ไม่ทำ” และ “ไม่ทน” ต่อการคอร์รัปชัน ถือเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปจะสามารถทำได้เพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยในกระบวนการของการ “ไม่ทำ” และ “ไม่ทน” จะต้องเกิดขึ้นและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนไปพร้อมกัน จึงจะทำให้ในสังคมนั้นสามารถแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ในการต่อต้านคอร์รัปชันของประชาชนในสังคม สิ่งที่ประชาชนทั่วไปจะสามารถทำได้เพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน คือ “ไม่ทำ” และ “ไม่ทน” ซึ่งหมายความว่าจะต้องไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชันเสียเอง และหากพบหรือเห็นถึงความสุ่มเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันแล้ว ก็จะต้องร้องเรียนไปที่หน่วยงานตรวจสอบให้ทำการป้องกันและแก้ไข โดยอาศัยเครื่องมือและกระบวนการที่สามารถช่วยสนับสนุนให้เกิดทั้งความไม่ทำและความไม่ทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิผล
สำหรับในส่วนของการ “ไม่ทำ” นั้น มีความเกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานของสังคมและบรรทัดฐานส่วนบุคคล ซึ่งสามารถเสริมสร้างได้ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรมผ่านหลักสูตรต่าง ๆ ตั้งแต่ในโรงเรียนจนถึงหลักสูตรสำหรับผู้ใหญ่ และเมื่อไม่ทำแล้ว ก็ควรจะนำไปสู่ความ “ไม่ทน” ที่พร้อมจะเข้าร่วมการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยไม่ทนให้ใครมาฉกฉวยผลประโยชน์ของส่วนรวมไปเป็นของส่วนตน ด้วยการเข้าร่วมการต่อต้านคอร์รัปชันตามแนวทางต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมถึงสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความโปร่งใสและกลไกความรับผิดชอบ
ทั้งนี้ จากงานวิจัยเรื่อง Corruption, Norms, and Legal Enforcement: Evidence from Diplomatic Parking Tickets โดย Fisman & Miguel (2007) ที่ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการจอดรถอย่างผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่จากองค์การสหประชาชาติที่ทำงานอยู่ในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าสังคมที่จะมีระดับการคอร์รัปชันที่ต่ำได้ จำเป็นที่จะต้องสร้างเสริมคนที่ “ไม่ทน” ต่อการคอร์รัปชันผ่านการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม ไปพร้อม ๆ กับการสนับสนุนระบบที่ดีที่ทำให้คนที่ “ไม่ทน” สามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล แต่อย่างไรก็ตาม คนที่ “ไม่ทน” ก็อาจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่แย่ลงได้ หากขาดระบบที่ดีมาควบคุมดูแล ซึ่งระบบที่ดีนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ในสังคม หากคนในสังคมเลือกที่จะละเมิด เพิกเฉย หรือจ้องที่จะหาผลประโยชน์จากการคอร์รัปชัน
ด้วยเหตุนี้ การ “ไม่ทำ” และ “ไม่ทน” จึงต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนไปพร้อมกัน จึงจะทำให้ในสังคมนั้นสามารถต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
- Anti-Corruption 101
แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้การร่วมมือต่อต้านคอร์รัปชันในไทยไม่ได้ผล
ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การสร้างความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นทั้งในด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้าง ด้านแรงจูงใจ ด้านกลไกระหว่างองค์กร และด้านบุคคล …
แล้วที่ผ่านมาเราต่อต้านคอร์รัปชันกันยังไง
“คอร์รัปชัน” และ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” ได้ถูกศึกษาและอธิบายถึงลักษณะและความหมายในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านประเด็นและมุมมองที่มีต่อปัญหาผ่านแนวคิดที่หลากหลาย …
ออกแบบเครื่องมือต่อต้านคอร์รัปชันให้เท่าทันการโกง
ในการพัฒนาและออกแบบเครื่องมือต่อต้านการคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส และหลักความรับผิดชอบ …