KRAC Insight | บรรษัทภิบาล ศัพท์ไม่ใหม่ที่ควรปรับใช้กับภาคเอกชน !

รู้หรือไม่ “บรรษัทภิบาล” สามารถช่วยภาคเอกชนในการพัฒนาองค์กรได้ ! แต่ช่วยอย่างไร…วันนี้เรามีคำตอบมาให้จากงาน “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”

งานนี้จัดขึ้นโดยศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือด้านยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) องค์กร Chandler Institute of Good Governance และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
 

การประชุมระดมสมองครั้งนี้ เป็นพื้นที่สำหรับเครือข่าย SEA-ACN ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมอง ประสบการณ์ และวางแผนการดำเนินงานต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันเพื่อทำงานร่วมกันในการสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในภูมิภาค ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านการทุจริตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากการประชุมระดมสมอง (Roundtable Discussion) ในหัวข้อ “ความโปร่งใสของภาคธุรกิจ (Business Integrity)” ที่เน้นการหารือแนวทางการสร้างแรงจูงใจให้องค์กรภาคเอกชนนำแนวปฏิบัติบรรษัทภิบาลไปบังคับใช้ในองค์กรของตนเอง มีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ถึง 8 หน่วยงาน ได้แก่
 
2.Premier Group of Companies
3.International Collective Action Network (I-CAN Fight Corruption)
4.Office of the National Anti-Corruption Commission (NACC)
5.Tempo Magazine
7.Transparency International Malaysia
จากการหารือกลุ่มผู้เข้าร่วมได้นำเสนอเรื่อง “หลักการต่อต้านการทุจริตและสร้างเสริมบรรษัทภิบาลในภาคเอกชน” เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจ และแข่งขันกันได้อย่างยุติธรรม ซึ่งการมีบรรษัทภิบาลในองค์กรจะช่วยให้นักลงทุนมีความไว้วางใจและร่วมลงทุนในธุรกิจมากยิ่งขึ้น
 
ทั้งนี้ การสนับสนุนให้เกิดการต่อต้านการทุจริต และการนำบรรษัทภิบาลไปใช้ในภาคเอกชนต้องมีการสร้างความร่วมมือให้เกิดเป็นเครือข่ายระหว่างภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความกดดันแก่รัฐบาลในภูมิภาคในการออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เช่น การออกกฎหมายต่อต้านการให้สินบน และการสนับสนุนแนวทางการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
 
นอกจากนี้ควรมีการสร้างแพลตฟอร์มกลางด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันสำหรับภาคเอกชน เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน โดยเสนอให้แพลตฟอร์มมีช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชัน การให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่นักลงทุน การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและส่งเสริมการทำธุรกิจในภูมิภาค รวมทั้งยกระดับความรับผิดชอบของภาคเอกชนผ่านการพัฒนาและส่งเสริมการใช้แบบประเมินมาตรฐานต่าง ๆ เช่น การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต (Corruption Risk Classification) การประเมินดัชนีชี้วัดความยั่งยืนระดับสากล (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) มาตรฐานการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (Environmental, Social and Governance: ESG) เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการสร้างแนวร่วมจากภาคเอกชนจำเป็นต้องมีมาตรการจูงใจ เช่น มาตรการด้านการเงินหรือภาษีให้กับบริษัทที่มีบรรษัทภิบาล และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายว่า จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ภาคเอกชนมีอำนาจในการเจรจากับภาครัฐได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการดึงให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการในกระบวนการทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การหารือในหัวข้อนี้ทำให้เห็นว่า “ภาคเอกชน” สามารถมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชันได้ ! และถือเป็นโอกาสในการพัฒนาการต่อต้านคอร์รัปชัน ด้วยการมีส่วนร่วมที่จะนำไปสู่การสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลให้ออกกฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายในระดับสากลเพื่อให้การต่อต้านคอร์รัปชันในภูมิภาคมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
 
นี่เป็นหัวข้อสุดท้ายจากการประชุมระดมสมองในครั้งนี้ แต่ KRAC จะยังนำความรู้เกี่ยวกับ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” มาเล่าให้คุณฟังต่อไป 
สรุปการประชุม Roundtable Discussion ของเครือข่าย "SEA-ACN"
Did You Know “Corporate Governance” Can Help Develop the Private Sector? Here’s How from the “Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”
 
This event was organized by Knowledge Hub for Regional Anti-corruption and Good Governance Collaboration” (KRAC), Faculty of Economics, Chulalongkorn University supported by the National Research Council of Thailand (NRCT) in collaboration with the United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC), The Chandler Institute of Good Governance, and the U.S. Embassy in Thailand.
 
At the roundtable, experts and representatives from eight organizations discussed the topic of “Business Integrity,” focusing on encouraging private sector companies to adopt corporate governance practices:
 
1.Anti-Corruption Organization of Thailand (ACT)
2.Premier Group of Companies
3.International Collective Action Network (I-CAN Fight Corruption)
4.Office of the National Anti-Corruption Commission (NACC)
5.Tempo Magazine
7.Transparency International Malaysia
 
From the discussion, the participants presented the topic “Principles of Anti-Corruption and Promotion of Good Governance in the Private Sector” to encourage the private sector to conduct business. and compete fairly Having good corporate governance in the organization will help investors have more trust and invest in the business.
 
This is to support the fight against corruption. And implementing corporate governance in the private sector requires creating a network of cooperation between the private sector and civil society. to put pressure on regional governments to pass laws and enforcing relevant laws more stringently, such as enacting anti-bribery laws. and support for anti-corruption guidelines that can be put into practice.
 
In addition, a central anti-corruption platform should be created for the private sector. To strengthen participation of private sector organizations by offering the platform a channel for reporting corruption. Providing legal knowledge to investors Developing skills, knowledge and abilities and promoting doing business in the region Including enhancing the responsibility of the private sector through developing and promoting the use of various standard assessments such as Corruption Risk Classification and Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) assessments. Sustainable Organization Development Standards (Environmental, Social and Governance: ESG) etc.
 
However, creating a coalition from the private sector requires incentives such as financial or tax measures for companies with good corporate governance. and pointed out the importance of coming together to form a network that It will be a tool that gives the private sector more power to negotiate with the government sector. It will also attract the private sector to participate in the entire process efficiently.
 
The discussion highlighted that the private sector can play a crucial role in anti-corruption efforts and development. Their participation can lead to stronger anti-corruption laws and effective law enforcement at an international level, enhancing the overall efficiency and impact of anti-corruption initiatives in the region.
 
This was the final topic from the roundtable discussion, but KRAC will continue to share knowledge on anti-corruption efforts!
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
27 กรกฎาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เกาหลีใต้เอาชนะการทุจริตจากผู้มีอิทธิพลภาคธุรกิจได้อย่างไร ?

การทำธุรกิจนั้นมีการแข่งขันสูง หลายธุรกิจมีแรงกดดันที่ต้องเอาชนะคู่แข่งในตลาด ต้องพยายามลดต้นทุนให้น้อยลงและสร้างรายได้ให้มากขึ้น จนหลายบริษัทเลือกที่จะใช้ “ทางลัด” หรือคอร์รัปชัน เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางต้นทุน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ภาคธุรกิจอาจเสียเงินเปล่าจากการจ่ายสินบน

ในการทำธุรกิจ หลายครั้งผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการต้องยอมจ่ายเงิน “สินบน” ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยให้การทำเรื่องเร็วขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะต้องรอทำเรื่องเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งหลายคนก็ยอมจ่ายเล็กน้อยเพื่อให้กิจการคล่องขึ้น

You might also like...

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

การประเมินจริยธรรมของนักการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริยธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น