โครงการการปรับปรุงแก้ไขและเฝ้าระวังกฎหมาย (Legislative Watch)

เพื่อยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่ และปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติที่มีปัญหาในการบังคับใช้ และนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อช่วยให้การกลั่นกรองกฎหมายของรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีความรัดกุมยิ่งขึ้น

จุดมุ่งหมายของโครงการนี้ เพื่อยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่ และ/หรือปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่มีปัญหาในการบังคับใช้ เพื่อนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนการออกกฎหมายที่อาจเป็นประโยชน์ในวงแคบ แต่ทำให้สาธารณะเสียประโยชน์ เพื่อช่วยให้การกลั่นกรองกฎหมายของรัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีความรัดกุมยิ่งขึ้น

ผลการดำเนินงานของโครงการ พบว่าคณะผู้วิจัยมีส่วนสำคัญในการยกร่างและผลักดันกฎหมายในขั้นตอนต่าง ๆ จนผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ จนถึงขั้นสุดท้าย และประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ 1 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หลังจากที่ร่างกฎหมายนี้มีความล่าช้ามาเกือบ 10 ปี และยังมีส่วนสำคัญในการยกร่าง และผลักดันจนได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยอยู่ระหว่างการนำเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติในอนาคตีอก 2 ฉบับ ได้เเก่ ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และ ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุของประเทศไทยต่อไป

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. (2551). โครงการการปรับปรุงแก้ไขและเฝ้าระวังกฎหมาย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2551
ผู้แต่ง
  • สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
  • สฤณี อาชวานันทกุล
  • สมชัย จิตสุชน
  • เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption